มันมือเสือ สรรพคุณ และการปลูกมันมือเสือ

Last Updated on 3 พฤศจิกายน 2016 by puechkaset

มันมือเสือ ถือเป็นมันท้องถิ่นที่พบได้ในทุกภาค ซึ่งนิยมนำหัวมาทำขนมหวานหรือประกอบอาหาร เพราะหัวมีขนาดใหญ่ ให้เนื้อแป้งมาก หัวมีรสมันอมหวาน ใช้ทำได้ทั้งขนมหวาน และอาหารคาว อาทิ แกงส้ม แกงจืด และบวชมันมือเสือ เป็นต้น

• วงศ์ : DIOSCOREACEAE
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dioscorea esculenta (Lour.) Burkill).
• ชื่อสามัญ :
– Lesser Yam
– Spring Yam
• ชื่อท้องถิ่น :
– มันมือเสือ
– มันตะพาบ
– มันอ้อน
– มันมุ้ง
– มันจ้วก
– มันงู
– มันหลวง
– มันแข้งช้าง
– มันเขาวัว
– มันจาวมะพร้าว
– มันมือหมี
– มันตีนช้าง
– มันเลือดไก่ (มันมือเสือสีม่วง)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มันมือเสือ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนชื้น ทั้งในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ทั้งตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ รวมถึงพบได้ตามบ้านเรือนที่นิยมปลูกไว้สำหรับรับประทาน

พันธุ์มันมือเสือ แบ่งตามสีหัว
1. พันธุ์สีม่วง พันธุ์นี้มีเนื้อด้านในสีขาวประม่วง

มันมือเสือหัวม่วง

2. พันธุ์หัวสีน้ำตาลอมเหลือง พันธ์นี้มีเนื้อด้านในสีขาว

%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87
มันมือเสือหัวเหลือง/เนื้อสีขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ลำต้นมันมือเสือสีม่วงมีลักษณะเป็นเถาเลื้อย เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยม สำหรับมันมือเสือสีม่วงจะมีปลายเถาเป็นสีม่วงอมแดง เถาขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เลื้อยยาวได้มากถึง 15 เมตร เถาไม่มีหนาม ส่วนรากเป็นระบบรากฝอยตื้นๆ และมีรากอากาศบริเวณข้อโคนลำต้น ไม่มีรากแก้ว แต่มีโคนรากที่ขยายใหญ่ เรียกว่า หัว

มันมือเสือสีน้ำตาลมีลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยเช่นกัน แต่เถาจะมีขนาดเล็กกว่า และเถาสั้นกว่ามันมือเสือสีม่วง และเถามีหนามแหลมคมปกคลุม ส่วนระบบราก และหัวจะคล้ายกันกับมันมือเสือสีม่วง

หัวมันมือเสือ มีหลายสีตามชนิดพันธุ์ คือ พันธุ์สีน้ำตาล และพันธุ์สีม่วง แต่ละพันธุ์จะมีลักษณะหัวคล้ายกัน คือ หัวมีลักษณะแบน ขนาดใหญ่ คล้ายอุ้งมือเสือ หัวขยายออกด้านข้างในทิศใดทิศหนึ่ง โดยขอบหัวเว้าแว่งเป็นซีก 2-5 ซีก ที่แลดูคล้ายนิ้วมือ ส่วนเนื้อหัวด้านในมีหลายสีตามสายพันธุ์ พันธุ์สีน้ำตาลมีเนื้อหัวสีน้ำตาล ซึ่งเนื้อจะมีสีเนื้อขาว พันธุ์สีม่วงมีเนื้อหัวสีขาวอมม่วงหรือเรียก พันธุ์สีม่วง

ใบ
ใบมันมือเสือออกเป็นใบเดี่ยวตามข้อเถา ใบมันมือเสือสีม่วงจะมีขนาดใหญ่ และยาวกว่ามันมือเสือหัวน้ำตาลหรือเนื้อขาว ซึ่งมีข้อแตกต่าง หรือเหมือนกัน ดังนี้
– ใบมันมือเสือสีม่วงมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจยาว โคนใบมนกว้าง และเว้าตรงกลางใบ ปลายใบเรียวแหลม ส่วนใบมือเสือหัวสีน้ำตาลมีลักษณะใบแบบรูปหัวใจ โคนใบกว้าง และเว้าตรงกลาง แต่ปลายใบสมส่วนไม่เรียวยาว
– จำนวนเส้นใบของใบมือเสือสีม่วงมีน้อยกว่า ส่วนเส้นใบมันมือเสือสีน้ำตาล/เนื้อขาวมีมากกว่า
– แผ่นใบ และขอบใบเรียบเหมือนกัน แต่ใบมันมือเสือหัวน้ำตาลจะมีแผ่นใบนูนเด่นตามร่องเส้นใบเด่นชัดกว่า
– ขนาดลำต้นของมันมือเสือสีม่วงจะใหญ่กว่ามันมือเสือหัวน้ำตาล โดยยอด และใบส่วนยอดของมันมือเสือสีม่วงจะมีสีม่วงอมแดง ส่วนมันมือเสือหัวน้ำตาลจะเป็นสีเขียวอ่อน
– ความยาวของเถามันมือสีม่วงจะยาวกว่ามันมือเสือสีน้ำตาล

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87
ยอดมันมือเสือหัวม่วง
%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87
ใบมันมือเสือหัวเหลือง/เนื้อสีขาว

ดอก
ดอกทั้งสองพันธุ์ออกดอกเป็นช่อตามชอกใบบนเถา จำนวนดอกน้อย 2-5 ดอก โดยแยกดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียออกคนละดอก แต่อยู่ในเถาเดียวกัน และจะติดผลเพียง 1-3 ผล เท่านั้น แต่ส่วนมากมักพบติดผลเพียง 1 ผล

ผล
ผลมันมือเสือติดผลน้อย แต่พบติดผลได้ในทุกต้น ประมาณ 2-5 ผล/เถา ผลอ่อนมีลักษณะทรงกลม ผลแก่มีรูปไข่รียาวหรือเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ขึ้น เปลือกผลมีสีเทา ผิวเป็นขรุขระ เนื้อด้านในมีสีเดียวกันกับเนื้อหัว คือ เป็นสีม่วงอมขาหรือเป็นสีขาวตามสายพันธุ์ ทั้งนี้ สามารถนำผลมาปลูกเป็นต้นใหม่ได้เช่นกัน

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87
ผลมันมือเสือหัวม่วง

ประโยชน์ของมันมือเสือ
1. มันมือเสือนิยมใช้ทำขนมหวาน อาทิ บวชมันมือเสือ หรือใช้เป็นส่วนประผสมของขนมหมก
2. มันมือเสือใช้ทำอาหารคาว อาทิ แกงส้ม ต้มจืด และมัสมั่น เป็นต้น
3. มันมือเสือนำมาหั่นเป็นแผ่นบางๆ ก่อนทอดน้ำมันร้อน และปรุงรสคล้ายมันฝรั่ง
4. มันมือเสือนำมาสกัดแป้งหรือง่ายๆด้วยการหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาตากแห้ง ก่อนบดเป็นผงแป้งสำหรับใช้ทำขนมหวานต่างๆ
5. ใบใช้ต้ม ก่อนนำมาฉีดพ่นในแปลงผักสำหรับป้องกันหนอนหรือแมลงกัดกิน

%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad

คุณค่าทางโภชนาการ
– โปรตีน : 0.14%
– ไขมัน : 0.3%
– เถ้า : 0.16%
– ฟอสฟอรัส : 77.56 ppm
– อะไมเลส : 18.89%

ที่มา : 1)

สรรพคุณมันมือเสือ
หัว และผลมันมือเสือ
– ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย
– ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
– หัวนำมาบดใช้พอกรักษาอาการบวมช้ำ

การปลูกมันมือเสือ
มันมือเสือนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งมันชนิดนี้เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย แต่หากปลูกในดินเหนียวที่หน้าดินแน่นมากมักมีหัวขนาดเล็ก เพราะการขยายตัวของหัวมีจำกัด

มันมือเสือ ส่วนมากนิยมปลูกด้วยหัว แต่สามารถปลูกได้ด้วยวิธีอื่น อาทิ การปักชำเถา และปลูกด้วยผล
1. การปลูกด้วยหัว
การปลูกด้วยหัวจะต้องใช้หัวแก่ที่เก็บเกี่ยวในช่วงปลายฝนถึงฤดูแล้ง และควรพักหัวไว้ประมาณ 3 เดือน หรือรอให้หัวแทงยอดอ่อนก่อน ทั้งนี้ หัวมันมือเสือไม่สามารถแบ่งหัวปลูกได้เหมือนหัวมันบางชนิด ดังนั้น หัวมันมือเสือที่ปลูกควรเลือกหัวขนาดเล็กมาปลูกจะคุ้มค่ากว่า

2. การปลูกด้วยผล
การปลูกด้วยผลเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมรองมาจากการปลูกด้วยหัว ด้วยการเก็บผลจากเถาที่แห้งแล้วมาพักไว้ประมาณ 3 เดือน ก่อนจะนำลงปลูกเป็นจุดๆ

3. การปักชำเถา
การปักชำเถาสามารถทำได้เช่นกัน แต่ไม่ค่อยนิยมสำหรับการปลูกเพียงไม่กี่ต้น เพราะการตัดเถายังทำให้หัวใต้ดินเติบโตชะงักทำให้ขนาดหัวไม่ใหญ่ที่ควรเป็น แต่หากต้องการขายายพันธุ์เพื่อปลูกจำนวนมากจะสามรถใช้วิธีนี้ได้ผลกว่าวิธีอื่น ทั้งนี้ เถาสำหรับการปักชำ ควรเป็นเถาสีน้ำตาลอมดำ ด้วยการตัดแบ่งเถายาว 15-25 เซนติเมตร โดยให้เถามีข้อปล้อง 2-3 ข้อ ก่อนนำปักลงแปลง หรือเพาะในถุงเพาะชำก่อน ทั้งนี้ วิธีนี้ จะให้หัวในปีแรกค่อนข้างเล็ก

การทำค้าง
การทำค้างถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมันมือเสือ เพราะมันชนิดนี้มีเถาเลื้อยยาว จำเป็นต้องมีค้างให้เถาพาดเลื้อย ทั้งนี้ ค้างเตรียมได้ด้วยวิธีง่าย เช่น ปลายไม้ไผ่ที่ไม่ตัดกิ่ง ก่อนนำมาปักใกล้กับโคนต้น 2-4 อัน หรือ หากปลูกมากอาจทำค้างด้วยการปักหลัก และขึงด้วยลวด

การเก็บหัวมันมือเสือ
มันมือเสือมีอายุการเติบโตในช่วงฤดูกาลเดียว ซึ่งลำต้นและใบจะเหี่ยวแห้งในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่พร้อมเก็บผลผลิต และสามารถเก็บได้ตั้งแต่ปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว

%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87

ขอบคุณภาพจาก : pantip.com

เอกสารอ้างอิง
3