Last Updated on 22 สิงหาคม 2016 by puechkaset
ทับทิม (Pomegranate) จัดเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดต่างถิ่น แต่นิยมปลูก และรับประทานมากในปัจจุบัน เนื่องจาก ผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดที่ให้น้ำฉ่ำหวานอมเปรี้ยวที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และสารที่ออกฤทธิ์ทางยาหลายชนิด รวมถึงทั้งลำต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับบรรเทา และรักษาโรคได้หลายชนิด
ประวัติทับทิม
ทับทิมมีถิ่นกำเนิด และพบมีการปลูกครั้งแรกในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศอิหร่าน และประเทศใกล้เคียง) กว่า 300 ปี ก่อนคริสตกาล แล้วค่อยแพร่ไปในแถบประเทศเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันออก และอเมริกา
การแพร่เข้ามาของทับทิมสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะแพร่เข้าผ่านมา 2 ทาง คือ ประเทศอินเดีย และประเทศจีนในราวศตวรรษที่ 3-4 ส่วนประเทศไทยน่าจะแพร่เข้ามาในช่วงสมัยอยุธยา ผ่าน 2 ทาง เช่นกัน คือ ทั้งทางประเทศอินเดีย และศรีลังกา และอีกทางคือ มาจากประเทศจีน ซึ่งจะมาจากการติดต่อค้าขายจากชาวจีน และอินเดีย
พันธุ์ทับทิมเก่าแก่ที่มีการปลูกทับทิมในประเทศไทยในระยะแรกนั้น คือ พันธุ์บางปลาสร้อย ที่มีแหล่งปลูกมากในแถบภาคใต้บริเวณอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง แล้วค่อยแพร่ไปสู่จังหวัดอื่นๆ
อนุกรมวิธาน
– Kindom : Plantae
– Subkindom : Embryophyta
– Division : Tracheophhyta
– Subdivision : Pteropsida
– Class : Angiospermae
– Subclass : Dicotyledonae
– Order : Mytales
– Family : Punicaceae
– Genus : Punica
– Species : Granatum
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.
• ชื่อสามัญ :
– Pomegranate
– Punic Apple
– Granades
– Granats
– Carthaginian Apple
• ชื่อท้องถิ่น :
กลาง และทั่วไป
– ทับทิม
อีสาน
– พิลา
– พิลาสี
– หมากสีลา
– หมากจัง
เหนือ
– พิลาขาว
– มะก่องแก้ว
– มะเก๊าะ
• ต่างประเทศ
– จีน : เซี้ยะลิ้ว
– สเปน : Granada
– ชาติอาหรับ : Rimmond
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
รากทับทิม
รากทับทิมตามธรรมชาติที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจะมีระบบรากแก้ว และรากฝอย หากขยายพันธุ์ด้วยการตอนจะมีเพียงระบบรากฝอย
ลำต้นทับทิม
ทับทิมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แต่มีอายุนานได้ถึง 100 ปี ลำต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่าง ลำต้นมีเปลือกบาง และติดแน่นกับแก่นไม้ ผิวลำต้นมีสีเทา และเป็นมันเงา ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง และเหนียว ยอดหรือกิ่งอ่อนมักเป็นเหลี่ยม และมีหนามยาว แต่หนามไม่แข็ง และไม่คม
ใบทับทิม
ใบทับทิมจัดเป็นใบเลี้ยงคู่ แทงออกสลับใบ ใบมีลักษณะเรียวยาวเหมือนหอก โคนใบมนแคบ ปลายใบแหลมสั้น ใบเรียบมีสีเขียวเข้ม และมันวาวจากสาร cutin ที่เคลือบไว้ ใต้ท้องใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน และจะเห็นเส้นใบได้ชัด ใบกว้างประมาณ 1-2 ซม. และยาวประมาณ 2.5-6 ซม.
ดอกทับทิม
ดอกทับทิมเป็นดอกสมบูรณ์เพศ อาจออกเป็นช่อ 3-5 ดอก หรือ เป็นดอกเดี่ยว แทงออกบริเวณปลายยอดตรงง่ามกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 2-3 ซม. ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ มีรูปร่างคล้ายหม้อ และกลีบดอก 6 กลีบ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีส้ม หรือ สีแดง ถัดมาตรงกลางเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้จำนวนมาก ดอกสามารถผสมได้ในตัวเอง และผสมข้ามดอกจากต้นเดียวกันหรือคนละต้น มีระยะบานประมาณ 2 วัน
ผลทับทิม
ผลทับทิมมีลักษณะกลม ขนาดผลประมาณ 8-10 ซม. เปลือกผลหนา ผิวเปลือกเกลี้ยง และเป็นมันวาว ผลสุกมีเปลือกสีเหลืองอมแดงหรือบางพันธุ์มีสีแดงอมชมพู เมื่อสุกมาก เมล็ดด้านในจะขยายทำให้เปลือกปริแตก ภายในผลมีเมล็ดที่ถูกแบ่งเป็นช่องด้วยเยื่อสีครีมอมเหลือง จำนวน 5 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้มที่ฉ่ำด้วยน้ำหวาน รูปทรงสี่เหลี่ยม เนื้อนี้ใช้รับประทาน มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อเมล็ดที่ยังไม่สุกมีสีขาวอมชมพู และเมื่อผลสุกจะมีสีชมพูอมแดงหรือแดงเข้ม ส่วนเมล็ดที่เอาเนื้อออกแล้วจะมีลักษณะยาวรี ทั้งนี้ หลังจากติดผลจนถึงผลแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน
พันธุ์ทับทิม
พันธุ์ทับทิมดั้งเดิม
พันธุ์ทับทิมดั้งเดิมในประเทศแถบตะวันออกกลาง มีการจำแนกพันธุ์ทับทิมไว้ 3 พันธุ์ คือ
1. ทับทิมแดง (Ahmar)
2. ทับทิมแดง (Asward)
3. ทับทิมแดง (Halwa)
ประโยชน์ทับทิม
เนื้อเมล็ด และเมล็ด
1. เนื้อหุ้มเมล็ดนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด หรือ นำมาคั้นน้ำที่เรียกว่า น้ำทับทิม
2. เมล็ดทับทิมนำมาสกัดน้ำมันสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง
เปลือกทับทิม
1. สารสกัดจากเปลือกทับทิมนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
คุณค่าทางโภชนาการทับทิม
– พลังงาน : 70 กิโลแคลอรี่
– คาร์โบไฮเดรต : 17.17 กรัม
– โปรตีน : 0.95 กรัม
– น้ำตาล : 16.57 กรัม
– วิตามิน C : 6.10 มิลลิกรัม
– แคลเซียม : 3.00 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 0.30 มิลลิกรัม
– โพแทสเซียม : 259 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 8 มิลลิกรัม
– วิตามิน B1 : 0.030 มิลลิกรัม
– วิตามิน B2 : 0.063 มิลลิกรัม
– วิตามิน B3 : 0.300 มิลลิกรัม
– วิตามิน B5 : 0.596 มิลลิกรัม
– วิตามิน B6 : 0.106 มิลลิกรัม
– กรดโฟลิก : 6 ไมโครกรัม
สาระสำคัญที่พบ
เนื้อผล หรือ น้ำทับทิม
– Anthocyanins
– Glucose
– Ascorbic acid
– Ellagic acid
– Gallic acid
– Caffeic acid
– Catechin
– Quercetin
– Rutin
– Iron
– Amino acid
– Callistephin
– Chrysanthemin
– Cyanin
– Pectin
– Granatin B
– Pelargonin
– Punicalagin
– Punicalin
เปลือกเมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดทับทิม
– Punicic acid
– Ellagic acid
– Fatty acid
– Sterols
– Destrone
– Callistephin
– Chrysanthemin
– Cyanin
– Delphin
– Delphinidin
– Pelargonin
เปลือกผลทับทิม
– Phenolic punicalagins
– Gallic acid
– Fatty acid
– Citrict acid
– Malic acid
– Isoquercitrin
– Catechin
– Quercetin
– Rutin
– Flavonols
– Flavones
– Flavonones
– Anthocyanidins
– Gallotannic acid
– Hydrolyzable tannin
– Wax
– Resin
– Mannitol
– Gum
– Inulin
– Mucilage
– Pectin
– Calcium oxalate
ใบทับทิม
– Tannins
– Flavones glycosides
– Luteolin
– Apigenin
– Betulinic acid
ดอกทับทิม
– Gallic acid
– Ursolic acid
– Triterpenoids
– Maslinic acid
– Asiatic acid
ราก และเปลือกต้นทับทิม
– Pelletierine
– β sitoterol
– Sorbitol
– Isopelletierine
– Ellagitannins
– Manitol
– Punicalin
– Punicalagin
– Ellagitannin
ที่มา : Jurenka, (2008)(1)
สรรพคุณทับทิม
เนื้อทับทิม
– ต้านมะเร็งผิวหนัง
– ต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก
– ต้านมะเร็งเต้านม
– ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด
– ช่วยฟอกเลือด
– กระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือด
– ป้องกันโรครูมาตอยด์
– ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว
– ช่วยให้ผิวพรรณแลดูสดใส และอ่อนกว่าวัย
– ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
เปลือกทับทิม (มีรสฝาด)
– เปลือกทับทิมนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้ขับพยาธิ
– กินเปลือกทับทิมสดหรือนำเปลือกมาต้มดื่ม ใช้แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
– น้ำต้มเปลือกทับทิมใช้ดื่มรักษาโรคบิด
– น้ำต้มจากเปลือกใช้ดื่มรักษาอุจจาระเป็นเลือด
– เปลือกนำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาประคบรักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง และแผลอักเสบ ทำให้แผลแห้ง และหายเร็ว
– เปลือกทับทิมบดนำมาทารักษาโรคผิวหนัง
– นำเปลือกทับทิมมาต้มน้ำ ใช้สำหรับอาบป้องกันโรคผิวหนัง
– นำเปลือกทับทิมมาเคี้ยว ช่วยลดกลิ่นปาก และกำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ
ดอกทับทิม
– ดอกนำมาบดใช้อุดจมูกรักษาเลือดกำเดาออก
– นำดอกมาบดใช้ประคบสำหรับสำหรับห้ามเลือด
– สรรพคุณอื่นๆคล้ายกับเปลือกผล
ราก และลำต้น
– นำราก และลำต้นมาต้มน้ำดื่ม ใช้ขับพยาธิ
– น้ำต้มจากราก และลำต้นช่วยเป็นยาขับปัสสาวะ
– น้ำต้นจากทั้งสองส่วนช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
ใบทับทิม
– นำใบมาต้มน้ำอาบสำหรับรักษาโรคผิวหนัง
– นำใบมาบดใช้ประคบห้ามเลือด
– น้ำต้มจากใบหรือใช้ใบบดนำมาสระผม ช่วยรักษารังแค และลดอาการคันศรีษะ
– ใบบดนำมาประคบรักษาแผลสด แผลติดเชื้อ ทำให้แผลหายเร็ว
ตัวอย่างการใช้
1. การถ่าย และกำจัดพยาธิ ให้ใช้เปลือกลำต้นหรือราก 1-2 กำมือ นำมาต้มเคี่ยวนาน 2-3 ชั่วโมง แล้วดื่มก่อนอาหารทุกวัน วันละ 3 ครั้ง นาน 5-7 วัน
2. รักษาท้องร่วง ท้องเสีย ให้นำรากหรือลำต้นมาต้มเคี่ยวนาน 2 ชั่วโมง ก่อนดื่มวันละ 3-4 ครั้ง หลังเกิดอาการท้องเสีย และดื่มติดกัน 1-2 วัน จนกว่าอาการจะหาย
พิษของทับทิม
– เปลือกทับทิมที่มีสาร gallotannin ในปริมาณความเข้มข้นสูงจะมีพิษต่อตับ
– การให้สารสกัดจากเปลือกทับทิม ขนาด 0.4 มล./วัน แก่นกกระจอก สามารถทำให้นกกระจอกตายได้
– การให้สารสกัดจากต้นทับทิมด้วยการฉีดเข้าท้องหนูทดลอง ขนาด 0.25 กรัม/น้ำหนักกิโลกรัม สามารถทำให้หนูทดลองตายเกินครึ่งหนึ่ง
การปลูกทับทิม
การปลูกทับทิมเพื่อการค้าหรือปลูกจำนวนหลายต้นมักปลูกในแปลงใหญ่หรือปลูกแซมกับพืชชนิดอื่น เช่น สวนกล้วย สวนน้อยหน่า เป็นต้น ทั้งนี้ การปลูกทับทิม นิยมปลูกจากต้นกล้าที่เตรียมได้จากการเพาะเล็ด และการปักชำ
การเตรียมดิน
การปลูกในแปลงใหญ่ควรไถพรวนดิน และตากดินให้แห้ง 1-2 ครั้งก่อน พร้อมกำจัดวัชพืชร่วมด้วย
ขั้นตอนการปลูก
– ใช้กล้าที่มีอายุ 2-3 เดือน หรือต้นกล้าสูง 30-40 ซม.
– ขุดหลุมลึก 20-30 ซม.
– ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี 15-15-15 รองก้นหลุม 2 ต้น/กำ พร้อมคลุกผสมให้เข้ากับดินก้นหลุม
– ระยะปลูกที่ 4×3 หรือ 5×3เมตร
การให้น้ำ
– ระยะแรกหลังการปลูก 2-3 อาทิตย์ จะให้น้ำทุกวัน
– หลังจากต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วจะให้น้ำ ประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์
การใส่ปุ๋ย
– หลังการปลูก ประมาณ 1 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 1-2 กำ/ต้น
– ให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
– ก่อนต้นติดดอกครั้งแรก ให้ปุ๋ยสูตร 12-12-24 ประมาณ 1 กำ/ต้น และให้ในทุกปี
การเก็บเกี่ยว
ทับทิมที่ปลูกจากกิ่งตอนจะเริ่มออกดอก และติดผลภายใน 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับกิ่งตอนได้จากต้นแม่ที่มีอายุมากน้อยเพียงใด หากได้จากต้นแม่ที่เริ่มติดผลแล้วก็จะใช้เวลาไม่นาน แต่หากได้จากต้นที่ยังอ่อน 1-2 ปี ก็จะใช้เวลาที่นานกว่า
สำหรับการปลูกทับทิมจากต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลานานในการติดดอก และติดผลครั้งแรก ซึ่งต้นทับทิมจะมีอายุประมาณ 2-3 ปี กว่าจะให้ผลได้
เอกสารอ้างอิง