สาลี่ และสรรพคุณสาลี่

Last Updated on 17 พฤศจิกายน 2017 by puechkaset

สาลี่ (Chinese pear) เป็นผลไม้เมืองหนาว แต่สามารถปลูกได้ในเมืองไทยในบางพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือ เช่น เชียงราย และเชียงใหม่ โดยสาลี่ที่พบในตลาดบ้านเราจะเป็นสาลี่เอเชียเป็นหลัก ส่วนสาลี่ยุโรปไม่เป็นที่นิยม แต่สาลียุโรปจัดเป็นสาลี่ที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

อนุกรมวิธาน
• Oeder : Rosales
• Family : Rosaceae
• Genus : Pyrus

• ชื่อสามัญ :
– Asian pear
– Chinese pear
• ชื่อท้องถิ่นไทย : สาลี

พันธุ์สาลีในโลก มีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ ในแอฟริกาเหนือ 3 สายพันธุ์ ในยุโรป 10 สายพันธุ์ และ 10 สายพันธุ์ พบในเอเชียตะวันออก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. สาลี่ฝรั่งหรือสาลี่ยุโรป (European pear) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrus communis L. จัดเป็นกลุ่มพันธุ์สาลี่ที่นิยมมากทั่วโลก
2. สาลี่เอเชีย (Asean pear หรือ Oriental pear) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrus pyriforia Nakia แบ่งเป็นสาลี่จีน และสาลี่ญี่ปุ่น จัดเป็นสาลีที่นิยมเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย

Asian-Pear
*******************สาลี่เอเชีย

 

สาลี่ยุโรป
**************สาลี่ยุโรป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น
สาลี่ เป็นไม้ยืนต้นที่มีชนิดส่วนมากเป็นพืชแบบพลัดใบ มีลักษณะลำต้นสูงชลูด รูปทรงพุ่มคล้ายต้นสนหรือเป็นรูปปิรามิด ลำต้นอาจสูงได้มากกว่า 15 เมตร

2. ใบ
ใบสาลี่มีหลายแบบ ทั้งมีรูปร่างทรงกลม รูปไข่ และรูปใบโพธิ์ ใบมีลักษณะสีเขียวเข้ม

3. ดอก
ดอกสาลี่ ออกเป็นช่อสีขาว แทงออกบริเวณปลายกิ่ง

pear

4. ผล
ผลสาลี่เป็นแบบ pome ที่พัฒนามาจากรังไข่ มีลักษณะผลหลายแบบ อาทิ ผลทรงกลม ผลรูปไข่ ผลรูประฆัง สีของผลมีหลายสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว สีเขียวอมเหลือง และสีน้ำตาล

การปลูกสาลี่ในประเทศไทย
การทดลองปลูกสาลี่ในประเทศไทย เริ่มมีการทดลองปลูกในปี พ.ศ. 2508 ที่นำเข้าพันธุ์สาลี่มาจากต่างประเทศ เช่น ทางยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศในเอเชีย ซึ่งในระยะแรกพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ Pathanak, Pien Pu, Yokoyama Wase, Xiang Sui และSung Mao แต่พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตไม่ดี ได้แก่ Pathanak, Pien Pu และSung Mao และต่อมามีการนำพันธุ์สาลีจากประเทศไต้หวันที่เป็นพันธุ์ผสม 3 พันธุ์ ได้แก่ SH 078, SH 085 และ SH 029 เข้ามาทดลองปลูกบนสถานีเกษตรอ่างขาง โดยพบว่าสามารถออกดอก และติดผลดก และผลมีคุณภาพดี หลังจากนั้นจึงได้นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

พันธุ์สาลี่ในประเทศไทยที่มีการปลูก
1. พันธุ์ Pathanak
พันธุ์ Pathanak เป็นสาลี่เอเชีย มีลักษณะผลสีเขียวอมเหลือง มีเนื้อค่อนข้างแข็ง และมีกากมาก ผลสุกจะมีกลิ่นหอมมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ไม่นิยมรับประทานสุกมากนัก แต่นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น มีอายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน ประมาณ 20 สัปดาห์

2. พันธุ์ Pien Pu
ผลมีลักษณะรูปทรงระฆัง ผลมีสีเขียวอมเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน อายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน ประมาณ 20 สัปดาห์

3. พันธุ์ Sung Mao
ผลมีสีเขียวอมเหลือง เป็นพันธุ์ที่ต้องการอากาศหนาวมากกว่าพันธุ์อื่น มีอายุการเก็บเกี่ยวเร็วที่ประมาณ 18 สัปดาห์ หลังดอกบาน

4. พันธุ์ Yokoyama Wase
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมาก มีลักษณะทรงพุ่มใหญ่ มีความทนต่อโรคและแมลงได้ดี ดูแลง่าย ต้องการอากาศเย็นน้อยกว่าพันธุ์อื่น สามารถปลูกได้ดีที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ให้ผลมีสีน้ำตาล ผลมีลักษณะกลม เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองทองน่ารับประทาน อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 25 สัปดาห์ หลังดอกบาน ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน

5. พันธุ์ Xiang Sui
เป็นพันธุ์ที่ปลูกน้อยมาก เนื่องจากมีความต้านทานโรค และแมลงน้อย และต้องการอากาศเย็นมากกว่าพันธุ์ พันธุ์ Yokoyama Wase สามารถปลูกได้ดีที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป ให้ผลมีขนาดใหญ่ ทรงระฆัง มีสีเขียวอมเหลือง มีก้นผลค่อนข้างลึก มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 21 สัปดาห์ หลังดอกบาน ในช่วงเดือนสิงหาคม

6. พันธุ์ SH 078
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลขนาดกลาง ผลมีสีน้ำตาลอ่อน น้ำหนักผลประมาณ 260 กรัม ให้กลิ่นหอม มีรสหวาน มีเนื้อกรอบ ไม่มีกากหรือเมล็ดทราย เมล็ดมีสีน้ำตาลขาว

7. พันธุ์ SH 085
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลขนาดกลาง ผลมีสีน้ำตาลอ่อน น้ำหนักผลประมาณ 215 กรัม ให้กลิ่นหอมมาก มีรสหวาน มีเนื้อกรอบ ไม่มีกากหรือเมล็ดทราย เมล็ดมีสีน้ำตาลขาว

8. พันธุ์ SH 029
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลขนาดกลาง ผลมีสีเขียวอมเหลือง น้ำหนักผลประมาณ 210 กรัม ให้กลิ่นหอม มีรสหวาน มีเนื้อกรอบ มีกากหรือเมล็ดทรายน้อย เมล็ดมีสีน้ำตาลขาว

คุณค่าทางโภชนาการ
ในสาลี่ 100 กรัม ประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ (Gast and Aramouni, 1993)(1)
• น้ำ 82.70%
• พลังงาน 264.60 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน 0.70 กรัม
• ไขมัน 0.40 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 15.80 กรัม
• เยื่อใย 1.40 กรัม
• เถ้า 0.40 กรัม
• แคลเซียม 13.00 มิลลิกรัม
• ฟอสฟอรัส 16.00 มิลลิกรัม
• เหล็ก 0.30 มิลลิกรัม
• ไทอามีน 0.02 มิลลิกรัม
• ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
• กรดแอสคอร์บิค 4.00 มิลลิกรัม

สรรพคุณสาลี่
สาลี เป็นผลไม้ที่มีกรดเอสคอร์บิก (วิตามิน ซี) สูง มีสรรพคุณทางยา ดังนี้
• ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย
• ช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้างคอลาเจน กระดูก และฟัน
• ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์
• ทำหน้าที่ช่วยทำลายสารพิษต่างๆที่ร่างกายได้รับ
• ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
• ป้องกันโรคลักปิดลักเปิดในอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
• ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้าง และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย
• ช่วยป้องกัน และรักษาโรคหวัด
• เป็นผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง ทำให้เป็นแหล่งแคลเซียมเสริมแก่ร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะการเสริมสร้างกระดูก และฟัน
• เป็นผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดจาง และช่วยให้เลือดนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น

การเก็บผลสาลี่
ผลสาลี่ในแต่ละพันธุ์มีอายุการเก็บผลที่แตกต่างกัน แต่มีข้อสังเกตถึงอายุที่เหมาะสำหรับการเก็บ ดังนี้
• สาลีพันธุ์ยุโรปจะเกี่ยวผลในขณะที่ผลยังแข็ง มีสีเขียว
• ใช้วิธีสังเกตจากสีของผล สาลี่ส่วนมากเมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวจะมีสีเหลืองออกน้ำตาล
• ใช้การนับจำนวนวันตามสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้น
• ใช้ดัชนีความหนาแน่นของเนื้อ เช่น พันธุ์ Howell ในช่วง 7.7-6.8 กิโลกรัม เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

1