แก่นตะวัน ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกแก่นตะวัน

Last Updated on 10 มีนาคม 2020 by puechkaset

แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke) จัดเป็นพืชไร่ที่ให้ผลผลิตเป็นหัว นิยมปลูกกันทั่วโลก เนื่องจาก หัวมีสาระสำคัญที่ชื่อว่า อินนูลิน มีสรรพคุณทางยาหลายประการ จึงนิยมสกัดสารชนิดนี้ไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด รวมถึงหัวสดยังใช้รับประทานสด ซึ่งให้รสหวานมันจนเป็นที่นิยมทั่วไป

แก่นตะวัน ถูกค้นพบโดย Champlain และ Massachusetts ในปี ค.ศ. 1605 และในปีเดียวกัน Champlain เป็นผู้ที่นำแก่นตะวันจากทวีปอเมริกาเหนือมาปลูกที่ประเทศฝรั่งเศส แลถูกเรียกชื่อในประเทศฝรั่งเศสว่า โทปินัมเบอร์ (Topinumbour) และต่อมาในศตวรรษที่ 17 แก่นตะวัน ก็รู้จักกันทั่วในยุโรป แก่นตะวันในภาษาอิตาเลี่ยน เรียกว่า กิราโซล (girosole) หมายถึง ดอกไม้ที่หันดอกไปทางดวงอาทิตย์

%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99

• วงศ์ : Compositae
• สกุล : Helianthus
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus tuberosus L.
• ชื่อสามัญ :
– Jerusalem artichoke (เจรูซาเล็ม อาร์ติโช้ก)
– Sunchoke
– Sunroot
– Earth apple
– Topinambour
• ชื่อท้องถิ่น :
– แก่นตะวัน
– แห้วบัวตอง
– มันทานตะวัน

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย

แก่นตะวัน เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นพืชท้องถิ่นของแคนาดา ปัจจุบันพบปลูกทั่วไปในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน แอฟริกากลาง และออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทย

แก่นตะวันในประเทศไทย
แก่นตะวันถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดย รศ.ดร. สุรพงษ์ โกสิยะจินดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และขณะนั้นได้ให้ชื่อพืชชนิดนี้ว่า “แห้วบัวตอง” แต่บางคนก็เรียกว่า “ทานตะวันหัว” ซึ่งช่วงนั้น ยังไม่ได้รับความนิยม อาจเป็นเพราะการปลูกที่ไม่ค่อยได้ผลนัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 รศ.ดร. เยาวมาลย์ ค้าเจริญ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำแก่นตะวันมาจากประเทศแคนาดา เข้ามาปลูกที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อใช้ทดลองเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งพบว่า พันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกสามารถเติบโต และให้ผลผลิตต่อไร่สูง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 รศ.ดร. สนั่น จอกลอย แห่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งขณะนั้นได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับแก่นตะวันจาก รศ.ดร. เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ได้ขออนุญาตกรมวิชาการเกษตรนำเข้าแก่นตะวัน จำนวน 70 สายพันธุ์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเยอรมนี เข้ามาทดลองปลูก ซึ่งได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “แก่นตะวันหัว” ซึ่งนิยมเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์ให้เติบโต ต้านทานโรค และให้ผลิตสูงหลายสายพันธุ์ และหลังจากนั้น แก่นตะวันจึงได้รับความนิยมเรื่อยมา

ที่มา : (4)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
แก่นตะวัน มีลำต้นเหนือดินลักษณะกลม เปลือกลำต้นมีสีม่วงเข้ม มีขนยาวแข็ง ขนาดลำต้นประมาณ 1-3 เซนติเมตร สูงประมาณ 150-160 เซนติเมตร ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว เป็นลำต้นสะสมอาหาร หัวมีลักษณะแบ่งเป็นแง่งยาว และเป็นตะปุ่มตะป่ำเป็นแนวยาว 4 แกน ตามความยาวของหัว เปลือกบาง มีสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีขนหรือรากออกจากหัว ขนาดหัวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 6-20 เซนติเมตร ส่วนรากเป็นรากแขนงที่แตกออกบริเวณโคนต้น

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%991

ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามสลับฉากกัน แต่ละใบมีก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร ใบมีรูปหอก กว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ฐานใบรูปสอบแคบ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเรียบ เนื้อใบบาง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบทั้งด้านบน และด้านล่างมีขนสั้นแข็งปกคลุม แผ่นใบมีเส้นแขนงใบ 6-9 เส้น ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการเติบโต จากนั้น ค่อยเรียงแบบเวียนสลับ

ดอก
แก่นตะวัน ออกดอกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกหลัก ยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร จากนั้นแตกก้านดอกย่อยออก แต่ละดอกมีขนาด 6-8 เซนติเมตร ฐานดอกมีรูปกรวย ไม่มีขน ขนาดประมาณ 0.7-1.0 เซนติเมตร ถัดมาเป็นใบประดับ ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดในดอกตูม ประกอบด้วยจำนวน 5 ชั้น ใบประดับแต่ละอันมีรูปหอก มีขนครุยปกคลุมแน่น ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 กว้างเท่ากับชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ยาวประมาณ 0.8-1.0 เซนติเมตร และชั้นที่ 5 กว้างน้อยที่สุด ประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ถัดมาเป็นกลีบดอก แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ กลีบดอกวงนอก ประมาณ 6-7 กลีบ และกลีบดอกวงใน ประมาณ 6 กลีบ แต่ละกลีบดอกมีลักษณะยาวรี สีเหลืองสด ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร แผ่นกลีบแบ่งเป็น 3 ริ้ว ปลายกลีบดอกแยกเป็น 3 แฉก แผ่นกลีบดอก และขอบกลีบดอกเรียบ ถัดมาตรงกลางเป็นเกสรตัวผู้ มีก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และอับละอองเรณูยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ถัดมาเป็นเกสรเพศเมีย มีก้านเกสรยาว 5-6 มิลลิเมตร และยอดเกสร ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนด้านล่างสุดบริเวณฐานดอกเป็นรังไข่ มีรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ผิวนอกมีขนสั้น ทั้งนี้ ดอกแก่นตะวัน เป็นดอกที่ผสมตัวเองไม่ได้ จำต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร ทั้งนี้ แก่นตะวันจะเริ่มออกดอกหลังการปลูกประมาณ 60 วัน

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99

ผล และเมล็ด
ผลแก่นตะวันมักเรียกเป็นเมล็ด มีลักษณะมีรูปลิ่มคล้ายเมล็ดดาวเรือง ปลายเรียวยาว เปลือกผลมีสัน 4 สัน สีน้ำตาลอ่อน มีลายสีน้ำตาล และมีขนสั้นแน่นปกคลุม ขนาดผลกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ด้านในเป็นเนื้อเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์แก่นตะวัน

1. หัวสดของแก่นตะวัน นำมาล้างทำความสะอาด ก่อนปอกเปลือกรับประทานสด เนื้อหัวกรอบ และมีรสหวานมัน ยิ่งแช่น้ำแข็งสักพักก่อนยิ่งมีความกรอบ และความอร่อยมากขึ้น
2. แก่นตะวันเป็นพืชที่มีการสะสมน้ำตาลในหัว และลำต้น ซึ่งเป็นน้ำตาลฟรุคโตส (fructose) ที่ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว มีชื่อเรียกว่า สารอินนูลิน สารนี้จัดเป็นเส้นใยอาหาร (dietary fiber) ที่ให้แคลอรี่ต่ำ จึงนิยมนำอินนูลินเป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ลูกกวาด โยเกิร์ต ขนมปัง ช็อกโกแลต และไอศกรีม เป็นต้น
3. แก่นตะวันเป็นพืชที่มีน้ำตาลสูง จึงนำหัวหรือแป้งจากหัวมาผลิตแอลกอฮอล์ โดยแก่นตะวันสด 1 ตัน สามารถผลิตแอลกอฮอล์ได้ประมาณ 100-120 ลิตร
4. หัวแก่นตะวันนอกจากใช้รับประทานแล้ว ยังสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย อาทิ สุกร เป็ด โค กระบือ เป็นต้น
5. แปลงปลูกแก่นตะวัน หากปลูกในแปลงใหญ่จะสามารถส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เนื่องจาก แก่นตะวันจะออกดอกเป็นช่อจำนวนหลายช่อ และในช่วงที่ดอกบานจะบานสะพรั่งพร้อมกัน ดอกมีสีเหลือง ทำให้แลดูคล้ายทุ่งดอกทานตะวันสวยงาม

%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99

คุณค่าทางโภชนาการของหัวแก่นตะวัน  (หัวดิบ 100 กรัม)

Proximates
น้ำ กรัม 78.01
พลังงาน กิโลแคลอรี 73
โปรตีน กรัม 2
ไขมัน กรัม 0.01
คาร์โบไฮเดรต กรัม 17.44
เส้นใย กรัม 1.6
Minerals
แคลเซียม มิลลิกรัม 14
เหล็ก มิลลิกรัม 3.40
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 17
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 78
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 429
โซเดียม มิลลิกรัม 4
สังกะสี มิลลิกรัม 0.12
Vitamins
วิตามิน C, (กรมแอสคอบิค) มิลลิกรัม 4.0
ไทอะมีน มิลลิกรัม 0.20
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.06
ไนอะซีน มิลลิกรัม 1.30
วิตามิน  B-6 มิลลิกรัม 0.077
โฟเลต, DFE ไมโครกรัม 13
วิตามิน B-12 ไมโครกรัม 0.00
วิตามิน A, RAE ไมโครกรัม 1
วิตามิน A, IU IU 20
วิตามิน E มิลลิกรัม 0.19
วิตามิน D IU 0
วิตามิน K ไมโครกรัม 0.1
Lipids
กรดไขมัน กรัม 0
คอลเลสเตอรอล มิลลิกรัม 0

ที่มา : USDA Nutrient Database

สรรพคุณแก่นตะวัน

หัวแก่นตะวัน
– กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
– ช่วยเสริมสร้างกระดูก ช่วยดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส
– ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย
– ส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้
– กระตุ้นการสังเคราะห์วิตามิน B
– ป้องกันมะเร็งในลำไส้
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง
– ช่วยลดน้ำหนัก ทำให้หุ่นกระชับ

เพิ่มเติมจาก (1), (2), (3), (4)

คุณสมบัติทางยาของอินนูลิน
อินนูลินมีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก มีผลต่อการดูดซึมอิออนของแคลเซียม และฟอสเฟต อีกทั้งช่วยในการสังเคราะห์วิตามินบีคอมเพล็กซ์ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ที่มา : (1) อ้างถึงใน Moscatto และคณะ (2005)

อินนูลิน จัดเป็นอาหารประเภทแป้งที่จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ดังนั้น เมื่อกินอินนูลินเข้าไปแล้วจะไม่ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานทันที จึงทำให้รู้สึกอิ่มนาน ส่งผลต่อการทานอาหารที่น้อยลง ร่างกายไม่มีไขมันสะสมมาก ช่วยลดความอ้วนของร่างกายได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก อินนูลินเป็นอาหารจำพวก low glycaemic food ที่ถูกย่อย และเผาพลาญเป็นพลังงานอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสม่ำเสมอ ช่วยให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาทีละน้อย และมีความสม่ำเสมอ จึงช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนั้น อินนูลินยังมีคุณสมบัติป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ รวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา : (2) อ้างถึงใน Farnworth (1993)

การปลูกแก่นตะวัน

แก่นตะวันเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุ 5-6 เดือน และมีการปลูกหรือเก็บเกี่ยวประมาณ 3-5 เดือน สำหรับการปลูกในพื้นที่ไร่ ไม่มีระบบชลประทาน นิยมฤดูฝน ซึ่งจะปลูกเหมือนกับพืชไร่ทั่วไป ส่วนการปลูกในฤดูแล้งจะต้องปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำชลประทาน โดยแปลงดินที่ปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย หน้าดินลึก ดินมีความร่วน มีอินทรียวัตถุ และระบายน้ำดี

การเตรียมหัวพันธุ์
แก่นตะวัน นิยมปลูกด้วยหัว โดยตัดแบ่งหัวออกเป็นท่อน ขนาดยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร จากนั้น นำไปแช่น้ำปูนแดงหรือคลุกกับปูนแดงเพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้น นำหัวเข้าบ่มในกล่องพลาสติกที่ใส่แกลบดำ หนาประมาณ 5 เซนติเมตร หรือก่ออิฐเป็นแปลงเพาะแล้วใส่แกลบดำ หนาในระดับเดียวกัน แล้วเกลี่ยแกลบดำกลบหัวพันธุ์ให้ทั่ว หรือ เพาะหัวในถาดหลุมก็ได้ จากนั้น พรมน้ำให้ชื้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนบนหัวพันธ์ หลังจากนั้น ภายใน 5-7 วัน ตาหัวก็จะเริ่มแตกหน่อ จากนั้น ดูแล และให้น้ำ จนต้นกล้ามีอายุ 10-15 วัน จึงนำลงปลูกในแปลง

%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%a1

%e0%b9%81%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%b2

ระยะปลูก
การปลูกบนพื้นที่ไร่ที่มีไม่ชลประทาน และปลูกในฤดูฝน หรือพื้นที่ที่มีระบบชลประทาน แต่ปลูกในฤดูฝน ให้ปลูกในระหว่างหลุมประมาณ 30-50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนการปลูกในพื้นที่ชลประทานในฤดูแล้ง ให้ปลูกในระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-40 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 40 เซนติเมตร เนื่องจากการเจริญเติบโตจะช้า และขนาดต้นจะเล็กกว่าการปลูกในฤดูฝน

การเตรียมแปลงปลูก
พื้นที่ปลูกแก่นตะวัน สามารถปลูกได้ทั้งพื้นที่ไร่ พื้นที่ดอน และพื้นที่ลุ่ม แต่พื้นที่ลุ่มมักมีระบบคันหรือทำร่องรอบแปลงให้ระบายน้ำได้ดี

การเตรียมแปลงปลูกเริ่มจากการไถกลบหน้าดิน และตากดินทิ้งไว้นาน 7-14 วัน จากนั้น หว่านปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 ตันไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10-20 กิโลกรัม/ไร่ แล้วทำการไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืช และตากดินไว้อีกประมาณ 3-5 วัน ก่อนจะไถเปิดร่อง ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือใช้วิธีดึงลากด้วยคราดทำร่อง ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 40-50 เซนติเมตร ก่อนนำหัวพันธุ์ลงวางในแนวร่อง ทั้งนี้ หากต้องการปลูก 2-3 ครั้ง/ปี ควรใช้เวลาพักแปลง และเตรียมแปลงไม่เกิน 30-60 วัน/ครั้ง

วิธีปลูก
1. การปลูกแบบหยอดหัวพันธุ์
นำหัวพันธุ์มาตัดแบ่งเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วนำหัวพันธุ์ไปแช่กับยากันเชื้อรา นานประมาณ 30 นาที เพื่อป้องกันการเกิดชื้อราบนหัวพันธุ์ จากนั้น หัวพันธุ์ไปหยอดตามร่องที่ เตรียมไว้ ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วเกลี่ยหน้าดินกลบให้ทั่ว จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม
2. การปลูกจากการเพาะกล้าหัว
นำหัวที่แตกหน่อแล้วลงปลูกในร่องที่เตรียมไว้

%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99

การให้น้ำ
หลังจากปลูกหัวพันธุ์แล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่มทันที ต่อมาในระยะ 2 สัปดาห์แรก ควรให้น้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้น ให้น้ำวันเว้นวัน โดยเฉพาะการปลูกในฤดูแล้ง แต่หากปลูกในฤดูฝน เกษตรกรมักปล่อยให้ได้รับน้ำตามธรรมชาติ แต่หากฝนทิ้งช่วงจะให้น้ำเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ อาจติดตั้งระบบให้น้ำสปริงเกอร์หรือหรือระบบน้ำหยดเพื่อความสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะการปลูกในฤดูแล้ง

%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%991

การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูกทุกๆ 2 เดือน ให้กำจัดวัชพืชทุก 1 ครั้ง ด้วยการใช้จอบถาก ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหลังกำจัดวัชพืชเสร็จ

การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกแก่นตะวัน 20-30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 1 กำมือ/ 3 ต้น ร่วมกับปุ๋ยคอกโรยรอบโคนต้น อัตรา 1-2 กำมือ/ต้น โดยให้ใส่หลังกำจัดวัชพืชแล้วเสร็จ และอีกครั้งหลังจากปลูก 90-100 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-27 หรือสูตร 10-20-30 ร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตราเดียวกัน แต่อาจปรับให้มากขึ้น หากดินมีความสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะดินที่มีทรายมาก

การขุดเก็บหัว และการเก็บรักษา

การปลูกแก่นตะวันสามารถในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตสูงถึง 3-6 ตัน/ไร่ และสามารถปลูกได้ถึง 2 ครั้ง/ปี และมากสุดที่ 3 ครั้ง/ปี (3 ครั้ง ผลผลิตมักต่ำกว่าทั่วไป เพราะต้องเก็บในระยะที่หัวไม่โตเต็มที่นัก) ซึ่งมากกว่าพืชหัวหรือพืชไร่หลายชนิดที่ปลูกได้เพียง 1-2 ครั้ง ในรอบปี

แก่นตะวันจะเริ่มออกดอกหลังการปลูกประมาณ 60 วัน และสามารถขุดเก็บหัวได้หลังปลูก 4-5 เดือน การปลูกในฤดูแล้งสามารถขุดเก็บหัวได้ในระยะ 90-110 วัน หลังปลูก หรืออาจเก็บได้ตั้งแต่ 75 วัน ขึ้นไป หลังปลูก ส่วนการปลูกในฤดูฝนมักเก็บผลผลิตในช่วง 110-120 วันหลังปลูก แต่สามารถยืดอายุเก็บได้ถึง 150 วันหลังปลูก เพราะการปลูกในฤดูฝน ต้นจะเติบโตได้ดี และมีอายุการเพิ่มน้ำหนักหัวที่นานกว่าฤดูแล้ง

การเก็บหัวแก่นตะวัน เกษตรกรนิยมใช้วิธีขุดเก็บด้วยจอบ พลั่วหรือเสียม ร่วมกับการถอนด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใช้รถไถต่อพวงขุดเก็บเข้ามาใช้มากขึ้น

หลังจากขุดหรือถอนต้นขึ้นมาแล้ว ให้นำต้นมากองรวมกัน จากนั้นเด็ดตัดหัวออกจากเหง้าใส่กระสอบหรือบุ้งกี๋ แล้วลำเลียงใส่รถ ก่อนจะนำมาล้างทำความสะอาด หรือ ทำความสะอาดในไร่ ซึ่งจะต้องมีบ่อน้ำใกล้เคียง จากนั้น นำหัวแก่นตะวันมาคัดขนาด ก่อนนำเกลี่ยผึ่งลมให้แห้ง ก่อนบรรจุใส่ถุงจำหน่าย แต่หากต้องการเก็บรักษาหัวไว้ โดยเฉพาะหัวพัน ควนเก็บ ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส หรือหากเก็บไว้ไม่นาน ให้บรรจุใส่ถุงไว้ไว้ในที่ร่ม

โรค และแมลงศัตรู

1. โรครากเน่าโคนเน่า
โรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการคือ เชื้อรา จะเกิดบริเวณโคนต้น และลุกลามไปที่หัว หัวแก่นตะวันจะเป็นจุดไหม้สีน้ำตาล และเน่า ต่อมาใบจะเหลืองซีด และร่วงหล่น จากนั้น กิ่งจะเริ่มแห้ง และลำต้นจะตายในที่สุด การป้องกัน ทำได้โดยมั่นกำจัดวัชพืชหลังการปลูกทุกๆ 2หรือ1 เดือน/ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณโคนที่ต้องไม่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม แต่หากพื้นที่เคยเกิดหรือเคยเกิดรากเน่าในพืชอื่นที่เคยปลูก ให้หว่านด้วยปูนขาวในขั้นตอนการเตรียมแปลง และตากดินให้แห้งก่อน และหลังทำร่อง รวมถึงเพิ่มระยะห่างของการปลูก เพื่อให้แสงส่องถึงพื้นดิน

2. เพลี้ยชนิดต่างๆ
เพลี้ย ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย มักเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดอ่อน และใบ โดยเฉพาะในระยะหลังที่ต้นเริ่มแตกใบ โดยมีมดเป็นพาหนะในการแพร่กระจาย ทำให้ใบหงิกงอ การเติบโตหยุดชะงัก โดยพบระบาดมากหลังฝนทิ้งช่วง

ขอบคุณภาพจาก http://www.แก่นตะวันวังน้ําเขียว.com/, pantip.com/, www.rainamthip.com/, สมุนไพร.ไทย/

เอกสารอ้างอิง

(1) พีรณัฐ อันสุรีย์. 2555. การศึกษาและพัฒนาเครื่องขุดหัวแก่นตะวัน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(2) ปิยะวัชร ผาสุก. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยง-
แก่นตะวันในสภาพปลอดเชื้อ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(3) สมพิศ สายแก้ว. 2554. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของ-
หัวแก่นตะวันสดภายหลังการเก็บเกี่ยว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(4) วิรงค์รัตน์ พิมพ์แสน. 2553. ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับ-
สภาพแวดล้อมของลักษณะผลผลิตแก่นตะวัน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.