พลูคาว หรือ คาวตอง ผักมีกลิ่นคาว การใช้ประโยชน์ สรรพคุณ และวิธีปลูกพลูคาว

Last Updated on 21 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

พลูคาว หรือ คาวตอง จัดเป็นผักพื้นบ้านของไทยที่พบได้มากทางภาคเหนือ นิยมใช้รับประทานเป็นเครื่องเคือง ใช้สกัดเป็นเครื่องดื่ม เพราะมีสรรพคุณมากมาย หลายขนานที่อ้างอิงได้จากงานวิจัย อาทิ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง แก้ภูมิแพ้ บรรเทาอาการปวด ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความแก่ของวัย เป็นต้น

อนุกรมวิธาน [1]
• วงศ์ (family): Saururaceae

• ชื่อวิทยาศาสตร์: Houttuynia cordata Thunb.
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– พลูคาว
– ผักเข้าตอง
– ผักก้านตอง
– พลูแก
ภาคเหนือ
– ผักคาวตอง
– ผักก้านตอง
ภาคอีสาน
– ผักคาวปลา
– ผักคาวทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาวถูกตั้งชื่อโดย คาร์ล ปีเตอร์ ธันเบิร์ก (Carl Peter Thunberg) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ที่ได้ตั้งชื่อตามลักษณะของปลายใบปลายที่แหลมเป็นติ่งคล้ายรูปหัวใจ และกลิ่นของตัวใบที่ส่งกลิ่นคล้ายกับกลิ่นคาวปลา ส่วนชื่อท้องถิ่นของไทยที่ตั้งชื่อเป็นพลูคาว ก็เช่นเดียวกัน คือ ตั้งชื่อตามกลิ่นของใบที่คล้ายกับกลิ่นคาวปลา [2] อ้างถึงใน กัมปชาญ (2553)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย [2]
พลูคาวเป็นผักพื้นเมืองในเอเชีย พบได้ตั่งแต่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยเรื่อยมาถึงประเทศอินเดีย และพบได้ในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น เรื่อยมาถึงประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในประเทศไทย เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย

ในประเทศไทยพบพลูคาวได้ในทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากในจังหวัดภาคเหนือ ส่วนภาคอีสาน กลาง และใต้จะพบได้ในบางพื้นที่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
พลูคาว เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรงในระยะแรก และหากลำต้นยาวหรือสูงมากจะทอดแอนเรื่อยๆจนแตะพื้น ลำต้นจะแตกแขนงคล้ายกับต้นชะพลู และมีลักษณะเป็นข้อปล้องสั้นๆ ลำต้นมีสีแดงเรื่อ ขนาดลำต้นประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร

ระบบรากจะประกอบด้วยรากแก้ว และรากฝอยที่เกิดในต้นแม่พันธุ์ แต่เมื่อส่วนของลำต้นทอดเอนแตะพื้นดิน บริเวณข้อปล้องก็จะแตกรากฝอยเกิดเป็นต้นใหม่ได้ทันที

ใบ
ใบพลูคาวออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณตรงข้อปล้องเรียงสลับกันในแต่ละข้อปล้อง ใบมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีสีแดงเรื่ออมเขียว ตัวแผ่นใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ โคนใบกว้างเป็นฐานใหญ่ แล้วเรียวแคบลงที่ปลายใบ ส่วนปลายสุดของใบมีลักษณะเป็นติ่งแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ ด้านบนแผ่นใบมีร่องของเส้นแขนงใบ ส่วนด้านล่างแผ่นใบเป็นนูนของเส้นกลางใบ และแขนงใบชัดเจน เมื่อสูดดม หรือ ขยี้ใบสูดดมจะมีกลิ่นฉุนคล้ายกับกลิ่นคาวปลา

ดอก
พลูคาวออกดอกเป็นช่อ แทงออกที่ปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว 3-5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นใบประดับรองดอก มีจำนวน 4 กลีบ รองอยู่ใต้ตัวดอก แผ่นกลีบดอกมีสีขาวเป็นรูปหอก ถัดมาเป็นช่อดอก มีลักษณะทรงกระบอกที่มีดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงตัวแน่นตามความยาวของแกนช่อ ตัวดอกมีสีขาวในระยะแรก และมีสีเหลืองเมื่อดอกแก่หรือดอกบาน ตัวดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีก้านดอก ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 3, 6 หรือ 8 อัน ส่วนรังไข่เรียงอัดแน่นกันเป็นตุ้มขนาดเล็ก (lobe) แทรกแซมกันบนแกนช่อดอก

ผล
ผลพลูคาวมีลักษณะกลมรี และมีขนาดเล็ก บริเวณปลายผลปริแยกออกเป็น 3 แฉก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีดำ

ทั้งนี้ พลูคาวจะออกดอก และติดผลในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี และลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยทั่วไปของพลูคาวจะคล้ายกับพืชวงศ์ Piperaceae เช่น พลู และพริกไทย เป็นต้น แต่จะแตกต่างกันที่พลู หรือ พริกไทยจะไม่มีใบประดับรองดอกเท่านั้น

ประโยชน์พลูคาว/คาวตอง
พลูคาว ไม่เป็นที่นิยมใช้ประกอบอาหารนัก โดยบางพื้นที่บอกว่ามีกลิ่นฉุน บางพื้นที่บอกว่ามีกลิ่นสาบ บางพื้นที่บอกว่ามีกลิ่นคาวคล้ายกลิ่นคาวปลา แต่ก็มีก็พบมีการนำยอดอ่อนหรือใบอ่อนพลูคาวมาใช้ทำอาหารได้ และใช้เป็นเครื่องเคียงเช่นกัน อาทิ
1. พลูคาว ทั้งส่วนใบ ยอดอ่อน และดอก ใช้ประกอบอาหารในหลากหลายเมนู ทั้งที่เป็นส่วนประกอบหลัก และใช้ใส่ในอาหารเพื่อให้มีกลิ่น เมนูหลัก ได้แก่ ผัดพลูคาวน้ำมันหอย ผัดพลูคาวใส่ไข่ ส่วนเมนูเติมรส และกลิ่น เช่น แกงเลียง และแกงอ่อมชนิดต่างๆ เป็นต้น รวมถึงรับประทานเป็นเครื่องเคียง
2. พลูคาวมีการวิจัย และการกล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลาย จึงพบผลิตออกมาจำหน่ายในรูปน้ำสกัดพลูคาวขายเป็นสินค้าสร้างรายได้งาม
3. มีการใช้สารสกัด rutin จากใบพลูคาวสำหรับการผลิตวิตามินเพื่อเป็นอาหารเสริม ด้วยคุณสมบัติ rutin ที่ช่วยรักษาความคงตัวหรือคงสภาพของคอลาเจนในผิวให้ยาวนานทำให้ลดการเกิดริ้วรอยตามวัยได้
4. สำหรับยุโรปและอเมริกานั้นนิยมปลูกพลูคาวพันธุ์ใบด่างเป็นไม้ประดับด้วย

สารสำคัญที่พบ [2], [6] อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ
1. กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (essential oils)
– Trans-caryophyllene
– Hydrocarbons
– Terpenoids
– Decanoyl acetaldehyde
– Esters
– Alcohols
– Ketones
– Aldehydes
– Acetic acid geraniol ester
– Phenols
– Aethers
– Methyl n-nonyl ketone
– β-myrcene
– trans-β-Ocimene
– Houttuynin
– Decanal
– Decanoic acid
– Camphene
– Docosanoic acid
– β-pinene
– Lauraldehyde
– Bornyl acetate
– α-pinene
– Limonene
– 4-terpineol
– 4- Tridecanone
– Caryophyllene oxide
– Nonanol
– Linalool

สารในกลุ่มนี้ ออกฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเม็ดเลือดขาว ส่วนสาร decanoyl acetaldehyde สามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้

2. กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
– Quercitrin
– Rutin
– Hyperin
– Reynoutrin
– Isoquercitrin

สาร reynoutrin มีคุณสมบัติบรรเทาอาการอักเสบ ส่วนสาร isoquercitrin, quercitrin และhyperin มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดท้อง และลดอัตราการบีบตัวของลำไส้ ส่วนสาร rutin ออกฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความแข็งรงของหลอดเลือด ป้องกันการแตกของเส้นเลือดฝอย ส่วน rutin สามารถลดริ้วรอยได้

3. กลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids)
3.1 อนุพันธุ์ของpyridine และ 1,4-dihydropyridine
– 3,5-didodecanoyl-4-nonyl-1,4-dihydropyridine
– 3,5-didecanoyl pyridine
– 3-decanoyl-6-nonylpyridene
– 2-nonyl-5-decanoylpyridine

3.2 อนุพันธุ์ของ aporphine
– Cepharanone B
– Cepharadione B
– 7-chloro-6-demethylcepharadione B
– Norcepharacdione B
– Aristolactam A
– Aristolactam B
– Piperolactam A

สารประกอบอัลคาลอยด์ในกลุ่ม aporphine ช่วยออกฤทธิ์กระตุ้นการรวมตัวของเกร็ดเลือด (platelet aggregation) ทำให้เม็ดเลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดบาดแผล นอกจากนั้น ยังออกฤทธิ์กระตุ้นระบบ
ภูมิคุ้มกันในร่างกาย และต้านการอักเสบได้เช่นกัน

4. กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) ประเภท fixed oil
– Palmitic acid
– Heptanoic acid
– Nonanoic acid
– Undecanoic acid
– Octanoic acid
– Hexanoic acid
– Lauric acid
– Heptadecanoic acid
– Tetradecanoic acid
– Tridecanoic acid
– Pentadecanoic acid
– Octadecenoic acid
– Hexadecenoic acid
– Octadecadienoic acid
– Aspartic acid
– Glutamic acid
– Capric acid
– Linoleic acid
– Oleic acid
– Stearic acid

โดยสาร linoleic acid ออกฤทธิ์ส่งเสริมการรับ และใช้ประโยชน์จากสารอาหารให้แก่เซลล์ในร่างกาย รวมถึงช่วยรักษาความสมดุลในระบบการแข็งตัวของเลือด

5. กลุ่มสเตอรอล (sterols) 4 ชนิด
– Phytol
– Spinasterol
– β-sitosterol
-Stigmasterol

สาร β-sitosterol และstigmasterol สามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

6. สารประกอบเคมีอื่นในกลุ่มของ polyphenolic acid และแร่ธาตุต่างๆ
– กรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid)
– โพแทสเซียมคลอไรด์ (potassium chloride)
– โพแทสเซียมซัลเฟต (potassium sulphate)
– ฟลูออไรด์ (fluroride)

สารในกลุ่มนี้ที่มีสรรพคุณทางยาเด่น ได้แก่ chlorogenic acid ที่พบว่า สามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ รวมถึงช่วยชะลอการดูดซึมสารอาหารประเภทน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดทำให้ช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

วิธีปลูกพลูคาว/คาวตอง
พลูคาว พบได้ในทุกภาค แต่พบมากในภาคเหนือ เป็นพืชที่เติบโตได้ดีบริเวณที่ดินชื้น และมีร่มเงาหรือแสงแดดรำไร เป็นพืชที่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือ ดินเหนียว สามารถเติบโตได้แม้อยู่ในสภาพน้ำขัง

พลูคาวตามธรรมชาติจะแพร่ขยายพันธุ์โดยเมล็ดเป็นหลัก และด้วยการแทงรากของข้อปล้องใหม่ ดังนั้น วิธีปลูกพลูคาวสามารถทำได้ด้วย 2 วิธี คือ
1. วิธีปลูกด้วยเมล็ด
วิธีนี้ เป็นวิธีที่ไม่นิยมทำ แต่จะปล่อยให้ต้นหลักติดผล และงอกเป็นต้นไหม้ตามธรรมชาติ แต่หากจะปลูกด้วยเมล็ดก็จะที่ทำได้เมื่อต้นติดผลแก่ โดยวิธีนี้ต้องใช้วิธีสุ่มนำช่อผลมาหว่านโรยลงแปลง โดยให้สังเกตผลที่แก่พร้อมหว่าน คือ ผลมีสีน้ำตาลอมดำ

2. วิธีปักชำกิ่งหรือลำต้น
วิธีนี้ เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และสามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอให้ต้นมีดอกมีเมล็ด โดยทำการตัดกิ่งหรือลำต้นจากกอแม่พันธุ์ ตัดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร อาจตัดยอดออกหรือไม่ต้องตัดยอดก็ได้ จากนั้น นำกิ่งพันธุ์ลงปักชำบนแปลงหรือกระถางที่ต้องการปลูก โดยต้องให้ข้อปล้องอย่างน้อย 1 ข้อปล้องปักลึกลงดิน จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม รดน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยประมาณ 7 วัน กิ่งก็จะเริ่มแทงรากใหม่ออกมา

เอกสารอ้างอิง
[1] พัชรี พูลศิลป์. 2559. ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ความเป็นพิษ-
และองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดพลูคาว.
[2] นภัสกร ขุนโขลน. 2558. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพลูคาว-
ใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยโดยเทคนิคเอเอฟแอลพี.
[3] อรนิตย์ ถุงแก้ว. 2554. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกพลูคาว-
ของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน.
[4] ภัททิรา ประสาทแก้ว. 2561. ผลของการเสริมใบพลูคาวต่อภูมิต้านทานโรค-
การให้ผลผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่.
[5] เอกพล ขาชื่น. 2557. ฤทธิ์ของสารสกัดพลูคาวในการชักนาให้เกิดการตาย-
และฤทธิ์การต้านการลุกลามของเซลล์มะเร็งปากมดลูกมนุษย์.
[6] จตุรวัฒน์ ปวีณวงศ์ชัย.2553. การชักนำการตายแบบอะโพโทซิสและการหลั่ง-
ไซโตไคน์ของสารฟลาโวนอยด์จากพลูคาว-
ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยง.

ขอบคุณภาพจาก
https://www.mefarmsook.com/product/22153/ต้นพลูคาว-ผักสวนครัวสมุนไพร-
http://www.rspherbs.com/product/6/น้ำพลูคาวสกัด-100-ขนาด-500-มล