ผำ/ไข่ผำ การใช้ และสรรพคุณไข่ผำ

Last Updated on 4 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

ผำ หรือ ไข่ผำ (Swamp algae) จัดเป็นวัชพืชน้ำประเภทลอยน้ำชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร อาทิ แกงไข่ผำ ไข่เจียวไขผำ เป็นต้น รวมถึงใช้ประโยชน์เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ อาทิ เลี้ยงเป็ด และสุกร

• วงศ์ : Lamnaceae
• สกุล : Wolffia
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wolffia arrhiza (L.) Horkel ex Wimm.
• ชื่อสามัญ :
– Swamp algae
– Water Meal
• ชื่อท้องถิ่น :
– ผำ
– ไข่ผำ
– ไข่แหน
– ไข่น้ำ

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ผำหรือไข่ผำ จัดอยู่ในกลุ่มแหนเป็ด (แหนแดง แหนเป็ดเล็ก แหนเป็ดใหญ่) ที่เป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็กที่สุดที่มีดอก พบได้ในเขตประเทศอบอุ่นทั่วโลก ทั้งเอเชีย และแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยพบแพร่กระจายในทุกภาค ตามแหล่งน้ำนิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสระน้ำหรือบ่อน้ำขนาดเล็ก ซึ่งมักอยู่บนกับแหนเป็ดชนิดอื่นหรือลอยอาศัยที่ผิวน้ำเพียงชนิดเดียว

%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b32

ลักษณะทั่วไป
ผำ/ไข่ผำ เป็นพืชไม่มีราก มีลักษณะลำต้นเป็นก้อนกลม สีเขียวขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผำนี้ สามารถออกดอกเป็นช่อ แต่ดอกมีขนาดเล็กมาจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่คนละดอก โดยไข่ผำมีส่วนด้านบนที่ลอยน้ำค่อนข้างแบน แต่ส่วนด้านล่างที่จมน้ำค่อนข้างหนา

%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b31

%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b3

ประโยชน์ การใช้ผำ/ไข่ผำ
1. ไข่ผำในทุกภาคนิยมช้อนเก็บมาทำอาหาร เนื่องจาก อาทิ แกงไข่ผำ ไข่เจียวไข่ผำ ยำไข่ผำ เป็นต้น
2. ไข่ผำนำมาผัดให้สุก และตากแห้ง หรือนำมาตากให้แห้งก่อนนำมาผัดร่วมกับเกลือหรือเครื่องจิ้มที่ใช้สำหรับคลุกปะหน้าขนมขบเคี้ยว อาทิ แผ่นมันฝรั่งทอด ถั่วลิสงอบ เป็นต้น
3. ไข่ผำใช้เป็นส่วนประกอบของขนม อาทิ ขนมเกรียบกุ้ง เป็นต้น
4. ไข่ผำนำมาสกัดคลอโรฟิลล์สำหรับเป็นอาหารเสริม หรือหรือสกัดให้อยู่ในรูปของสารโซเดียมคอบเปอร์คลอโรฟิลลิน
3. ไข่ผำสดใช้เป็นอาหารเลี้ยงเป็ด และเลี้ยงสุกร รวมถึงโค และกระบือ ช่วยให้เกษตรลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารสัตว์ได้
4. ไข่ผำนำปล่อยในบ่อเลี้ยงปลาชนิดที่กินพืช อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาไน เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารเสริมตามธรรมชาติให้แก่ปลา ทั้งนี้ จะปล่อยในปริมาณน้อย และต้องควบคุมปริมาณไม่ให้แพร่กระจายปกคลุมผิวน้ำ
5. ใช้ปล่อยในบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับลดค่าความสกปรกของน้ำ โดยเฉพาะสารไนโตรเจนที่เป็นแร่ธาตุสำคัญของการเติบโต และโลหะหนักชนิดต่างๆ

ทั้งนี้ การนำไข่ผำมาประกอบอาหารควรหลีกเลี่ยงการสด และให้ปรุงสุกผ่านความร้อนก่อน เพราะอาจมีการปนเปื้อนของตัวอ่อนพยาธิได้

คุณค่าทางโภชนาการไข่ผำ (ส่วนที่กินได้ 100 กรัม)
– น้ำ : 97.1 กรัม
– พลังงาน : 9 กิโลแคลอรี
– โปรตีน : 0.6 กรัม
– ไขมัน : 0.1 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต : 1.5 กรัม
– ใยอาหาร : 0.3 กรัม
– เถ้า : 0.7 กรัม
– แคลเซียม : 59 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 25 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 6.6 มิลลิกรัม
– วิตามิน A : 535 มิลลิกรัม
– ไทอะมีน (วิตามิน B1) : 0.03 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน (วิตามิน B2) : 0.09 มิลลิกรัม
– ไนอะซีน (วิตามิน B3) : 0.4 มิลลิกรัม
– วิตามินซี : 11 มิลลิกรัม

ที่มา : 1)

%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b3

สรรพคุณผำ/ไข่ผำ
ผำ/ไข่ผำ ถือได้ว่าเป็นพืชที่มีแคลเซียม วิตามิน A และคลอโรฟิลล์สูง มีสรรพคุณในด้านต่างๆ อาทิ
– ช่วยเสริมสร้างกระดูก
– ป้องกันกระดูกพรุน
– ช่วยบำรุงระบบประสาท
– ช่วยบำรุงสายตา
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ
– ช่วยย่อยอาหาร
– ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
– ป้องกันโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

การเลี้ยงผำ/ไข่ผำ
ผำ/ไข่ผำ โดยทั่วไปเป็นพืชที่ไม่นิยมเลี้ยงกัน เพราะสามารถหาเก็บได้ตามแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ อีกทั้ง หากเลี้ยงจำเป็นต้องเลี้ยงในบ่อ ซึ่งทำให้เสียพื้นที่บ่อในการทำอาชีพอย่างอื่นที่มีรายได้ดีกว่า โดยเฉพาะการเลี้ยงปลา แต่หากปล่อยเลี้ยงในบ่อเลี้ยงปลา ก็ไม่นิยมเช่นกัน เพราะผำจะแพร่กระจายปกคลุมหน้าผิวน้ำจนทั่ว ทำให้น้ำมีออกซิเจนต่ำ และขัดขวางการหายใจของปลาในบ่อได้

แต่หากมีการเลี้ยงก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยพบการศึกษาทดลองเลี้ยงไข่ผำในเวลา 9 เดือน โดยไม่ใส่ปุ๋ย พบว่า สามารถให้ไข่ผำสดได้ถึง 42 ตัน/ไร่

ขอบคุณภาพจาก BlogGang.com, https://nongnongkanittha.wordpress.com/, www.surinpost.com, http://thanakrito.blogspot.com

เอกสารอ้างอิง
untitled