เกาลัด ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกเกาลัด

Last Updated on 10 มีนาคม 2020 by puechkaset

เกาลัด (Chestnut) เป็นไม้ยืนต้นที่นิยมนำเมล็ดมาคั่วรับประทาน เนื่องจากเมล็ดมีเนื้อเมล็ดขนาดใหญ่ เมื่อคั่วสุกจะมีสีเหลืองนวล มีรสมัน หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม จึงเป็นที่นิยมรับประทานมากของคนเอเชีย

• ตระกูล : Fagaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanea spp.
• ชื่อสามัญ : Chestnut
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– เกาลัด
ภาคใต้
– หงอนไก่ใบใหญ่
• จีน : เท็งท้อ (Theng-tho)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
เกาลัด เป็นพืชที่พบได้ในหลายประเทศ ทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ซึ่งแตกต่างกันหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบปลูก และนิยมนำเมล็ดมารับประทานมาก คือ เกาลัดจีน ซึ่งพบปลูกมาในแถบประเทศจีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
เกาลัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงได้มากกว่า 20 เมตร เปลือกมีสีดำหรือน้ำตาลอมดำ และปริแตกเป็นร่องลึกในแนวตั้งตามยาวลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนหรือปลายกิ่งมีขนสีเทานุ่มปกคลุม

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%941
ต้นเกาลัดจีน

ใบ
เกาลัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ออกใบเดี่ยวเยื้องสลับกันตามปลายกิ่ง ใบเกาลัดมีลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ อาทิ เกาลัดจีนเป็นรูปหอก ก้านใบเรียว ยาวประมาณ 1.0-2.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นหูใบ มีรูปหอก ปลายแหลม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ส่วนแผ่นใบกว้างประมาณ 3.5-7.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา และแข็งกระด้าง ขอบใบหยัก และมีติ่งหนาม แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวนวล และมีขนสั้นปกคลุม แผ่นใบมีเส้นกลางใบสีขาวอมเขียวชัดเจน และมีแขนงใบข้างละ 10-21 เส้น

ดอก
เกาลัดทุกสายพันธุ์ออกดอกเป็นช่อ แต่ละชนิดมีลักษณะดอกแตกต่างกัน อาทิ เกาลัดจีนมีดอกออกเป็นช่อยาว จำนวนหลายช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร บนช่อประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก โดยกลางช่อดอกถึงปลายช่อดอกจะเป็นดอกเพศผู้ ตัวดอกมีกลีบเลี้ยง 6 แฉก ไม่มีกลีบดอก ด้านในเป็นเกสรสีน้ำตาลอมเหลือง 10-12 อัน ส่วนโคนช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย ตัวดอกมีเกล็ดแข็งหุ้มกลีบเลี้ยงมี 6 แฉก ไม่มีกลีบดอก ส่วนด้านในเป็นรังไข่ มี 4-6 ช่อง

Castanea dentata

ผล และเมล็ด
ผลเกาลัดออกรวมกันเป็นช่อ แต่ละช่อมีผลประมาณ 2-5 ผล กลุ่ม ผลมีรูปกลม และค่อนข้างแบน ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลสุกมีสีแดงหรือสีแสด เปลือกผลมีทั้งชนิดเรียบ และชนิดที่มีหนาม ซึ่งอาจเป็นหนามห่างๆหรือเป็นขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ขนาดเล็กปกคลุม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขนาดผลประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อผลแก่ ผลจะปริแตกออกด้านข้าง ด้านในผลมีเมล็ด 1-3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะทรงกลม หรือกลมแบนเล็กน้อย เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำหรือสีดำ เปลือกค่อนข้างหนา และแข็ง ขนาดเมล็ดประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ด้านในเมล็ดเป็นเนื้อเมล็ดสีขาวอมเหลือง เนื้อเมล็ดเมื่อถูกความร้อนจะเป็นสีเหลืองนวลหรือเหลืองเข้ม มีรสหวานมัน และมีกลิ่นหอม นิยมนำมาคั่วไฟรับประทาน ทั้งนี้ เกาลัดจะติดผลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน-เมษายน

พันธุ์เกาลัดที่นิยมปลูก
1. เกาลัดจีน (Chinese chestnut) Castanea mollissima Blume
เกาลัดจีน เป็นเกาลัดที่นิยมรับประทานมากในแถบประเทศเอเชีย รวมถึงประเทศไทย เพราะมีเมล็ดขนาดใหญ่ เนื้อเมล็ดมาก เนื้อแน่น หอม และหวานเล็กน้อย ซึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ ที่ชอบอากาศค่อนข้างเย็น ไม่หนาวมาก สามารถปลูกได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะแถบภาคเหนือ

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%941
ผลเกาลัดจีน
ผลแก่เกาลัดจีน

2. เกาลัดญี่ปุ่น (Japanese chestnut) Castanea crenata Sieb & Zucc.
เกาลัดญี่ปุ่น เป็นเกาลัดอีกชนิดของเอเชียที่มีลักษณะเมล็ดคล้ายกับเกาลัดจีน แต่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นมากกว่าเกาลัดจีน พบปลูกมากบริเวณแถบพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ทั้งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และจีน

3. เกาลัดยุโรป (European chestnut) Castanea sativa Mill
เกาลัดยุโรป เป็นเกาลัดที่มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศยุโรป พบปลูกมากในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน และประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอื่นๆ เป็นพันธุ์ที่ต้องการอากาศหนาวเย็นมากกว่าพันธุ์ในเอเชีย มีรสชาติค่อนข้างหวานกว่าพันธุ์อื่นๆ จึง เรียกว่า Sweet Chestnut

4. เกาลัดอเมริกา (American Chestnut) Castanea dentata Borkh.
เกาลัดอเมริกา เป็นเกาลัดที่เติบโต และต้องการอากาศหนาวเย็นสูง พบปลูกมากในประเทศอเมริกา โซนหนาว

5. เกาลัดลูกผสม (Castanea hybrid)
เกาลัดลูกผสม เป็นเกาลัดที่เกิดจากการนำเกาลัดสายพันธุ์ต่างๆมาผสมกัน อาทิ ในสหรัฐอเมริกาได้นำเกาลัดจีนเข้ามาปลูก และผสมข้ามสายพันธุ์กับเกาลัดอเมริกา หรือปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่ของประเทศตนเอง

เกาลัดสายพันธุ์อื่นๆ

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94

%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2

ที่มา : (1)

ประโยชน์เกาลัด
1. เมล็ดเกาลัดมีเนื้อเมล็ดขนาดใหญ่ เมื่อนำมาคั่วจะมีสีเหลืองนวล มีรสหวานมัน และมีกลิ่นหอม จึงนิยมปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วรับประทาน
2. ต้นเกาลัดใช้ปลูกเป็นไม้ประดับดอก เนื่องจาก ผลมีสีแดงสดสวยงาม
3. เมล็ดเกาลัดนอกจากใช้รับประทนเป็นอาหารแล้ว ยังนำมาสกัดหรือบดเป็นแป้งสำหรับใช้ทำขนมหวาน
4. เมล็ดเกาลัดใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
5. เปลือกผลนำมาต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีแสดหรือสีแดงอมส้ม
6. เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างหรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์

%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94

%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94

คุณค่าทางโภชนาการเมล็ดเกาลัด (เนื้อเมล็ดคั่วสุก 100 กรัม)

Proximates
น้ำ กรัม 8.90
พลังงาน กิโลแคลอรี่ 363
โปรตีน กรัม 6.82
ไขมัน กรัม 1.81
คาร์โบไฮเดรต กรัม 79.76
Minerals
แคลเซียม มิลลิกรัม 29
เหล็ก มิลลิกรัม 2.29
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 137
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 155
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 726
โซเดียม มิลลิกรัม 5
สังกะสี มิลลิกรัม 1.41
Vitamins
วิตามิน C มิลลิกรัม 58.5
ไทอะมีน มิลลิกรัม 0.260
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.293
ไนอะซีน มิลลิกรัม 1.300
วิตามิน B-6 มิลลิกรัม 0.666
โฟเลต ไมโครกรัม 110
วิตามิน B-12 ไมโครกรัม 0.00
วิตามิน A, RAE ไมโครกรัม 16
วิตามิน A, IU IU 328
วิตามิน D (D2 + D3) ไมโครกรัม 0.0
วิตามิน K ไมโครกรัม 34.1
Lipids
กรดไขมันอิ่มตัวทั้งหมด กรัม 0.266
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดสายเดี่ยวทั้งหมด กรัม 0.945
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดหลายสายทั้งหมด กรัม 0.489
คอลเลสเตอรอล มิลลิกรัม 0

 

ที่มา : USDA Nutrient Database

สรรพคุณเกาลัด
– ช่วยบำรุงร่างกาย
– ช่วยบำรุงไต
– ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ
– ช่วยบำรุงม้าม
– แก้โรคกระเพาะอาหาร
– ช่วยขับลม
– บรรเทาอาการไอ
– ช่วยละลายเสมหะ
– บรรเทาอาการอาเจียน คลื่นไส้
– ช่วยห้ามเลือด
– กระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด
– บรรเทาอาการถ่ายเป็นเลือด
– แก้เลือดกำเดาไหล

ที่มา : (2) อ้างถึงในไทยรัฐออนไลน์

การปลูกเกาลัด
เกาลัด ที่ปลูกในประเทศไทยส่วนมากจะนำเข้ามาจากประเทศจีน พบปลูกมากในแถบจังหวัดทางภาคเหนือบนภูเขาสูง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และลำปาง ซึ่งสามารถปลูกได้ด้วยต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ด และต้นพันธุ์จากวิธีอื่น อาทิ การตอนกิ่ง และการเสียบยอด

ขอบคุณภาพจาก tr.victarbio.com/, smileconsumer.com/, http://treepicturesonline.com/, facstaff.cbu.edu/, pixabay.com/, mcot.net/, www.bloggang.com, balllnw.com/health.html

เอกสารอ้างอิง
(1) เสริมสกุล พจนการุณ และเชวง แก้วรักษ์, 2546, การเปรียบเทียบพันธุ์เกาลัดจีนสายพันธุ์คัดเลือก-
(Castanea mollossima L.) : การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต-
และลักษณะสัณฐานวิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ปีที่ 2, ฉบับที่ 1.
(2) กสานติ์ หาญชนะ, 2558, การขยายพันธุ์เกาลัดจีน (Castanea mollissima Blume) และ-
มะตูม (Aegle marmelos (L.) Corrêa) ในหลอดทดลอง, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.