มะค่าโมง สรรพคุณ และวิธีปลูกมะค่าโมง

Last Updated on 4 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

มะค่าโมง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง และเป็นไม้เนื้อแข็งที่นิยมตัดฟันมาก่อสร้างบ้านเรือน และแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง อาทิ โต๊ะทำงาน โต๊ะรับประทานอาหาร โต๊ะรับแขก และเก้าอี้ เป็นต้น เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน และมีสีเหลืองอมแดงสวยงาม

มะค่าโมง จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนหากต้องการตัดฟัน และแปรรูปเพื่อการค้า

• วงศ์ : Leguminosae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib. T
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– มะค่าโมง
– มะค่าใหญ่
– มะค่าหลวง
– ฟันฤๅษี
ภาคเหนือ
– มะค่าหลวง
– มะค่าหัวคำ
ภาคอีสาน
– มะค่า
– เขง, เบง (สุรินทร์)
– ปิ้น (นครราชสีมา)
ภาคตะวันออก
– มะค่าโมง
– บิง (จันทบุรี)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะค่าโมง มีถิ่นกําเนิดในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และอินเดีย รวมถึงประเทศไทยด้วย พบได้มากตั้งแต่ระดับความสูง 150-650 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล พบแพร่กระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบมากในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ มักขึ้นตามข้างลำห้วยหรือแม่น้ำที่ชุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะค่าโมง เป็นไม้ขนาดใหญ่ แต่ไม่สูงมากนัก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10 – 18 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง แตกกิ่งต่ำตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

ใบ
ใบมะค่าโมงเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับกันบนกิ่งแขนง มีก้านใบหลักยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร มีประกอบด้วยใบย่อยขึ้นตรงกันข้าม 3 – 5 คู่ ใบย่อยมีก้านใบสั้นประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร ใบย่อยแต่ละใบมีรูปไข่ ฐานใบ และปลายใบมน แผ่นใบเรียบ และมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบมีเส้นกลางใบชัดเจน ขนาดใบกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 – 10 เซนติเมตร

ดอก
ดอกมะค่าโมงออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5 – 15 เซนติเมตร มีขนคลุมบางๆ ดอกย่อยมีก้านดอกยาว 7 – 10 มิลลิเมตร ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 6 – 9 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม กลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบรองดอกมีรูปขอบขนาน เรียงซ้อนทับกัน ยาวประมาณ 10 – 12 ส่วนกลีบดอกมีเพียงกลีบเดียว มีรูปทรงกลม ยาว 5 – 12 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกมีสีแดงเรื่อๆ ถัดมาด้านในเป็นเกสรตัวผู้ที่มี 11 อัน ที่มี 8 อัน เป็นเกสรสมบูรณ์ และ 3 อัน เป็นหมัน ก้านเกสรแยกออกจากกัน ถัดมาตรงกลางเป็นเกสรตัวเมีย มีขนปกคลุมยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ด้านล่างเป็นรังไข่ โดยดอกจะออกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

ผล และเมล็ด
ผลมะค่าโมง เรียกว่า ฝัก มีลักษณะแบนขนาดใหญ่ ฝักกว้างประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล และจะปริแตกออกเป็น 2 ซีก ส่วนด้านในมีเมล็ด 2-5 เมล็ด

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และมีเยื่อหนาสีเหลืองประแดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปฟันคน ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร หุ้มบริเวณฐานเมล็ด จึงเรียก ฟันฤๅษี ทั้งนี้ ฝักจะแก่ประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

ประโยชน์มะค่าโมง
1. ไม้มะค่าโมงเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม เนื้อไม้สีน้ำตาลอมแดง นิยมใช้แปรรูปเป็นไม้แผ่นปูพื้น ไม้วงกบ เสาบ้าน และไม้ชายคาสำหรับก่อสร้างบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
2. เปลือกมะค่าโมงมีน้ำฝาด นิยมใช้สำหรับฟอกหนัง
3. ฝักอ่อนนำเนื้อเมล็ดมาต้มรับประทาน ทั้งรับประทานเป็นของคบเคี้ยว และรับประทานคู่กับอาหารอื่นๆ
4. เมล็ดแก่นำมาเผาไฟหรือคั่วรับประมาณ เนื้อเมล็ดให้รสมัน

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

สรรพคุณมะค่าโมง
เปลือกลำต้น (ต้มน้ำดื่ม)
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– รักษาริดสีดวง
– แก้ท้องเสีย
– รักษาโรคบิด

เปลือกลำต้น (ต้มน้ำอาบหรือใช้บดทา)
– รักษาโรคผิวหนัง
– ใช้ทารักษาแผล

เปลือกฝัก และเมล็ดมะค่าโมง (นำมาต้มน้ำดื่ม)
– สำหรับใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร
– เนื้อเมล็ดดิบหรือแก่นำมาหั่นเป็นฝอย แล้งต้มน้ำดื่ม สำหรับช่วยบรรเทาอาเจียน
– เมล็ดแก่นำมาผ่าให้เห็นเนื้อเมล็ด ก่อนใช้กดทับแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดพิษ

ที่มา : 1), 2), 3)

วิธีปลูกมะค่าโมง
การปลูกมะค่าโมงนิยมเพาะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยนำฝักแก่มะค่าโมงมาแกะเมล็ดออก จากนำตัดส่วนเยื่อที่หุ้มบริเวณฐานเมล็ดออก และตัดให้เห็นเนื้อเมล็ดด้านในเล็กน้อย ก่อนจะแช่น้ำไว้ 1 คืน หรือหากไม่ใช้การตัดเยื่อหุ้มออกก็ให้นำเมล็ดมาแช่ในน้ำร้อนประมาณ 1 นาที แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาเพาะในถุงเพาะชำ ทั้งนี้ วัสดุเพาะชำให้ใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอก และทรายเล็กน้อย อัตราส่วนดิน:ทราย:ปุ๋ยคอกที่ 1:2:1
นอกจากนั้น อาจใช้วิธีกลบเมล็ดลงแปลงเพาะ และหลังจากเมล็ดเริ่มงอกให้เห็นค่อยย้ายเมล็ดลงถุงเพาะชำ และดูแลจนกล้าแข็งแรง ที่อายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี ก่อนนำลงปลูก ทั้งนี้ เมล็ดจะงอกประมาณ 10-20 วัน หลังการเพาะ

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%87

การปลูก
การปลูกมะค่าโมง ควรปลูกด้วยต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 เดือน และควรปลูกในต้นฤดูฝนเพื่อให้ต้นสามารถเติบโต และตั้งตัวได้ มีระยะปลูกประมาณ 6-8 x 6-8 เมตร และหากเข้าหน้าแล้งควรให้น้ำเป็นระยะ และให้หาฟางข้าวหรือเศษใบไม้มาคลุมไว้รอบโคนต้น ทั้งนี้ การเติบโตของลำต้นที่ปลูกแล้ว 1 ปี จะสูงได้ประมาณ 2.5 เมตร และการขยายตัวของเส้นรอบวงน้อยกว่า 1 เซนติเมตร/ปี ทั้งนี้ มะค่าโมงจะมีอายุการตัดฟันที่เหมาะสำหรับการก่อสร้างบ้าน ประมาณอายุ 25-30 ปี

ขอบคุณภาพจาก phargarden.com,/ suthorn.com/, http://พะยูง.com/, biogang.net/, http://adeq.or.th/

เอกสารอ้างอิง
1) เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ์. 2549. พรรณไม้ห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี. สำนักหอพรรณไม้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
2) ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มะค่าโมง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559. เข้าถึงได้ที่ : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=260/.
3) โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ-
และภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. มะค่าโมง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559. เข้าถึงได้ที่ : http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=57&name=มะค่าโมง/