ฟักแม้ว (Chayote) ถือเป็นพืชผักต่างถิ่นที่นิยมปลูกมาในภาคเหนือ เนื่องจาก เพราะยอดอ่อน ผลอ่อน และรากสามารถใช้ประกอบอาหารได้ โดยเฉพาะผลอ่อน และยอดอ่อนที่มีความกรอบ หวาน และมีรสมันอร่อย สามารถปรุงเป็นอาหารทั้งเมนูผัด และแกงต่างๆได้เป็นอย่างดี
อนุกรมวิธาน
อาณาจักร : Plantae
ส่วน : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
ตระกูล : Violales
วงศ์ : Cucurbitaceae
สกุล : Sechium
สปีชีส์ : S. edule
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sechium edule (Jacq.) Swartz.
• ชื่อสามัญ :
– Chayote
– Chocho
– Chouchou
– Mango squash
– Vegetable pear
• ชื่อท้องถิ่น :
– ฟักแม้ว
– มะเขือเครือ
– มะเขือนายก
– มะเขือแม้ว
– มะเขือฝรั่ง
– แตงกะเหรี่ยง
– มะระหวาน
– มะระญี่ปุ่น
– ฟักญี่ปุ่น
• ประเทศอื่นๆ :
– ออสเตเรีย : choko
– บราซิล : chuchu
– จีน : fut sao gwa
– อังกฤษ : ตามชื่อสามัญ
– อินเดีย : vilati vanga
– อิตาลี : zucca
– นอเวย์ : chavote
– ฟิลิปปินส์ : sayote
– โปรตุเกต : pipinella
– รัสเซีย : cajot
– เวียตนาม : xu-xu, trai su
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ฟักแม้วเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทางตอนล่างของประเทศเม็กซิโก และประเทศในแถบทวีปอเมริกากลาง ปัจจุบัน พบการปลูก และแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลในช่วง 500-1,00 เมตร ส่วนในประเทศไทยพบมีการปลูกครั้งแรกที่จังหวัดแพร่ และแพร่กระจายในทุกจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่สูง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ฟักแม้ว จัดเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นเถายาวคล้ายพืชตระกูลแตง เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นเป็นเหลี่ยม และเลื้อยยาวได้มากกว่า 10 เมตร โดยแตกกิ่งแขนงออก 3-5 เถา โดยโคนเถาที่แก่จะมีสีน้ำตาล ส่วนปลายเถาหรือยอดมีสีเขียว และมีขนขนาดเล็กปกคลุม และบริเวณปลายเถาแตกใบออกเป็นช่วงๆ ทำให้เถาแลดูเป็นข้อๆ พร้อมแตกมือจับออกบริเวณซอกใบ โดยแตกมือจับย่อยที่ส่วนปลายออกประมาณ 3 เส้น ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ และแตกรากแขนงแทงลงดินในแนวขนานกับพื้นดิน
ใบ
ใบฟักแม้วแตกออกบริเวณข้อตามความยาวของเถา แต่ละข้อจะแตกใบเพียงใบเดียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยมหรือแฉก 5 แฉก ขนาดใบกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม และมีขนสากมือปกคลุมทั้งด้านบน และด้านล่าง
ดอก
ดอกฝักแม้วแทงออกเป็นดอกเดี่ยว แต่ออกหลายดอกใกล้กันตามซอกใบตามเถา แยกเพศกันอยู่คนละดอก แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ตัวดอกมีขนาดเล็ก ดอกตูมมีลักษณะทรงกลม สีเขียวอมเหลือง มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เมื่อดอกบานจะแผ่กลีบดอกออก 4 กลีบ สีเหลืองอ่อน แผ่รกลีบดอกมีขนขนาดเล็กปกคลุม ตรงกลางเป็นเกสรตัวผู้หรือรังไข่ที่แยกกันอยู่คนละดอก
ผล
ผลฟักแม้วติดเป็นผลเดี่ยวตามเถาบริเวณซอกใบ ผลมีลักษณะคล้ายผลโกโก้ ขั้วผลสอบเล็ก ท้ายผลใหญ่ ผิวผล และก้นผลเป็นร่อง ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง ขนาดผล กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลประมาณ 200-400 กรัม ผลอ่อนมีผิวเกลี้ยง ผลแก่มีหนามขนาดเล็กปกคลุมห่างๆ เปลือกผลหรือเนื้อผลหนา มีรสหวานมัน คล้ายมันฝรั่ง ส่วนด้านในมีเมล็ด 1 เมล็ด ซึ่งสามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้ทั้งที่ผลยังติดบนเถา
ประโยชน์ของฟักแม้ว
1. ทั้งผลอ่อน ใบหรือยอดอ่อน และราก นำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะผลอ่อน และยอดอ่อนที่นิยมมากในเมนูผัด และแกงต่างๆ รวมถึงใช้ลวกจิ้มกับน้ำพริก ซึ่งให้รสหวาน มีความกรอบ และนุ่มน่ารับประทาน อีกทั้งยังมีคุณค่างทางโภชนาการสูง ดังจะแสดงในข้อมูลด้านล่าง
2. ผลอ่อนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจะให้รสชาติคล้ายกับมันฝรั่ง
3. นอกจากส่วนต่างๆที่นำมาประกอบอาหารแล้ว การปลูกฟักแม้วภายในบ้านด้วยการทำค้างสูงยังใช้เป็นร่มเงาผักผ่อนได้ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการฟักแม้ว
สารอาหาร |
ผล (100 กรัม) |
เมล็ด |
ยอดอ่อน |
ราก |
น้ำ | 94.24 กรัม | – | 89.7% | 79.7% |
เส้นใย | 1.7 กรัม | – | – | – |
พลังงาน | 19 แคลอรี | – | 60 แคลอรี | 79 แคลอรี |
โปรตีน | 0.82 กรัม | 5.5% | 4% | 2% |
ไขมัน | 0.13 กรัม | – | 0.4% | 0.2% |
คาร์โบไฮเดรต | 4.51 กรัม | 60% | 4.7% | 17.8% |
น้ำตาล | 1.66 กรัม | 4.2% | 0.3% | 0.6% |
แคลเซียม | 17 มิลลิกรัม | – | 58 มิลลิกรัม | 7 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 0.34 มิลลิกรัม | – | 2.5 มิลลิกรัม | 0.8 มิลลิกรัม |
แมกนีเซียม | 12 มิลลิกรัม | – | ||
ฟอสฟอรัส | 18 มิลลิกรัม | – | 108 มิลลิกรัม | 34 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 125 มิลลิกรัม | – | – | – |
โซเดียม | 2 มิลลิกรัม | – | – | – |
สังกะสี | 0.74 มิลลิกรัม | – | – | – |
วิตามิน C | 7.7 มิลลิกรัม | – | 16 มิลลิกรัม | 19 มิลลิกรัม |
วิตามิน A | – | – | 615 มิลลิกรัม | – |
ไทอะมิน (วิตามิน B1) | 0.025 มิลลิกรัม | – | 0.8 มิลลิกรัม | 0.5 มิลลิกรัม |
ไรโบฟลาวิน (วิตามิน B2) | 0.029 มิลลิกรัม | – | 0.18 มิลลิกรัม | 0.03 มิลลิกรัม |
ไนอะซิน (วิตามิน B3) | 0.470 มิลลิกรัม | – | 1.1 มิลลิกรัม | 0.9 มิลลิกรัม |
วิตามิน B6 | 0.076 มิลลิกรัม | – | – | – |
โฟเลต (วิตามิน B9) | 93 ไมโครกรัม | – | – | – |
วิตามิน E | 0.12 มิลลิกรัม | – | – | – |
วิตามิน K | 4.1 ไมโครกรัม | – | – | – |
กรดไขมันอิ่มตัว | 0.028 มิลลิกรัม | – | – | – |
ที่มา : | USDA, National Nutrient database | 3) อ้างถึงใน Engles (1983) และAung et al. (1990) | 3) อ้างถึงใน… | 3) อ้างถึงใน… |
สารสำคัญที่พบ
สาระสำคัญที่พบในผล และเมล็ด ได้แก่
– Aspartic acid
– Glutamic acid
– Alanine
– Argine
– Cistien
– Phenylalanine
– Glycine
– Histidine
– Isoleucine
– Leucine
– Methionine
– Proline
– Serine
– Tyrosine
– Threonine
– Valine
ที่มา : 1) อ้างถึงใน Flores (1989)
สรรพคุณฟักแม้ว
ใบอ่อน และยอดอ่อน
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยบำรุงหัวใจ และหลอดเลือด
– ช่วยบำรุงสายตา
– แก้อักเสบ
– ช่วยรักษาเส้นเลือดแข็งตัว
– ช่วยลดความดันโลหิตสูง
– ช่วยสลายนิ่วในไต
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ผล
– ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่
– ต้านการเกิดมะเร็ง
– รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยบำรุงหัวใจ
– ลดอาการอักเสบ
– ป้องกันเลือดแข็งตัว
– ช่วยลดความดันโลหิต
ราก
– รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– แก้ปัสสาวะเล็ด ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
– แก้อาการท้องเสีย
เพิ่มเติมจาก : 1), 2)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาสารสกัดจากผลฟักแม้วที่มีต่อการป้องกันแผลในกระเพาะอาหารด้วยการให้สารสกัดทางปากแก่หนูทดลอง พบว่า สารสกัดในระดับตั้งแต่ 400-1,200 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม หนู สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด
ที่มา : 2)
การปลูกฟักแม้ว
เนื่องจากฟักแม้วเป็นพืชเถาที่มีอายุข้ามปีเพียง 3-4 ปี จึงไม่นิยมปลูกด้วยการปักชำเถา เพราะมีการแตกกิ่งน้อย และมีอายุสั้น อีกทั้งเป็นการตัดต้นหรือกิ่งที่กำลังให้ผลผลิตด้วย ดังนั้น การปลูกฟักแม้วจึงใช้การปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลัก แต่จะเพาะต้นกล้าด้วยการเพาะทั้งผล โดยไม่มีการแกะเมล็ดออก เพราะหากแกะเมล็ดออกจะมีอัตราการงอกต่ำ
การเลือกผล
ผลฟักแม้วที่เก็บสำหรับการเพาะกล้าจะต้องเก็บผลที่สุกเต็มที่แล้วหรือเป็นผลที่ร่วงจากต้นแล้ว ซึ่งจะมีเปลือกผลสีเหลืองอมครีม ทั้งนี้ อาจใช้ผลแก่ที่มีการแทงต้นอ่อนออกจากก้นผลแล้วก็ได้ ซึ่งบางผลอาจแทงต้นออกในขณะที่ผลยังติดอยู่กับเถา
การเตรียมวัสดุเพาะ และการเพาะ
วัสดุเพาะกล้าเตรียมได้ด้วยการใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอกหรือผสมร่วมกับแกลบดำในอัตราส่วนดินต่อปุ๋ยคอกที่ 1:3 หรือใส่แกลบดำเพิ่มอีก 0.5 ส่วน หลังจากนั้น คลุกส่วนผสมให้เข้ากัน ก่อนจะบรรจุลงถุงเพาะชำขนาดใหญ่ พรน้อมกับนำผลฟักแม้วกลบลงในถุงเพาะชำให้ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม และดูแลให้น้ำต่อประมาณ 1-1.5 เดือน ก็พร้อมนำกล้าพันธุ์ลงปลูกในแปลงได้
วิธีการปลูก
หลังจากต้นกล้าฟักแม้วมีอายุได้ 1-1.5 เดือน ให้นำลงปลูกในแปลงได้ โดยขุดหลุมปลูกขนาด 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระว่างหลุมประมาณ 70-100 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.5-2 เมตร หรืออาจมากกว่า พร้อมรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 3 กำมือ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ
การทำค้าง
หลังจากปลูกกล้าฟักแม้วแล้ว ให้รีบทำค้างทันที เพราะฟักแม้วจะเริ่มแทงยอดเป็นเถายาวหลังการปลูกเพียงไม่กี่วัน ด้วยการปักหลักระหว่างหลุมในระยะประมาณ 2 เมตร/หลัก หลักสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมขึงลวดโยงหลัก หรือใช้ไม้พาดโยงในแต่ละหลักก็ได้
การใส่ปุ๋ย
– ใส่ปุ๋ยคอกรอบโคนต้นหลังการปลูก 1 เดือน หลุมละ 2-3 กำมือ
– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 24-12-12 สำหรับปลูกเพื่อเก็บยอด หลังการปลูก 1 เดือน
– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24 หรือ 6-6-12 สำหรับการเก็บผล หลังการปลูก 2 เดือน และหลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 1 เดือน
การเก็บเกี่ยว
สำหรับการเก็บยอดอ่อนสามารถเริ่มเก็บได้ตั้งแต่ 2 เดือน หลังการปลูก มีระยะการเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง แต่ละครั้งให้ปริมาณยอดอ่อน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนการเก็บผลสามารถเก็บผลได้ประมาณ 4-5 เดือน หลังการปลูก ซึ่งดอกฟักแม้วจะออกดอกหลังการปลูกประมาณ 3-4 เดือน และติดผลจนผลเริ่มเก็บได้อีกประมาณ 1 เดือน หลังดอกบาน ทั้งนี้ ฟักแม้วสามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนาน 3-4 ปี แล้วต้นก็จะโทรมตายไป โดยผลผลิตจะได้ประมาณ 3-4 ตัน/ไร่ ในการเก็บแต่ละครั้ง
การเก็บรักษา
ยอดอ่อน และผลอ่อนของฟักแม้ว หลังเก็บมาแล้วให้ล้างน้ำทำความสะอาด ก่อนบรรจุถุงออกจำหน่าย แต่หากเก็บเพื่อรับประมานในครัวเรือน ควรเก็บไว้ในตูเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งเก็บได้ประมาณ 60-90 วัน และที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส จะเก็บได้ประมาณ 2-4 อาทิตย์ ส่วนการเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องด้านนอกจะเก็บยอดได้นาน 2-3 วัน ผลได้นานประมาณ 5-7 วัน
ปัจจุบัน ราคายอดอ่อนของฟักแม้วที่ขนาดความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จะอยู่ที่ 5-25 บาท/กิโลกรัม ส่วนผลฟักแม้วจะมีราคาอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 2-10 บาท ขึ้นกับฤดูกาล และจำนวนผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
ขอบคุณภาพจาก HolidayThai.com, http://www.baanmaha.com/, topicstock.pantip.com/, www.raktham.com
เอกสารอ้างอิง