ชมพูภูคา ไม้ดอกหายากบนดอยภูคา

Last Updated on 22 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายากของไทยที่พบได้เพียงแห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ดอกของชมพูภูคาออกเป็นช่อใหญ่ มีดอกย่อยเรียงซ้อนกันแน่น กลีบดอกบานมีสีชมพูสวยงาม จนเป็นต้องการชื่นชมของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะขึ้นชมได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี

เนื่องจาก ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายาก และมีลักษณะเด่นที่ดอกสวยงามนัก จนกระทั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระราชทานให้ชมพูภูคา เป็นดอกไม้ประจำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

• วงศ์ : Bretschneideraceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl.

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ชมพูภูคา มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศจีนตอนใต้ พบกระจายในมณฑลยูนนาน ของประเทศจีนตอนใต้ และไล่ลงมาถึงตอนเหนือของพม่า ลาว และไทย

ชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้เฉพาะในป่าดงดิบบริเวณไหล่เขาสูง ตั้งแต่ระดับความสูง
1,200 เมตร ขึ้นไป

ในไทยถูกค้นพบเพียงแห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ค้นพบโดย ดร.ธวัชชัย สันติสุข เมื่อปี 2532 และต่อมาค่อยค้นพบเพิ่มขึ้นบนดอยภูคาเช่นกัน ทั้งนี้ ต้นชมพูภูคา ที่ค้นพบได้มีการเก็บรวบรวมเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์ และปลูกเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน [1]

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%84%e0%b8%b2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ชมพูภูคา เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง มีลำต้นสูงประมาณ 10-25 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ มีสีเทาอมน้ำตาล

ใบ
ใบชมพูภูคา เป็นใบประกอบแบบใบคู่ (ใบสุดท้ายเป็นคู่) มีก้านใบหลักยาว 30-70 เซนติเมตร ก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อย 3-9 คู่ ใบย่อยมีก้านใบสั้น ใบมีรูปหอก กว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-25 เซนติเมตร โคนใบสอบกลม ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ

ดอก
ชมพูภูคา ออกดอกเป็น มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20-45 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกย่อยเรียงซ้อนกันตามช่อแขนง ดอกย่อยมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร มีมีรูปทรงระฆังหรือรูปกรวย โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน หลายกลีบดอกแผ่ และโค้งลงด้านล่าง กลีบดอกด้นนอกมีสีชมพูอมขาว แผ่นกลีบดอกด้านในมีสีชมพู และมีริ้วสีแดงประ

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%84%e0%b8%b21

ผล
ผลชมพูภูคา รูปกลมรี มีก้านผลยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ขนาดผลยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลหนา 1 ผล มี 1 เมล็ด มีลักษณะกลมรีเช่นเดียวกับด้านนอกผล ขนาดเมล็ดยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์
ชมพูภูคา ขยายพันธุ์ และเพาะปลูกได้ด้วยวิธีเพาะเมล็ด แต่เมล็ดจะมีอัตราการงอกที่ดีบนพื้นที่สูงตามถิ่นอาศัยของต้นแม่ ปัจจุบัน มีการเก็บเมล็ดจากต้นแม่ดั้งเดิมที่พบบนดอยภูคามาเพาะขยายพันธุ์จนได้ต้นกล้า และนำมาปลูกบริเวณใกล้เคียงกับต้นแบนดอยภูคาจำนวนหลายต้น ซึ่งต่อไปจะน่าจะมีการติดดอก และบานให้ชื่นชมมากขึ้น นอกจากนั้น ได้มีการทดลองนำต้นกล้าชมพูภูคาไปปลูกยังแหล่งอื่นที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่าง ได้แก่ เหมืองอีต่อง ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มีมีการตอบสนองต่อการเติบโตได้ดี

เทศกาลผ่อดอกชมพูภูคา” จังหวัดน่าน
ชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นที่ออกดอกสวยงาม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ กระจายทั่วปลายกิ่ง ตัวดอกมีสีชมพูสดใส เรียงซ้อนกันแน่น ดอกออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ทำให้ช่วงนี้ของทุกปี ทางจังหวัดน่านได้จัดเทศกาลเที่ยวชมดอกชมพูภูคาขึ้น เรียกเทศกาลนี้ว่า “ผ่อดอกชมพูภูคา” โดยมีอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นแหล่งขึ้นชมดอกชมพูภูคา

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%84%e0%b8%b2

ดอยภูคา เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาบนเทือกเขาหลวงพระบาง ในจังหวัดน่าน มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูงประมาณ 1,980 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีลักษณะป่าหลากหลาย อาทิ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งไล่ระดับในแต่ละความสูงที่แตกต่างกัน และเป็นแหล่งกำเนิดพรรณไม้สำคัญหายากที่พบแห่งเดียวในไทย คือ ชมพูภูคา [1]

ขอบคุณภาพจาก Pantip.com/, instget.com

เอกสารอ้างอิง
[1] 84 พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ.