กระบองเพชร/แคคตัส (Cactus) ประโยชน์ และการปลูกกระบองเพชร

Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2016 by puechkaset

กระบองเพชร หรือ แคคตัส (Cactus) เป็นต้นไม้ยืนต้นที่นิยมปลูกประดับในอาคารหรือที่โล่งแจ้ง เนื่องจาก มีลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลีบแปลกตา อีกทั้งยังออกดอกหลากสีสวยงาม รวมถึงเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกได้ในทุกดิน และวางประดับได้ในทุกสถานที่

วิวัฒนาการกระบองเพชร/แคคตัส
กระบองเพชร/แคคตัส เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae ที่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นตั่งแต่ต้นยุค Tertiary ซึ่งเชื่อว่าในยุคนั้น กระบองเพชรน่าจะมีลำต้นแบบมีกิ่ง และใบปกคลุมทั่ว ซึ่งเปรียบเทียบได้กับกระบองเพชรในสกุล Pereskia ที่ยังพบมีกิ่ง และใบปกคลุม อาทิ กุหลาบเมาะลำเลิง และกุหลาบพุกาม

ในยุคต่อมาสภาพอากาศโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดเป็นเทือกเขาขึ้นตามไหล่ทวีปทางด้านตะวันตก ทำให้ลม และฝนไม่สามารถพัดผ่านเทือกเขามาฝั่งตะวันออกได้ (ทวีปอเมริกาใต้) ทำให้พื้นที่อีกฝั่งเกิดความแห้งแล้งกลายเป็นทะเลทรายในเวลาต่อมาจนทำให้พันธุ์พืชล้มตาย และบางสายพันธุ์วิวัฒนาการลำต้นเพื่อให้อยู่รอดในสภาพทะเลทรายได้ โดยเฉพาะกระบองเพชรที่ลดรูปลำต้นให้มีขนาดเล็ก ทั้งเรียวสูง หรือกลมเตี้ย ส่วนรากหยั่งตื้นเพื่อดูดเก็บน้ำจากอากาศได้ รวมถึงลดรูปจากใบกลายเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และเก็บกักน้ำในลำต้นจนทำให้ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำมาจนถึงปัจจุบัน

เพิ่มเติมจาก 1)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
กระบองเพชรส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ก่อนจะแพร่กระจายเข้าสู่แอฟริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก ด้วยการนิยมในการปลูกประดับ ซึ่งพันธุ์ดั้งเดิมพบได้ในพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้ง ก่อนจะมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ปลูก และเติบโตได้ในสภาพร้อนชื้น

Cactus

กระบองเพชร/แคคตัสในประเทศไทย
คนไทยแต่ก่อนรู้จักกระบองเพชรบางสายพันธุ์มานานแล้ว อาทิ เชนเสมา และโบตั๋น และเรียกเป็นกระบองเพชรพันธุ์หนึ่งเช่นกัน เพราะมีลักษณะลำต้นสูงยาว ลำต้นมีหนามปกคลุม รวมถึงกระบองเพชรสายพันธุ์ที่รับประทานผลที่รู้จักกัน คือ แก้วมังกร

ทั้งนี้ จุลสารของชมรมกระบองเพชรแห่งประเทศไทย โดยกระท่อมลุงจรณ์ ได้เขียนไว้เกี่ยวกับกระบองเพชรว่า ก่อนปี พ.ศ. 2500 กระบองเพชรหรือแคคตัสได้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้ชื่นชอบ (สกุล สมบัติศิริ) เพื่อปลูก แลเผยแพร่ในกลุ่มเพื่อนฝูง และหลังจากนั้น ก็เริ่มนำกระบองเพชรจากต่างประเทศเข้ามาปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมา คุณวาสนา สังข์สุวรรณ ได้ตั้งร้านชื่อ 471 จำหน่ายกระบองเพชรที่สนามหลวง ซึ่งถือเป็นร้านที่เปิดจำหน่ายกระบองเพชรร้านแรกในเมืองไทย และต่อมาก็เป็นร้านลุงจรณ์ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองลอด ซึ่งในระยะต่อมามีการซื้อขาย และสะสมกันมากขึ้น โดยมีคุณขจี วสุธาร เป็นผู้นำการเล่นกระบองเพชรในขณะนั้น

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2519 ได้มีการสั่งไม้ต่อยอดสีแดง ยิมโนด่าง และกระบองเพชรที่ได้จากการเพาะเมล็ดเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น และต่อมานักเล่นกระบองเพชรได้เริ่มการเพาะขยายพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์เองภายในประเทศ ทั้งการเพาะเมล็ด และการต่อยอด ทำให้เกิดความนิยมปลูก และซื้อขายกระบองเพชรกันมากขึ้น

เพิ่มเติมจาก 1)

นอกจาก กระบองเพชรที่นำเข้ามาปลูกจากต่างประเทศแล้ว ในบางพื้นที่ยังพบกระบองเพชรท้องถิ่น โดยเฉพาะในอีสาน ซึ่งปัจจุบันหาพบได้ยากแล้ว โดยลำต้นมีลักษณะตั้งตรง และแตกเป็นกอ ลักษณะลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แยกออกเป็นพู และมีตุ่มหนามเกิดที่สันพู ลำต้นมีขนาดลำต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร สูงได้มากกว่า 2 เมตร ส่วนดอกออกบริเวณตุ่มหนามที่สันพู มีหลอดดอกยาว สีเขียว กลีบดอกมีสีขาว เกสรมีสีเหลือง เมื่อบานจะมีกลิ่นหอม

ลักษณะทั่วไปของกระบองเพชร/แคคตัส
ลำต้น และหนาม
กระบองเพชร/แคคตัส เป็นพืชที่มีลักษณะลำต้นแปลก และแตกต่างจากพืชชนิดอื่น คือ ลำต้นของเกือบทุกพันธุ์จะไม่มีใบ เนื่องจากใบมีวิวัฒนาการลดรูปกลายเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และป้องกันการกัดกินของสัตว์

ลำต้นกระบองเพชรมีทั้งแบบทรงกลมเตี้ย แบบทรงกระบอกสูง หรือมีรูปร่างคล้ายกระบอง และมักเป็นพูหรือแฉก ซึ่งจะมีปุ่มหนามขึ้นที่สันพูเป็นระยะหรือเป็นหนามเรียงช้อนกันเป็นแถวที่สันพู โดยลำต้นอาจเติบโตเป็นต้นเดี่ยวๆหรือแตกลำต้นเป็นกอใหญ่ ซึ่งบางพันธุ์สามารถสูงได้มากถึง 24 เมตร ลำต้นมีขี้ผึ้งเคลือบ เพื่อลดการคายน้ำ ผิวลำต้น และเนื้อลำต้นมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสงแทนใบ

หนามกระบองเพชรมีลักษณะหลายแบบ ทั้งเป็นหนามแข็ง ปลายหนามอาจตรงหรืองอเป็นตะขอ หรือหนามอาจเป็นเส้นอ่อนๆคล้ายขนสัตว์ และมีสีของหนามแตกต่างกันหลายสี อาทิ สีเหลือง สีแดง สีส้ม หรือสีน้ำตาล และบางพันธุ์สามารถเปลี่ยนสีของหนามตามอายุ และสภาพอากาศได้

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%8a%e0%b8%a3

ดอก
กระบองเพชรเป็นไม้ที่ออกดอกยาก ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสเห็นกันมากนัก เพราะจะออกดอกเมื่อต้นมีอายุโตเต็มที่ ซึ่งกว่าจะออกดอกก็มีอายุหลายปี แต่หากออกดอกจะสวยงามไม่แพ้ดอกไม้ชนิดอื่น

ดอกกระบองเพชรมักออกเป็นดอกเดี่ยวโดดๆหรือออกเป็นกระจุก ดอกไม่มีก้านก้านดอก กลีบดอกมีหลายสี อาทิ สีแดง สีชมพู สีเหลือง และสีขาว เป็นต้น ซึ่งดอกส่วนมากจะแทงออกบริเวณตุ่มหนามตามสันพู แต่มีบางพันธุ์ที่ออกบริเวณส่วนอื่น อาทิ
– สกุล Echinocereus ออกดอกใกล้กับตุ่มหนาม
– สกุล Mammillaria ออกดอกบริเวณเนินหนาม
– สกุล Melocactus ออกดอกบริเวณกลุ่มหนามเพาะส่วนปลายยอด

Cactus1

ผล
ผลกระบองเพชรมักมีสีสันสดใส ผลมีรูปทรงหลายแบบ อาทิ ทรงกลม รูปไข่ หรือทรงกระบอก ผิวผลเรียบ และเป็นมัน และบางพันธุ์มีหนามปกคลุม หรือเป็นเกล็ดแห้งปกคลุม ส่วนเนื้อผลนุ่ม มีสีใสคล้ายวุ้น ที่แทรกด้วยเมล็ด เมื่อผลแก่เต็มที่จะแห้งเหี่ยว และร่วงลงดิน แต่อาจพบบางพันธุ์ที่ผลแห้งแล้วจะปริแตกให้เมล็ดกระเด็นออกห่างลำต้น

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%8a%e0%b8%a3

พันธุ์ และลักษณะกระบองเพชร/แคคตัส
1. Echinopsis
Echinopsis เป็นกลุ่มที่พบประมาณ 60 ชนิด ลำต้นมีลักษณะกลมแป้น ไม่มีใบ แต่บางชนิดเมื่อแก่จะเป็นลักษณะทรงกระบอก ลำต้นอาจเกิดเป็นต้นเดี่ยวๆหรือเกิดเป็นกอหนา ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือสัน จำนวน 8-16 สัน ขนาดลำต้น 20-30 เซนติเมตร สูงได้มากกว่า 50 เซนติเมตร ผิวลำต้นมีสีเขียวสดใส และเป็นมัน ดอกมีหลอดยาว 5-15 เซนติเมตร กลีบดอกมีหลายสี อาทิ สีขาว สีชมพูอ่อน หรือสีแดง ส่วนผลมีลักษณะทรงกลม กระบองเพชรชนิดนี้ เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หรือ ดินเหนียวปนดินร่วน ปลูกง่าย และเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพขาดน้ำได้ดี

echinopsis ancistrophora
echinopsis ancistrophora

2. Ferocactus
เป็นกลุ่มที่พบประมาณ 35 ชนิด พบได้ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา และแมกซิโก มักเกิดเป็นต้นเดี่ยวๆ และจะแตกกอเมื่อมีอายุมาก แต่บางพันธุ์สามารถแตกกอได้ในขณะที่ต้นยังอ่อน ลำต้นมีลักษณะกลมแป้น และลำต้นค่อนข้างสูง ซึ่งบางพันธุ์อาจสูงได้มากถึง 3 เมตร ลำต้นเป็นสัน สีลำต้นเขียวเข้มหรือเขียวอมฟ้า ส่วนตุ่มหนามค่อนข้างใหญ่ มีหนามเกิดบริเวณด้านข้าง ปลายหนามเป็นตะขอ หนามมีสีเหลือง สีชมพู สีแดง สีส้มหรือสีแสด

ferocactus
ferocactus

3. Gymnocalycium
กระบองเพชรสกุลนี้ จะออกดอกบริเวณส่วนยอดของลำต้น ซึ่งจะเริ่มออกดอกได้เมื่ออายุประมาณ 2 ปี และออกดอกในช่วงฤดูแล้ง ตัวดอกมีหลอดสั้น และบาง ดอกมีหลายสี อาทิ สีขาว สีครีมอมเหลือง สีชมพูเข้ม หรือชมพูแดง ทั้งนี้ กระบองเพชรชนิดนี้ สามารถทนแล้งได้ดีมาก แต่หากได้รับน้ำมากหรือดินมีความชื้นมากมักจะล้มเน่าตายได้ง่าย

4. Astrophytum
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่คนไทยมักเรียกว่า หมวกสังฆราช กลุ่มนี้มีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของเม็กซิโก ซึ่งพบได้ในพื้นที่สูงประมาณ 7,5000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ลำต้นเมื่อเล็กมีลักษณะทรงกลม แต่เมื่อโตขึ้นจะเป็นรูปทรงกระบอก มีความสูง 30-60 เซนติเมตร ผิวลพต้นมีสีเขียว และมีขนประสีขาว ลำต้นแบ่งเป็นสัน 5-8 สัน หนามเกิดบนสัน และมีปุยขนสีน้ำตาลอ่อนล้อมรอบ ส่วนดอกมีสีเหลืองซีด ขนาดดอก 4-6 เซนติเมตร ตรงกลางมีเกสรตัวเมียสีเหลือง 7 อัน ส่วนผลมีสีเขียวที่ด้านในมีเมล็ดขนาดใหญ่สีน้ำตาล กระบองเพชรชนิดนี้ เติบโตได้ดีในที่โล่ง และทนต่อสภาพดินชื้นได้ดี

5. Pereskia
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่มีใบหรือใบแท้ ลำต้นไม่มีกลุ่มหนามหรือขน ส่วนเมล็ดในเนื้อผลมีสีดำ

6. Opuntia
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่มีใบแท้เช่นกัน แต่ใบมีขนาดเล็ก และมีกลุ่มหนามหรือขนแข็งปกคลุมที่ลำต้น ส่วนเมล็ดในเนื้อผลมีปีก

7. Cereus
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่ลำต้นมีรูปทรงกระบอก ลำต้นแบ่งเป็นสัน และมีหนามปกคลุม แต่บางชนิดบริเวณโคนต้นไม่มีหนามปกคลุม ส่วนเมล็ดในเนื้อผลมีสีดำหรือสีน้ำตาล

8. Hyloceceus
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่ไม่มีใบ ลำต้นมีลักษณะทรงกระบอก และเป็นเหลี่ยมสัน ลำต้นมีหนามอ่อนขนาดเล็กขึ้นปกคลุม กระบองเพชรกลุ่มนี้ จัดเป็นกลุ่มอิงอาศัย คือ ลำต้นไม่มีระบบราก ซึ่งมักจะเกาะติดอยู่กับไม้ชนิดอื่นหรือดูดน้ำจากอากาศ

9. Melocatus
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่ค่อนข้างเล็ก มีลักษณะกลมแบนหรือทรงกระบอก ลำต้นเป็นสัน และมีหนามแข็งปกคลุม หลอดของดอกมีขนปุยหรือบางพันธุ์ไม่มีขนปุย

10. Neopoteria
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่ค่อนข้างเล็ก ลำต้นมีรูปกลมแป้นหรือทรงกระบอก ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือสัน ส่วนหนามเกิดบนตุ่มหรือแพร่กระจายตามสัน มีทั้งหนามแข็ง และหนามแบบขนปุย ส่วนดอกมีปุยที่โคนดอก

11. Echinocactus
เป็นกลุ่มกระบองเพชรที่ค่อนข้างเล็ก ลำต้นทรงกลมหรือทรงกระบอก และเป็นเหลี่ยมสัน ส่วนดอกเกิดบริเวณตรงกลางของยอดลำต้น

เพิ่มเติมจาก 1)

ประโยชน์กระบองเพชร/แคคตัส
1. กระบองเพชรใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเป็นหลัก ทั้งการประดับต้น ซึ่งมีลักษณะดูแปลกตา และการประดับดอกที่มีสีสันสวยงาม ทั้งนี้ กระบองเพชรเป็นพืชที่ปลูก และดูแลง่าย มักปลูกในกระถางขนาดเล็ก และนำไปประดับตามห้องทำงาน ห้องนอน ห้องรับแขก ซึ่งสามารถวางได้ทั้งบนโต๊ะทำงาน วางขอบหน้าต่าง และบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กได้
2. ดอกกระบองเพชรบางชนิดใช้ประกอบอาหาร โดยเฉพาะนำดอกมาลวกจิ้มน้ำพริก ทั้งนี้ จะต้องเด็ดดอกทิ้งไว้สักพักเพื่อให้ยางไหลออกให้หมดก่อน
3. ผลกระบองเพชรบางชนิดมีขนาดใหญ่ เนื้อผลมีรสหวาน นิยมรับประทาน และจำหน่ายเป็นสินค้าท้องถิ่น ซึ่งเราเห็นกันทั่วไป คือ แก้วมังกรนั่นเอง นอกจากนั้น ยังมีสายพันธุ์กระบองเพชรที่รับประทานผลได้อีกหลายชนิดที่เมืองไทยยังรู้จักน้อย แต่ปัจจุบัน เริ่มมีนำสายพันธุ์กระบองเพชรแปลกที่รับประทานผลได้เข้ามาปลูกบ้างแล้ว

%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%8a%e0%b8%a3

การปลูกกระบองเพชร/แคคตัส
กระบองเพชรส่วนมากเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำมาก และมักขึ้นในสภาพดินที่แห้งแล้ง ทั้งพบได้ตามป่าเขา ทะเลทราย ทุ่งหญ้า ซึ่งชอบดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี ทำให้กระบองเพชรสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ที่มีสภาพแห้งแล้งหรือมีสภาพร้อนชื้น

การปลูกกระบองเพชรในประเทศไทยจะเป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยนิยมพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นเตี้ย ทั้งทรงกลม และทรงกระบอก และนิยมปลูกมากในกระถางมากกว่าปลูกลงแปลงจัดสวน

การเตรียมวัสดุเพาะหรือปลูก
กระบอกเพชรชอบเนื้อดินร่วน และโปร่ง เนื้อดินไม่แน่น ดังนั้น การปลูกกระบองเพชรในกระถางจึงต้องเตรียมวัสดุปลูกหลายชนิดผสมกัน ได้แก่ ดิน กรวด/ทราย และวัสดุอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือแกลบดำ) โดยมีอัตราส่วนผสมระหว่างดิน ทราย/กรวด และวัสดุอินทรีย์ ในอัตราส่วน 1:2:1โดยให้รอยกรวดเม็ดเล็กๆประหน้ากระถางไว้ ส่วนการเตรียมวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดให้ใช้อัตราส่วน 1:0.5:1 แทน ส่วนกระถางสามารถใช้ได้ทั้งกระถางพลาสติก และกระถางดินเผา

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด
เมล็ดกระบองเพชรจะอยู่ด้านในผลที่มีลักษณะทรงกลม สีดำหรือสีน้ำตาล ทั้งนี้ ให้เลือกเมล็ดที่แก่เต็มที่หรือเมล็ดที่มีสีดำหรือเมล็ดจากผลที่ปริแตกแล้ว หลังจากนั้น นำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 2-5 นาที แล้วล้างเมือกออก ก่อนจะนำเมล็ดมาตากแดดให้แห้ง 1-2 วัน แล้วพักไว้ประมาณ 1-2 เดือน

เมล็ดที่เตรียม และพักไว้จนได้ 1-2 เดือนแล้ว ให้นำเมล็ดออกมาเพาะ โดยใช้วัสดุเพาะที่กล่าวข้างต้น ส่วนกระถางเพาะให้ใช้กระถางพลาสติกขนาดเล็ก ก่อนจะกรอกวัสดุเพาะลงให้เต็มกระถาง หลังจากนั้น นำเมล็ดมามาโรยในกระถาง พร้อมเกลี่ยดินให้ปกเมล็ดเล็กน้อยหรือดเมล็ดให้ลงเพียงครึ่งเมล็ด ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่ม และนำใส่ถุงพลาสติก พร้อมรัดด้วยยางรัดให้แน่น ก่อนนำไปวางในที่แสงแดดรำไร หลังจากนั้นในทุกๆ 7-10 วัน ให้ตรวจดูว่าดินมีความชื้นไหม หากดินแห้งให้รดน้ำพอชุ่ม หลังจากเมล็ดงอกแล้ว 2-3 วัน ค่อยนำต้นอ่อนลงปลูกในกระถางต่อ

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำต้น
การปักชำต้นนั้น เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพาะทำได้ง่าย และขยายต้นใหม่ได้รวดเร็ว ด้วยการใช้วัสดุเพาะข้างต้นบรรจุในกระถาง ก่อนจะนำต้นหรือกิ่งจากต้นแม่มาปักชำลงกระถาง ก่อนนำไปวางในที่แสงแดดรำไร พร้อมรดน้ำ 2 วัน/ครั้ง จนกิ่งชำติด ซึ่งอาจนำปลูกด้วยกระถางเพาะชำหรือย้ายลงกระถางใหม่ก็ได้

การให้น้ำ
กระบองเพชรถือว่าเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างน้อย แต่ยังต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปกติจะให้น้ำเพียงเล็กน้อยตามขนาดของต้น ประมาณ 3 วัน/ครั้ง

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยกระบองเพชรนั้น ไม่ค่อยใส่มากนัก โดยอาจให้เดือนละ 1 ครั้ง ด้วยปุ๋ยสูตร 24-12-12 ละลายน้ำรด

ลักษณะกระบองเพชร/แคคตัสที่กำลังยืนต้นตาย
1. ผิวลำต้นซีด และมีรอยย่น
2. โคนต้นโยกได้ง่าย รากมีความชื้นมาก และเริ่มเน่า
3. หนามเหี่ยวอ่อน ไม่แข็งเหมือนปกติ

ขอบคุณภาพจาก http://cactiguide.com/, www.sentangsedtee.com/

เอกสารอ้างอิง
4