เห็ดตับเต่าดำ เห็ดตับเต่าขาว สรรพคุณ และการเพาะเห็ดตับเต่า

Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2016 by puechkaset

เห็ดตับเต่า (King bolete mushroom) จัดเป็นเห็ดขนาดใหญ่ที่พบได้ในทุกภาค และนิยมนำมารับประทาน เนื่องจาก ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ เนื้อเห็ดมีความนุ่ม และลื่น ใช้ทำอาหารได้ทั้งดอกเห็ดอ่อน และดอกเห็ดแก่ เพราะถึงแม้ดอกเห็ดจะแก่ แต่ยังให้เนื้อเห็ดที่นุ่มลื่นเหมือนดอกเห็ดอ่อน

เห็ดตับเต่า ในเมืองไทยมี 2 ชนิด คือ เห็ดตับเต่าดำ และเห็ดตับเต่าขาว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด จัดเป็นเชื้อราเอ็คโตไมคอร์ไรซา (ectomycorrhiza) ซึ่งจะเจริญอยู่ร่วมกับรากต้นไม้ยืนต้นแบบพึ่งพาอาศัยกัน กล่าวคือ รากไม้จะให้สารคาร์โบไฮเดรต และสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นแก่เห็ดตับเต่าเพื่อนำไปใช้ในการเติบโต และสร้างดอกเห็ด ส่วนเห็ดตับเต่าจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ต้นพืช ช่วยปกป้องเชื้อราก่อโรคที่อาจทำให้รากเน่าได้

เห็ดตับเต่าทั้ง 2 ชนิด จะพบได้ตามใต้ร่มไม้ยืนต้นที่มีความชุ่มชื้น และมักเติบโตให้เห็นบริเวณที่เป็นดินเหนียว ส่วนดินทรายไม่พบเห็นเห็ดตับเต่า อาจเพราะมีความชื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการเติบโต ซึ่งจะพบเห็ดตับเต่าได้ตั้งแต่หลังต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน

เห็ดตับเต่าที่พบจะเกิดแทรกโผล่ดินขึ้นมา ซึ่งจะเกิดจากเส้นใยของราเห็ดที่แทงออกมาจากรากไม้ที่อยู่ด้านล่างที่มีลักษณะเป็นเส้นใยราเล็กๆ และเมื่อโผล่เหนือดินแล้วจึงสร้างตัวดอกเห็ดให้เห็น

เห็ดตับเต่าดำ
เห็ดตับเต่าดำ เป็นเห็ดขนาดใหญ่ที่นิยมรับประทานมากในทุกภาค ซึ่งมักพบตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ สวนป่า สวนยางพารา สวนผลไม้ หรือตามหัวไร่ปลายนาใต้ต้นไม้ โดยมักจะออกตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน

อนุกรมวิธาน
• kingdom: Fungi
• phylum: Basidiomycota
• class: Agaricomycotina
• order: Boletales
• family: Boletinellaceae
• genus: Phaeogyroporus
• species: Phaeogyroporus portentosus

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaeogyroporus portentosus
• ชื่อสามัญ : King bolete mushroom (Black)
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– เห็ดตับเต่าดำ
ภาคเหนือ
– เห็ดห้า
ภาคอีสาน
– เห็ดผึ้ง
– เห็ดเผิ่ง (เพี้ยนจากคำว่า ผึ้ง)

ที่มา 1) กล่าวถึงในเอกสารหลายฉบับ

ลักษณะทั่วไป
เห็ดตับเต่าดำ เป็นเห็ดที่มีผิวดอกด้านนอกสีดำหรือน้ำตาลอมดำ และมีขนละเอียดสีเทาดำปกคลุมผิวดอก ส่วนแผ่นสปอร์ด้านในมีสีเหลืองเข้ม ขอบดอกเห็ดบาง และอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ เนื้อเห็ดหนา ด้านล่างมีรูเป็นเหลี่ยมเกือบกลม สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ก้านดอกเห็ดมีรูกลวงตรงกลาง โคนดอกเห็ดอวบใหญ่ สีดำอมน้ำตาล ยาว 8-15 เซนติเมตร ส่วนขนาดอกเห็ดกว้าง 3-8 เซนติเมตร ส่วนสปอร์มีรูปทรงกลมถึงรี สีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ขนาดสปอร์ 4-4.5 x 8-10 ไมโครเมตร

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%b3

เห็ดตับเต่าขาว
เห็ดตับเต่าขาว เป็นเห็ดขนาดใหญ่คล้ายกับเห็ดตับเต่าดำ ซึ่งที่นิยมรับประทานมากในทุกภาคเช่นกัน แต่แหล่งที่พบส่วนมากจะตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าที่มีซากใบไม้ทับถมกันหนา ซึ่งต่างกับเห็ดตับเต่าดำที่พบได้ตามใต้ต้นไม้ในทุกที่ รวมทั้งสวนป่าหรือตามบ้านเรือน แต่จะออกดอกให้เห็นในช่วงเดียวกันคือออกตั้งแต่หลังช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน

อนุกรมวิธาน
• kingdom: Fungi
• phylum: Basidiomycota
• class: Hymenomycetes Agaricomycotina
• order: Agaricales
• family: Tricholomataceae
• genus: Tricoloma
• species: Tricoloma crassum

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tricoloma crissum (Berk.)
• ชื่อสามัญ : King bolete mushroom (Write)
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– เห็ดตับเต่าขาว
ภาคเหนือ
– เห็ดจั่น
ภาคอีสาน
– เห็ดตีนแฮด
– เห็ดใหญ่

ที่มา 2) กล่าวถึงในเอกสารหลายฉบับ

ลักษณะทั่วไป
เห็ดตับเต่าขาวมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเห็ดตับเต่าดำ แต่ดอกเห็ดจะมีสีขาวหม่นหรือขาวนวล ขนาดดอกประมาณ 3-8 เซนติเมตร ดอกเห็ดอ่อนมีขอบดอกม้วนงอเป็นรูปครึ่งวงกลม ก้านดอกค่อนข้างเรียว และมีโคนดอกเล็กกว่าเห็ดตับเต่าดำ แต่จะยาวกว่า ขนาดก้านดอกประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a7

ประโยชน์เห็ดตับเต่า/เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา
1. ใช้ประกอบอาหารรับประทาน
เห็ดตับเต่าทั้งดอกอ่อน และดอกแก่ เมื่อนำมาประกอบอาหารด้วยการต้มหรือแกงจะมีเนื้อนุ่ม และมีเมือกลื่น ทำให้เป็นที่นิยมรับประทานมาก ทั้งนี้ ดอกเห็ดอ่อนหรือดอกเห็ดขนาดเล็กจะมีเนื้อค่อนข้างแข็ง และเหนียวกว่าดอกเห็ดขนาดกลาง และใหญ่ ส่วนเมนูที่นิยมทำ ได้แก่ แกงเห็ดตับเต่า แกงอ่อมใส่เห็ดตับเต่า ซุปเห็ดตับเต่า และยำเห็ดตับเต่า เป็นต้น
2. ใช้เป็นสีย้อม
ดอกเห็ดตับเต่าดำ เมื่อต้มน้ำแล้วจะได้น้ำสีดำ ซึ่งสามารถใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดำได้ แต่ประโยชน์ในด้านนี้ ไม่เป็นที่ทำกัน เพราะเห็ดมีราคาแพง และให้ประโยชน์ในด้านอาหารมากกว่า แต่เห็ดชนิดอื่นที่เกิดจากเชื้อเดียวกันที่ให้ดอกเห็ดสีสดใส อาทิ สีเหลือง สีแดง สีชมพู ก็อาจนำมาย้อมผ้าบ้างในบางประเทศ
3. เพิ่มการเติบโตของพืช
เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาหรือเชื้อเห็ดตับเต่าช่วยเพิ่มการเติบโตของต้นพืช เนื่องจาก รากที่มีเชื้อเกาะจะมีการขยายใหญ่ขึ้น และเส้นใยของราเองยังทำหน้าที่เป็นรากฝอยที่คอยดูดน้ำหรือสารอาหารมาเก็บสะสมไว้ในเส้นใยที่รวมอยู่กับรากพืช
4. ป้องกันเชื้อราที่เป็นโรคพืช
เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาหรือเชื้อเห็ดตับเต่าทำหน้าที่ช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราชนิดอื่นที่อาจทำความเสียหายแก่รากพืชได้ เพราะเชื้อราเห็ดตับเต่าจะเติบโตล้อมรอบรากไว้ไม่ให้เชื้อราอื่นเติบโตในบริเวณโดยรอบได้
5. ช่วยให้ต้นไม้ทนต่อความเป็นพิษของดิน
เนื่องจากเชื้อเห็ดตับเต่าที่อยู่ล้อมรอบบริเวณรากจะหุ้มรากไว้ และช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินโดยรอบ และช่วยปรับปรุงคุณภาพดินที่เป็นพิษโดยรอบราก ทำให้สภาพดินเอื้อต่อการเติบโต และขยายตัวของรากได้ถึง
6. เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อม
เชื้อเห็ดตับเต่า หากพบเกิดบริเวณใด ถือว่าเป็นสิ่งชี้บ่งถึงสภาพแวดล้อมที่สะอาด โดยเฉพาะคุณภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน

สรรพคุณเห็ดตับเต่า
– บำรุงร่างกาย
– แก้หวัด
– บรรเทาอาการปวดข้อ

ที่มา : 3)

การเพาะเห็ดตับเต่า
1. การใช้เชื้อเปียก/เชื้อจากดอกเห็ด
วิธีนี้ เป็นวิธีที่นิยม และง่ายที่สุด ด้วยการนำดอกเห็ดตับเต่าที่แก่แล้วมาขยำผสมกับดินเหนียวหรือน้ำ หลังจากนั้น นำรากกล้าไม้หรือก้อนกล้าไม้มาคลุกกับดินที่ผสมแล้วหรือนำกล้าไม้มาจุ่มในน้ำที่ผสมเชื้อแล้ว นำไปปลูกลงดิน หากใช้น้ำให้ใช้ดอกเห็ด 1 ดอก กับน้ำ 20 ลิตร หากใช้ดิน ให้ใช้ดอกเห็ด 1 ดอก กับดินประมาณ 20 กิโลกรัม ด้วยการนำเห็ดมาคลุกผสมน้ำก่อน 2-5 ลิตร ก่อนฉีดพรมผสมกับดิน

สำหรับการใช้กับต้นไม้ใหญ่เพื่อเพาะให้เกิดดอกเห็ด ให้เลือกไม้ยืนต้นที่มีร่มเงาแล้ว และพื้นที่ควรเป็นดินเหนียว โดยหลังจากที่เตรียมเชื้อในน้ำหรือคลุกกับดินแล้ว ให้ขุดถากหน้าดินบริเวณรอบโคนต้นไม้ให้เห็นถึงรากไม้ ก่อนจะใช้น้ำผสมเชื้อเทราดรอบโคนต้น ส่วนการใช้ดินผสมให้หว่านดินที่ผสมเชื้อรอบๆโคนต้น ก่อนจะเกลี่ยดินกลบรากไว้ตามเดิม

นอกจากการใส่เชื้อเห็ดตามรากไม้ยืนต้นแล้ว ยังสามารถเพาะโดยใช้แนวทางอื่นๆได้เช่นกัน ได้แก่
การราดเชื้อในสวนพืชผัก อาทิ ใช้ดอกเห็ดมาขยำในน้ำ ก่อนนำรดในแปลงโสน หรือ ปอเทือง เป็นต้น ซึ่งหลังการราดเชื้อแล้ว ควรรดน้ำเป็นประจำ วันละ 1 ครั้ง

%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2

2. การใช้เชื้อจากดิน
วิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะมีโอกาสเกิดเชื้อเห็ดน้อย เพราะดินที่นำมาใช้อาจไม่มีเชื้อเหลืออยู่หรือเหลือน้อยมากจนมีเชื้ออื่นเติบโตแทน

วิธีนี้ทำได้ด้วยการนำดินบริเวณที่เคยมีเห็ดตับเต่าเติบโตมาหมักผสมกับขี้เลื่อยประมาณ 1 เดือน ก่อนจะนำไปคลุกกับดินบริเวณรากไม้ยืนต้นหรือหว่านโรยในแปลงพืชล้มลุก ก่อนการปลูก

เพิ่มเติมจาก : 4)

เอกสารอ้างอิง
untitled