มะเดื่อ/มะเดื่อฝรั่ง (Fig) ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกมะเดื่อฝรั่ง

Last Updated on 10 มีนาคม 2020 by puechkaset

มะเดื่อ (Fig) จัดเป็นไม้ป่าที่นิยมนำผลมารับประทานทั้งผลสด และผลตากแห้ง โดยเฉพาะมะเดื่อฝรั่ง ที่มีผลขนาดใหญ่ เนื้อผลมีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม จนเป็นที่นิยมรับประทานกันทั่วโลก ปัจจุบัน กลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่นิยมปลูก และรับประทานมาก

Ficus เป็นภาษาติน แต่มีความหมายเหมือนกันกับคำอื่นที่ใช้เป็นชื่อเรียกในหลายประเทศ ได้แก่
– fag ในภาษาอินเดีย
– feg ในภาษาฮีบรู
– fico ในภาษาอิตาเลียน
– fegge หรือ figge ในภาษาอังกฤษ

ต่อมาคำว่า Ficus ได้ถูกเรียกย่อให้เป็น fig จนเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : (3))

มะเดื่อ เป็นพืชสกุลเดียวกับไทร และโพธิ์ คือ สกุล Ficus และวงศ์ Moraceae ที่มีมากกว่า 1,000 ชนิดทั่วโลก มีถิ่นกำเนิด และแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนในทุกทวีป แต่พบมากในแถบประเทศเอเชีย โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างไม้สกุลนี้ ได้แก่
1. มะเดื่อฝรั่ง (พันธุ์จากต่างประเทศที่นิยมปลูกรับประทานผลมากที่สุด)
2. มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida Linn. f.)
3. มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa Linn.)
4. มะเดื่อขน (F. hirta Nahl)
5. ตีนตุ๊กแก (F. pumila Linn.)
6. ยางอินเดีย (F. elastica Roxb.)
– ฯลฯ

มะเดื่อฝรั่ง
• วงศ์ : Moraceae (วงศ์เดียวกับหม่อน)
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus carica L.
• ชื่อสามัญ : Fig
• ชื่อท้องถิ่น : มะเดื่อฝรั่ง, มะเดื่อเทศ

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะเดื่อฝรั่งไม้ผลกึ่งร้อน (Subtropical fruit) ผลัดใบ ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศทวีปเอเชียตะวันตก และบริเวณทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ที่มา : (1) )

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะเดื่อฝรั่ง เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นแตกกิ่งมากเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล และมียางสีขาว ส่วนแก่นไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่นิยมใช้ในการก่อสร้างหรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

ใบ
มะเดื่อฝรั่ง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกใบออกเดี่ยว เรียงสลับกันตามปลายกิ่ง มะเดื่อออกเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวมีความกว้าง 20-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา และค่อนข้างแข็ง แผ่นใบขรุขระสากมือ แผ่นใบด้านล่างมีขนปกคลุม ส่วนขอบใบหยักลึก 3-7 หยัก

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87

ดอก
มะเดื่อฝรั่งมีดอกคล้ายผล ที่ทำให้มองเห็นเป็นดอกเดี่ยว แต่แท้จริงคือดอกรวมที่เจริญจากส่วนของก้านช่อดอกบริเวณฐานรองดอกพัฒนามาหุ้มดอกไว้ ด้านบนดอกมีช่องเปิด ภายในดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

ผล และเมล็ด
ผลมะเดื่อ ออกเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะเกือบทรงกลม ขั้วผลสอบแคบ ซึ่งไม่ใช่ผลจริง เพราะเป็นผลที่ไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร แต่เป็นผลที่พัฒนามาจากฐานรองดอกที่เป็นก้านช่อดอกโค้งเข้าหากัน แต่ก็มีมะเดื่อฝรั่งชนิดผลจริงที่เกิดจากการผสมเกสร ดังนั้น ผลที่เราเห็นก็คือส่วนของก้านช่อดอกที่มีลักษณะพองใหญ่ห่อหุ้มผลด้านในไว้ เพราะผลจริงคือเมล็ดที่มีขนาดเล็กอยู่ด้านใน โดยในแต่ละผลจะมีเมล็ดประมาณ 1000-1,500 เมล็ดต่อผล

ผลด้านนอกหรือผลเทียมมีลักษณะเป็นเปลือกหุ้มหนาหรือบางขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เปลือกผลมีลักษณะอ่อนนุ่ม ด้านในผลกลวง ซึ่งมีเมล็ดขนาดเล็กแทรกอยู่จำนวนมาก เนื้อผลมีรสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทาน

ชนิดของมะเดื่อฝรั่ง
1. Adriatic fig
Adriatic fig เป็นมะเดื่อฝรั่งที่เป็นผลเทียมอันพัฒนามาจากก้านช่อดอก เมล็ดมีแต่ endocarp เท่านั้น และไม่มีคัพภะ เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า และนิยมรับประทานในปัจจุบัน สายพันทางการค้าที่พบปลูกมาก ได้แก่
– Brown Turkey
– Burnswick
– Kadota
– Mission
– Black Genoa
– White Adriatic
– White Marseilles
– Dauphine

2. Smyrna fig
Smyrna fig เป็นมะเดื่อฝรั่งชนิดผลจริง คือ ผลเกิดจากการผสมเกสร มะเดื่อชนิดนี้ พบได้น้อย เพราะไม่ค่อยติดผลให้เห็น และหากไม่มีการผสมเกสร ดอกมะเดื่อฝรั่งจะร่วงจนหมด

ประโยชน์มะเดื่อ/มะเดื่อฝรั่ง
1. ผลมะเดื่อฝรั่งมีขนาดใหญ่ เนื้อผลมีรสหวานอมเปรี้ยว นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ส่วนมะเดื่อชนิดอื่นที่นิยมรับประทานเช่นกัน อาทิ มะเดื่อปล้องหิน มะเดื่ออุทุมพร และมะเดื่อขน เป็นต้น
2. ผลมะเดื่อนำมาปั่นเป็นน้ำผลไม้ดื่ม
3. ผลมะเดื่อใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ มะเดื่ออบแห้ง มะเดื่อบรรจุกระป๋อง ไวน์ และแยม เป็นต้น
4. ยางจากลำต้นใช้ทำผลิตภัณฑ์ยาง อาทิ ต้นยางอินเดีย แต่มีคุณภาพน้อยกว่าต้นยางพารา
5. น้ำยางจากมะเดื่อบางชนิด (ต้นผูก) ใช้สำหรับย้อมผ้า และทำเทียน
6. เปลือกมะเดื่อใช้สำหรับทำกระดาษ อาทิ ในเม็กซิโกใช้เปลือกมะเดื่อ Ficus สำหรับทำกระดาษอะเมาท์ (amalt)
7. เปลือกมะเดื่อบางชนิดใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มหรือของใช้ อาทิ เปลือกมะเดื่อ Ficus nekbuda ใช้ทำโสร่ง และถุงทะเล
8. น้ำยางจากเปลือกมะเดื่อถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพราะมีสาร figcin ที่สามารถช่วยย่อยโปรตีนได้
9. มะเดื่อบางชนิดหรือต้นมะเดื่อฝรั่งที่ได้จากการตอนกิ่งจะมีลำต้นไม่สูงมาก กิ่งสามารถดัดให้โค้งงอได้ จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นไม้แคระเช่นกัน
10. ต้นมะเดื่อที่ปลูกด้วยเมล็ดจะมีลำต้นสูง ลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มใหญ่ จึงใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงาตามสวนสาธารณะหรือตามสวนหลังบ้าน
11. มะเดื่อหลายชนิดตามธรรมชาติถือได้ว่าเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่า
12. ไม้ในสกุลมะเดื่อที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และศาสนา คือ ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ใช้นั่งบำเพ็ญเพียรจนนำมาสู่การตรัสรู้ จึงจัดเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญ และเป็นที่เคารพของชาวพุทธ

เพิ่มเติมจาก (4)

คุณค่าทางโภชนาการมะเดื่อฝรั่ง (100 กรัม)

มะเดื่อฝรั่งดิบ มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง
Proximates
น้ำ กรัม 79.1 30.05
พลังงาน กิโลแคลอรี่ 74 249
โปรตีน กรัม 0.75 3.30
ไขมัน กรัม 0.30 0.93
คาร์โบไฮเดรต กรัม 19.18 63.87
เส้นใย กรัม 2.9 9.8
น้ำตาลทั้งหมด กรัม 16.26 47.92
Minerals
แคลเซียม มิลลิกรัม 35 162
เหล็ก มิลลิกรัม 0.37 2.03
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 17 68
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 14 67
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 232 680
โซเดียม มิลลิกรัม 1 10
สังกะสี มิลลิกรัม 0.15 0.55
Vitamins
วิตามิน C มิลลิกรัม 2.0 1.2
ไทอะมีน มิลลิกรัม 0.060 0.085
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.050 0.082
ไนอะซีน มิลลิกรัม 0.400 0.619
วิตามิน B-6 มิลลิกรัม 0.113 0.106
โฟเลต ไมโครกรัม 6 9
วิตามิน B-12 ไมโครกรัม 0.00 0.00
วิตามิน A, RAE ไมโครกรัม 7 0.00
วิตามิน A, IU IU 142 10
วิตามิน E มิลลิกรัม 0.11 0.35
วิตามิน D (D2 + D3) ไมโครกรัม 0.00 0.0
วิตามิน K ไมโครกรัม 4.7 15.6
Lipids
กรดไขมันอิ่มตัวทั้งหมด กรัม 0.060 0.144
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดสายเดี่ยวทั้งหมด กรัม 0.066 0.159
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดหลายสายทั้งหมด กรัม 0.144 0.345
คอลเลสเตอรอล มิลลิกรัม 0 0
Caffeine มิลลิกรัม 0 0

 

ที่มา : มะเดื่อฝรั่งดิบ : USDA Nutrient Database, มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง : USDA Nutrient Database

สารสำคัญที่พบ (ผลมะเดื่อฝรั่ง)
สารประกอบฟีนอลิก
– Gallic acid
– Syringic acid
– Ellagic acid
– Chlorogenic acid
– Quercetin
– Rutin
– Quercetin-3-O-glucoside
– Kaempferol-3- O-glucoside
– (-)-Epicatechin
– (+)-Catechin
– Luteolin-8- C-glucoside
– Cyanidin-3-glucoside
– Cyanidin-3-rutinoside
– Cyanidin 3,5-diglucoside
– Pelargonidin 3-O-glucoside
– Pelargonidin 3-O- rutinoside
– Peonidin 3-O-rutinoside

สารระเหยชนิดต่างๆ

ชนิดสารระเหย มะเดื่อฝรั่งแห้ง (ppm) มะเดื่อฝรั่งสด (ppm)
Hydrocarbons
limonene ไม่พบ 0.005
(E)-caryophyllene พบ ไม่พบ
α-pinene ไม่พบ พบ
β -pinene ไม่พบ พบ
α-cubenene ไม่พบ พบ
copaene ไม่พบ พบ
β -caryophyllene ไม่พบ พบ
(E)-α-bergamotene ไม่พบ พบ
(E)– α-caryophyllene ไม่พบ พบ
τ-muurolene ไม่พบ พบ
germacrene D ไม่พบ พบ
τ-cadinene ไม่พบ พบ
Ketones
2-hexanone 0.05 ไม่พบ
2-heptanone 0.03 ไม่พบ
2-octanone 0.03 ไม่พบ
(E,Z)-3,5-octadien-2-one 0.03 ไม่พบ
(E,E)-3,5-octadien-2-one 0.1 0.02
6-methyl-5-hepten-2-one ไม่พบ 0.01
(E)-2-methyl-2,4-heptadien-6-one ไม่พบ 0.09
geranylacetone 0.05 0.04
3-hydroxy-2-butanone พบ พบ
Alcohols
methanol น้อยกว่า 1 5
ethanol น้อยกว่า 10 144
hexanol ไม่พบ 0.05
(Z)-3-hexenol ไม่พบ 0.01
heptanol ไม่พบ 0.005
1-octen-3-ol 0.1 ไม่พบ
octanol 0.03 0.02
nonanol 0.02 0.08
linalool 0.02 ไม่พบ
2-phenylethanol ไม่พบ 0.06
benzyl alcohol พบ พบ
caryophyllene alcohol พบ ไม่พบ
3-phenyl-2-propen-1-ol พบ ไม่พบ
eugenol พบ พบ
2,3-butanediol ไม่พบ พบ
1-penten-3-ol ไม่พบ พบ
(Z)-3-hexen-1-ol ไม่พบ พบ
3-methyl-1-butanol ไม่พบ พบ
(E)-2-nonen-1-ol ไม่พบ พบ
menthol ไม่พบ พบ
Aldehydes
acetaldehyde น้อยกว่า 1 7-40
hexanal 0.3 0.04
heptanal 0.1 0.03
octanal 0.1 0.01
nonanal 0.2 0.08
(E)-2-hexenal ไม่พบ 0.005
(E)-2-heptenal 0.1 0.03
(E)-2-octenal 0.2 0.06
(E)-2-nonenal 0.05 0.03
(E)-2-decenal 0.1 0.2
(E)-2-undecenal 0.04 0.04
(E,Z)-2,4-heptadienal 0.05 0.1
(E,E)-2,4-heptadienal 0.1 0.1
(E,E)-2,4-nonadienal ไม่พบ 0.03
(E,Z)-2,4-decadienal ไม่พบ 0.06
(E,E)-2,4-decadienal 0.15 0.2
(E,Z)-2,6-nonadienal ไม่พบ พบ
benzaldehyde 1.8 0.3
3-phenylpropanal 0.05 ไม่พบ
cinnamaldehyde พบ ไม่พบ
3-methyl-butanal ไม่พบ พบ
2-methyl-butanal ไม่พบ พบ
2-methyl-2-butanal ไม่พบ พบ
(E)-2-pentenal ไม่พบ พบ
(E)-2-heptanal ไม่พบ พบ
β-cyclocitral ไม่พบ พบ
Esters
methyl acetate น้อยกว่า 1 4
ethyl acetate น้อยกว่า 1 9
ethyl hexanoate 0.05 0.02
ethyl phenylacetate ไม่พบ 0.05
isobutyl acetate พบ ไม่พบ
isopentyl acetate พบ ไม่พบ
2-methylbutyl acetate พบ ไม่พบ
propyl acetate พบ ไม่พบ
ethyl butanoate พบ ไม่พบ
methyl butanoate พบ ไม่พบ
ethyl 2-methylbutanoate พบ ไม่พบ
isobutyl 3-methylbutanoate พบ ไม่พบ
ethyl petanoate พบ ไม่พบ
ethyl propanoate พบ ไม่พบ
ethyl 2-methylpropanoate พบ ไม่พบ
methyl hexanoate ไม่พบ พบ
methyl salicylate ไม่พบ พบ
ethyl salicylate ไม่พบ พบ
Acids
hexanoic acid 0.05 ไม่พบ
heptanoic acid 0.04 ไม่พบ
octanoic acid 0.2 ไม่พบ
nonanoic acid 0.15 ไม่พบ
decanoic acid 0.1 ไม่พบ
acetic acid ไม่พบ พบ
hexadecanoic acid ไม่พบ พบ
Ethers
eucalyptol ไม่พบ พบ
Phenols
2-methoxy-4-vinylphenol ไม่พบ พบ
Lactones
4-hydroxybutanoic acid lactone ไม่พบ พบ
4-hydroxy-5-oxohexanoic acid lactone ไม่พบ พบ
Furans
linalool oxide 0.1 ไม่พบ
2-pentylfuran 0.05 0.01
epoxylinalool ไม่พบ พบ
Bases
n-ethyl-2-formylpyrolle 0.2 ไม่พบ
indole พบ ไม่พบ

ที่มา : (2) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

สรรพคุณมะเดื่อ/มะเดื่อฝรั่ง
ผลมะเดื่อ
– แก้อาการท้องร่วง
– ใช้ล้างบาดแผล ใช้ทารักษาแผล ช่วยสมานแผล
– ใช้เป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
– ช่วยรักษาฝี
– ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– ใช้เป็นยาระบาย
– ผลใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ

• สารประกอบฟีนอลิกในผลมะเดื่อ และมะเดื่อฝรั่ง มีคุณสมบัติในด้านต่างๆ ได้แก่
– ต้านโรคมะเร็ง
– ต้านโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
– ช่วยป้องกันเซลล์ประสาทเสื่อม
– ส่งเสริมการซ่อมแซมเซลล์ประสาท
– กระตุ้นความทรงจำ
– ต้านโรคอัลไซเมอร์
– ช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็ง
– ต้านการอักเสบ

เปลือก และแก่นลำต้นมะเดื่อ
– ใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการปวดท้อง
– น้ำต้มดื่ม แก้อาการโรคบิด
– น้ำต้มดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
– เปลือกลำต้นมานำประคบแผลสำหรับช่วยห้ามเลือด

ใบมะเดื่อ
– ใบแห้งบดละเอียดนำมาผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน ช่วยบำรุงน้ำดี

รากมะเดื่อ
– ใช้ทำยาแก้พิษจากปลา

ที่มา : (2), (3), (4)

การปลูกมะเดื่อฝรั่ง
มะเดื่อหลายชนิดตามธรรมชาติจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนมะเดื่อฝรั่งที่นิยมปลูกในปัจจุบัน สามารถปลูกได้ทั้งจากเมล็ด และจากต้นพันธุ์ตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ปักชำ หรือต้นพันธุ์จากการเสียบยอด

การเพาะเมล็ด
การตอนกิ่ง
การปักชำกิ่ง

รอเพิ่มข้อมูล

%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%a1

%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad1

%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%b3%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87

การเก็บผลมะเดื่อฝรั่ง
หลังจากติดผลแล้วจะใช้เวลาประมาณ 14 สัปดาห์ ก็สามารถเก็บผลได้
ผลมะเดื่อฝรั่งจะออกได้ถึง 2 รุ่น คือ
– รุ่นแรก จะออกในช่วงเดือนมีนาคม และเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
– รุ่นแรก จะออกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน และทยอยเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-มกราคม ซึ่งรุ่นนี้จะให้ผลมากกว่ารุ่นแรกมาก (ที่มา : (1) )

ขอบคุณภาพจาก : http://sbobetinc.net/, technologychaoban.com/, BlogGang.com/, namofig.lnwshop.com/, matichon.co.th/, sompothpanmai.com/

เอกสารอ้างอิง
(1) สุรินทร์ นิลสำราญจิต, จารุพันธุ์ ทองแถม และปวิณ ปุณศรี, 2528, การเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่ง-
ซึ่งปลูกบนพื้นที่สูงของประเทศไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
(2) จารุวรรณ์ รัตนสกุลธรรม, 2555, ผลของสายพันธุ์และการทำแห้งต่อสารประกอบ-
ฟีนอลิก ความสามารถต้านออกซิเดชัน-
และสารระเหยของผลมะเดื่อฝรั่ง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
(3) วิรัตน์ ภูวิวัฒน์, 2527, การศึกษาชนิดและการประเมินค่าไทรและ-
มะเดื่อพื้นเมืองบนดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
(4) ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ, 2550, ความหลากชนิดและการประเมินถิ่นที่อยู่-
ที่เหมาะสมของไม้สกุลมะเดื่อ ในสถานีวิจัยลุ่มน้ำแม่กลอง-
อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.