ราชพฤกษ์/ต้นคูน (Indian Laburnum) ประโยชน์ และสรรพคุณต้นคูน

Last Updated on 9 พฤศจิกายน 2017 by puechkaset

ราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน (Indian Laburnum) ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย และเป็น ไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกมากตามสถานที่ราชการต่างๆ เนื่องจากให้ดอกเป็นช่อใหญ่สีเหลืองสวยงาม นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ที่มีสรรพคุณทางยาหลายประการ อาทิ ใช้รักษาท้องร่วง ใช้เป็นยาระบาย ใช้รักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลในปาก และรักษาสุขภาพฟัน เป็นต้น

นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์ พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วประเทศ และพบในต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย พม่า ลาว เป็นต้น นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula Linn.
• วงศ์ : Caesalpiniaceae
• ชื่อสามัญ :
– Indian Laburnum
– Pudding-pipe Tree
– Golden Shower
• ชื่อท้องถิ่น
– ชัยพฤกษ์ ราชพริก คูน (ภาคกลาง)
– คูน (อีสาน)
– ชัยพฤกษ์ ลักเคย, ลักเกลือ (ใต้)
– ชัยพฤกษ์ คูน ลมแล้ง (ภาคเหนือ)

rajapuek

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 10-20  เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลำต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด

rajapuek1

ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว และแตกออกเป็นรากแขนงยั่งลึกได้มากกว่า 2 เมตร

2. ใบ
ใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวประมาณ 20-30 ซม. แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อย ออกเป็นคู่เรียงสลับตรงข้าม และเยื้องกันเล็กน้อย ใบย่อยแต่ละก้านมีประมาณ 3-8 คู่ ใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 5-10 ซม. แต่ละใบมีรูปทรงรี แกม รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลมสอบ มีสีเขียวอ่อน และค่อยๆเข้มขึ้นจนเขียวสด ใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม. ใบคู่แรกๆมีขนาดเล็ก และใหญ่ขึ้นในคู่ถัดไป ใบส่วนปลายมีขนาดใหญ่สุด ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านล่างมีขน

rajapuek2

3. ดอก
ดอกออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งก้าน ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวสีเหลือง ยาวประมาณ 20-40 ซม. แต่ละก้านดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาว 1-3 ซม. มีใบประดับใต้กลีบดอก กลีบดอกมีสีเหลืองประมาณ 5 กลีบ รูปรีหรือกลม ด้านในประกอบด้วยเกสร เพศผู้ 10 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนาน มีขน อับเรณูยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

rajapuek3

4. ผล
ผล มีลักษณะเป็นฝักยาว ทรงกลม ยาวได้มากถึง 60 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล น้ำตาลดำ และดำ ตามอายุของฝัก เมล็ดมีลักษณะแบน รูปกลมรี สีน้ำตาลถึงดำ เรียงเป็นชั้นๆ มีผนังกั้นจำนวนมาก ฝักแก่จะยังติดห้อยที่ต้น และจะร่วงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม

สารสำคัญที่พบ
1. ฝัก
• protein
• carbohydrate
• calcium
• glucose
• alkaloids
• anthraquinone
• gkutin
• pectins
• oxalates
• flavonoid
• aloe emodin
• galactomannan
• kaempferol
• luteolin
• emodin
• Phenylalanine
• Tryptophan
• Triacontyl alcohol (Triacontan-1-ol)
• n-Triacontan-1,30-diol
• n-Triacontyl lignocerate
• สารในกลุ่ม proanthocyanidin
-catechin
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin
• สารกลุ่ม anthraquinone
-rhein
-hydroxymethyanthraquinone
-sennoside A, B
-aloin
-barbaloin
-amino acid
-aspartic acid
-glutamic acid
-n-Butyric acid
-formic acid
-fistulic acid
-lysine

2. เมล็ด
• protein
• carbohydrate ในรูปของ galactomannan
• fat
• fiber
• fixed oil
• hydrocyanic acid
• chrysophanol
• phospholipids ของ cephalin และ lecithin
• Arginine
• Leucine
• Methionine

3. ใบ
• tannin
• steroid
• volatile oil
• hydrocyanic acid
• saponin
• triterpenoid
• rhein
• rheinglucoside
• sennoside A, B
• anthraquinones
• chrysophanol
• physcion
• phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin

4. ดอก
• ceryl alcohol
• kaempferol
• rhein
• phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin
• alkaloids
• triterpenes
• bianthroquinone glycoside
• fistulin
• rhamnose

5. เปลือกราก
• flovefin
• tannin
• phlobephenes
• สารประกอบของ oxyanthraquinone ได้แก่
-emodin
-chrysophanic acid
-fistuacacidin
-barbaloin
-rhein

6. เปลือก แก่น และกิ่ง
• แก่น Fistucacidin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม leucoanthocyanidin
• เปลือกไม้ ประกอบด้วย tannin, lupeol, β – sitosterol และ hexacosanol
• กิ่ง  พบสาร rhamnetin

sennoside A,B เป็นสารในกลุ่ม anthraquinone ประกอบด้วยหมู่ rhein 2 หมู่เชื่อมติดกัน โดยมีน้ำตาลกลูโคสมาเกาะ 2 โมเลกุล สาร sennoside A,B สามารถพบในพืชชนิดอื่น เช่น รากของโกษฐ์น้ำเต้า ใบ และฝักมะขามแขก ส่วนในต้นคูนพบได้ในส่วนราก ลำต้น ใบ และฝัก พบมากที่สุดในส่วนใบ

รวบรวมจาก : สุนทรี, 2535(5), ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร,2546(6), (Bahorun et al., 2005)(7), (India’s Health Portal, Nodate)(8), (World Agroforestry Center, Nodate)(9)

สรรพคุณราชพฤกษ์/ต้นคูน
1. ดอก
– มีสารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ(1)
– มีสารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ เช่น เชื้อที่ก่อการอักเสบของหูชั้นนอก(2)(3)
– สารสกัดจากดอกมีฤทธิ์การต่อต้านเชื้อรา(4)
– ดอกนำมาต้มรับประทานมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
– สารสกัดจากดอกราชพฤกษ์ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และความกระชับของผิว(1)

2. ราก เปลือก และแก่น
– ราก นำมาต้มรับประทาน ใช้ลดไข้ รักษาโรคในถุงน้ำดี
– ราก นำมาฝนทารักษากลาก เกลื้อน และโรคผิวหนังต่างๆ
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใช้ล้างบาดแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลติดเชื้อ แผลอักเสบ
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใส่เหลือเล็กน้อยรับประทาน ใช้แก้ท้องผูก ท้องเสีย
– เปลือกนำมาบดผสมน้ำใช้ทาหรือต้มน้ำอาบ สำหรับรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ต้านเชื้อแบคทีเรีย
– แก่น นำมาต้มรับปรานใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

3. ใบ และดอก
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้ต้านอนุมูลอิสระ
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้ต้านรักษาโรคเบาหวาน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ลดอัตราเสี่ยงของโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– นำมาบด ใช้ทาผิวหนัง ใช้ทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย

4. ฝัก
– เนื้อฝัก นำมาต้มรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของลำไส้
– น้ำต้มจากฝัก รับประทานแก้บรรเทาอาหารจุกเสียดแน่นท้อง

รวบรวมจาก : ชลธิชา(1), นักรบ, 2552(3), ภัสสร์พัณณ์, 2549(4)

สารออกฤทธิ์
• สารคาร์ทามีดีน (carthamidine) ของดอกที่ให้สีเหลือง มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ป้อกงัน และรักษาโรคเบาหวาน
• สารคาร์ทามีดีน (carthamidine) ของดอก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิว ต้านการเสื่อมของเซลล์
• สารแคโรทีนอยด์ หลายชนิดในใบ และดอกออกฤทธิ์รวมกันหลายด้าน อาทิ
– ต้านการเสื่อมสภาพของเซลล์ ป้องกันผิวจากอันตรายของแสง ป้องกันผิวเหี่ยวย่น
– ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาอักเสบ โรคต้อกระจก และช่วยให้มองเห็นได้ดีในตอนกลางคืน
– ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกัน และลดอาการภูมิแพ้
– บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ป้องกันโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด
– ต้านเซลล์มะเร็ง
• สารในกลุ่ม saponin มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขยายหลอดลม แต่มีผลข้างเคียงทำให้เม็ดเลือดแตกตัว
• สาร anthraquinones ที่พบในใบ และฝัก มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ใช้เป็นยาระบาย ใช้ฆ่าเชื้อ
• สารในกลุ่ม flavonoid ที่พบในใบ ดอก และฝัก หลายชนิดออกฤทธิ์รวมกัน ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ช่วยขยายหลอดลม ช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรง รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
• สารแทนนิน (tannin)ที่พบในเปลือก และแก่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาอาการท้องร่วง นอกจากนั้น เมื่อเข้าสู่ลำไส้จะกับโปรตีนในเยื่อบุ ช่วยลดการอักเสบ ต้านการสูญเสียน้ำ ช่วยดูดซึมน้ำกลับ แต่มีผลทำให้อาหารไม่ย่อย ทำให้ท้องอืด
• สารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ในใบนำมาต้มน้ำดื่มออกฤทธิ์หลายด้าน อาทิ
– ประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้พลังงานแก่ร่ากงาย
– ป้องกันโรคโลหิตจาง
– ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดอาการภูมิแพ้
– เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ตับถูกทำลาย ป้องกันการเสื่อม และชลอเซลล์เสื่อมสภาพ ป้องกันผิวหนังเหี่ยวย่น
– ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาแผล แผลติดเชื้อ
– ต้านเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้
– รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะอาหาร
– ช่วยดูดซึมสารอาหาร และแร่ธาตุเข้าสู่หลอดเลือด

ประโยชน์ราชพฤกษ์/ต้นคูน
1. คูนเป็นพืชมีดอกสีเหลืองสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ต้นประดับ และดอกประดับ เวลาออกดอกจะไม่มีใบ ออกดอกเต็มทั่วต้น
2. หลังผลิใบใหม่ คูนจะมีใบสีเขียวเต็มทั่วต้น ใช้ปลูกให้ร่มเงาตามบ้านเรือน สถานที่ราชการต่างๆ
3. แก่นคูนมีรสฝาด สับเป็นชื้นเล็ก ใช้ผสมเครื่องเคี้ยวหมาก หรือบดให้ละเอียดใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ทาประคบแผลรักษาแผล
4. ฝักคูณนำมาสกัดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าหนอนกินผัก โดย นักรบ เจริญสุข, 2552(3) ได้ศึกษาสารสกัดจากฝักคูณในการป้องกันหนอนกระทู้ในผักคะน้า พบว่า สารสกัดจากฝักคูนสามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ได้
5. ฝัก นำมาสกัดใช้เป็นส่วนผสมของสารฟอกหนัง ได้แก่ สารแทนนินที่ใช้สำหรับตกตะกอนโปรตีน
6. เมล็ดใช้สกัดเอายางเหนียวสำหรับเป็นส่วนผสมของกาวในอุตสาหกรรมยา
7. ลำต้น ใช้ทำไม้ก่อสร้าง ไม้เสา ไม้ค้ำยัน
8. เนื้อไม้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
9. ไม้ และกิ่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหารในครัวเรือน
10. ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะดอกใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับกระตุ้นให้เนื้อมีสีเข้มมากขึ้น

การปลูกราชพฤกษ์
การปลูกราชพฤกษ์นิยมปลูกด้วยเมล็ด รองลงมา คือ การปักชำกิ่ง ซึ่งการปักชำกิ่งจะได้ต้นใหม่ที่ลำต้นไม่ใหญ่ สูง ออกดอกเร็ว แต่วิธีนี้มีการชำติดยาก หากดูแลไม่ดี และระยะการชำติดนาน

สำหรับการ ปลูกด้วยเมล็ด จะใช้เมล็ดจากฝักแก่ที่ร่วงจากต้นหรือติดบนต้นที่มีลักษณะเปลือกฝักสีน้ำตาล จนถึง ดำ สามารถเก็บได้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม นำมาทุบเปลือก และแกะเมล็ดออก ลักษณะเมล็ดพันะธุ์ที่ดีควรเก็บจากต้นที่มีลำต้นตรง สูงใหญ่ ไม่มีโรค ฝักไม่รอยกัดแทะของแมลง ฝักอวบหนา เป็นมันเงา เมล็ดใน 1 กิโลกรัม จะได้เมล็ดประมาณ 7,400 เมล็ด

เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกหนา หากต้องการกระตุ้นการงอกที่เร็ว ให้ใช้วิธี ดังนี้
– ให้นำเมล็ดมาแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้น เป็นเวลา 45-60 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด
– เฉือนเปลือกออกเล็กน้อย
– นำไปแช่ในน้ำเดือด นาน 2-3 นาที นำออกทิ้งไว้ให้เย็น

การเพาะชำ
1. การเพาะหว่านในแปลงก่อนย้ายใส่ถุงเพาะชำ
ทำโดยการหว่านในแปลงเพาะที่ใช้ดินผสมปุ๋ยคอกกองโรยให้สูง 15-20 ซม. หรือใช้ไม้แผ่นเป็นแบบกั้น เมื่อกองดินสูงได้ระดับหนึ่งแล้วจะหว่านเมล็ดก่อน แล้วใช้ดินโรยปิดหน้าบางๆอีกครั้ง  หลังจากนั้น รดน้ำเป็นประจำ ซึ่งต้นอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน ทั้งนี้ ควรให้มีระยะห่างของเมล็ดพอควร อย่างน้อยประมาณ 5 ซม. ขึ้นไป

เมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 1 เดือน หรือมีความสูงประมาณ  5-7 เซนติเมตร ให้ถอนต้นย้ายไปเพาะในถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว และดูแลให้น้ำอีกครั้ง

2. การเพาะในถุงเพาะชำ
การเพาะวิธีนี้ จะทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายได้กว่าวิธีแรก ด้วยการนำเมล็ดเพาะในถุงพลาสติกได้เลยโดยไม่ผ่านการเพาะในแปลงก่อน ทำให้สามารถย้ายกล้าที่เติบโตแล้วลงแปลงปลูกได้ทันที

การเพาะจะใช้ดิน ผสมกับวัสดุเพาะ เช่น แกลบ ขี้เลื่อย เศษใบไม้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตราส่วนดินกับวัสดุเพาะที่ 1:1 หรือ 1:2 บรรจุในถุงเพาะพลาสติก หลังจากนั้นนำเมล็ดลงหยอด 1 เมล็ด/ถุง ทำการรดน้ำ และดูแลจนถึงระยะลงแปลงปลูก

การปลูก
ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะทั้งสองวิธี จะมีระยะที่เหมาะสมที่ความสูงประมาณ 25-30 ซม. สามารถปลูกในพื้นที่ว่างที่ต้องการ แต่หากปลูกในแปลงที่ใช้กล้าำตั้งแต่ 2 ต้น ขึ้นไป ควรมีระยะห่างระหว่างต้นที่ 4-6 เมตร หรือมากกว่า

ต้นคูนที่ปลูกในช่วง 2-3 ปีแรก จะเติบโตช้า แต่หลังจากนั้นจะเติบโตเร็วขึ้น อายุการออกดอกครั้งแรกประมาณ 4-5 ปี

แมลงศัตรู
1. แมลงกินใบ
ในระยะต้นคูนอายุ 1-3 ปีแรก ในช่วงต้นฤดูฝนต้นคูนจะมีการแตกใบใหม่ที่เป็นใบอ่อน ใบอ่อนนี้จะเป็นอาหารโปรดของแมลงหลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อกินใบคูน (Catopsilia pomona) หนอนผีเสื้อเณร (Eurema spp.) ด้วงค่อมทอง (Hypomeces squamosus) แมงกีนูนดำ และกีนูนแดงซึ่งจะเข้ากัดกินใบอ่อนเสียหายทั้งต้น แต่ทั้งนี้ เป็นการระบาดในบางช่วงเวลาเท่านั้น หลังแพร่ระบาดต้นคูนจะแตกใบใหม่มาแทนที่เหมือนเดิม

2. แมลงเจาะลำต้น
เป็นระยะตัวอ่อนของผีเสื้อในวัยหนอนที่อาศัยอยู่ในแก่นคูน และกัดกินเยื่อไม้เป็นอาหาร ได้แก่ หนอนผีเสื้อเจาะต้นคูน (Xyleutes leuconotus) และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera coffeae) มักพบในต้นคูนที่มีอายุ 1-3 ปีแรก หากมีจำนวนมากจะสังเกตเห็นต้นคูนมีรูเจาะสีแดงจำนวนมาก และมีน้ำยางไหลออก หากทำลายมากยอดอ่อนจะเหี่ยวแห้ง หรือลำต้นหักโค่นได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง
untitled