คำแสด/คำไทย ประโยชน์ และสรรพคุณคำแสด

Last Updated on 23 มกราคม 2017 by puechkaset

คำแสด หรือ คำไทย (Annatto tree) จัดเป็นทั้งไม้ดอกไม้ประดับ และไม้เพื่อสมุนไพร ซึ่งผล และเมล็ดมีสีส้มอมแดง จึงนิยมนำเปลือกผล และเยื่อหุ้มเมล็ดมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ ใช้เป็นสีผสมอาหาร ใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารไก่หรือนกกระทา เป็นต้น

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bixa orellana Linn.
• ชื่อสามัญ :
– Annatto tree
– Achiote tree
– Lipstick tree
• ชื่อท้องถิ่น :
– คำแสด
– คำแฝด
– คำไทย
– แสด
– คำเงาะ
– คำแงะ
– คำใต้
– คำยง
– ซาตี
– จำปู้
– ส้มปู้
– ชาด
– ชิติหมัก
– มะกายหยุม
– หมากมอง

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจายคำแสด/คำไทย
คำแสดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ และแถบประเทศอเมริกากลาง ปัจจุบันพบแพร่กระจายทั่วโลกในแถบประเทศอบอุ่น พบมากในทวีปอเมริกาใต้ ประเทศในอเมริกากลาง และเอเชีย

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
คำแสดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-5 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม ลำต้นแตกกิ่งค่อนข้างโปร่ง

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94

ใบ
ใบคำแสดออกเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนตามกิ่ง ใบมีก้านใบยาว 4-10 เซนติเมตร ใบมีรูปไข่ ยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร โคนใบกว้าง และมน เป็นฐานรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94

ดอก
ดอกคำแสดออกช่อบริเวณปลายกิ่ง มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-10 ดอก ประกอบด้วยกลีบรองดอกสีเขียวขนาดเล็ก และกลีบดอกสีขาวอมชมพู 5 กลีบ ตรงกลางมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เกสรตัวเมีย มีก้านเกสรสีชมพู ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94

ผล
ผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายผลแหลม เปลือกผลเป็นร่องตามแนวยาว เปลือกผลมีสีแดง และมีขนสั้นสีแดงคล้ายผลเงาะปกคลุมแน่น เมื่อผลแก่ ผลจะปริแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94

ประโยชน์คำแสด/คำไทย
1. เปลือกผล และเมล็ดคำแสด ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับทำให้อาหารเป็นสีแดงอมส้ม ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปในทุกประเทศที่มีต้นคำแสด
2. เมล็ดใช้ต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีส้มอมแดง อาทิ ในประเทศอินเดียมีการนำผงหุ้มเมล็ดที่เรียกว่า กมลา สำหรับต้มย้อมผ้าไหม และขนสัตว์ ที่ได้เนื้อผ้าเป็นสีส้มอมแดง
3. เมล็ดคำแสดนำมาบดสำหรับใช้เป็นสีทาเล็บ และทาปากแทนลิปสติก รวมถึงใช้ทำเป็นสีทาตามร่างกาย
4. เมล็ดนำมาบดสำหรับใช้ผสมอาหารไก่ เป็ด หรือนกกระทา เพื่อช่วยความเข้มของสีไข่แดง

ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์สำหรับการย้อมผ้า ทำได้โดยนำเมล็ดคำแสด 3 กิโลกรัม มาต้มในน้ำประมาณ 20 ลิตร ซึ่งจะย้อมผ้าได้ประมาณ 1 กิโลกรัม ใช้เวลาการต้มย้อมนานประมาณ 1 ชั่วโมง

คุณค่าทางโภชนาการ (เมล็ดคำแสด)
• โปรตีน 13-17%
• เยื่อใย 16 %
• น้ำมันหอมระเหย 0.3-0.9%
• น้ำมันไม่ระเหย 4.5-5.5%
• สารสี 13-16%
• อัลฟ่า และเบต้า-แคโรทีน 13-16%
• กรดไขมัน
– Capric 10.7%
– Palmitic 16.4%
– Stearic 4.63%
– Oleic33.9%
– Linoleic 34.3%
• กรดอะมิโน
– Tryptophan
– Lysine
– Methionine
– Isoleucine
– Leucine
– Phenylalanine
-Threonine

ที่มา 2) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

วิธีทำผงคำแสด
ผงคำแสดเป็นส่วนที่ทำได้จากเยื่อหุ้มเมล็ด ทำได้โดยนำเมล็ดประมาณ 1 กิโลกรัม มาหมักแช่น้ำไว้ 1 วัน ก่อนนำมาขยำเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก และแยกเมล็ดออกน้ำหมัก หลังจากนั้น นำน้ำหมักมาเคี่ยวไฟให้หนืด ก่อนนำออกตากแดดให้แห้งเป็นผง 5-7 วัน ก็สามารถนำผงคำแสดมาใช้ประโยชน์ได้

สาระสำคัญที่พบ
เมล็ดคำแสดที่ให้สีส้มแดงประกอบด้วยสาร Bixin (C25H30O4) และ Norbixin (C24H28O4)

สรรพคุณคำแสด/คำไทย
เมล็ด (ต้มน้ำดื่ม)
– ช่วยลดอาการเจ็บคอ
– ช่วยลดไข้
– ช่วยบำรุงเลือด
– ช่วยขับปัสสาวะ
– แก้โรคบิด
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้โรคมาลาเรีย
– ช่วยขับพยาธิ
– ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ

น้ำมันจากเมล็ด
– ใช้ทานวด แก้อัมพฤกษ์อัมพาต
– แก้เคล็ดขัดยอกตามร่างกาย
– แก้ปวดตามข้อ

เปลือกผล และเมล็ด (นำมาบดใช้ทาภายนอก)
– รักษาบาดแผล ทั้งแผลสด แผลมีหนอง
– ใช้ทารักษาแผลจากอาการเล็บขบ
– แก้โรคผิวหนัง
– แก้ผดผื่นคัน

เปลือกผล และเมล็ด (ต้มน้ำอาบ)
– ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
– แก้ผดผื่นคัน

ราก
– แก้ไข้มาลาเรีย
– รักษาโรคหนองใน

ใบ
– แก้ไข้
– แก้โรคบิด
– ช่วยขับปัสสาวะ
– แก้โรคดีซ่าน
– แก้พิษแมลงกัดต่อย

ดอก
– ช่วยบำรุงเลือด
– แก้โลหิตจาง
– แก้โรคบิด
– แก้อาการคันตามผิวหนัง

ที่มา : 1) 2) และ https://th.wikipedia.org/wiki/คำแสด/

ฤทธิ์ทางเภสัชกรรมที่พบ
1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial activity)
การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดคำแสดที่มีต่อเชื้อบางชนิด พบว่า สารสกัดไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli แต่พบว่า ปริมาณแคโรทีนอยด์ที่มีสูงกลับสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย นอกจากนั้น สารสีจากเมล็ดคำแสดสามารถลดเชื้อ S. enteritidis ได้เช่นกัน
2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity)
การศึกษาให้สารสกัดจากเนื้อเคลือบเมล็ดคำแสดแก่หนูทดลอง ในขนาด 200 มิลลิกรัม พบว่า สารสกัดจากและขนาดดังกล่าวไม่พบความเป็นพิษต่อตับ
3. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด (Hypolipidaemic effect)
การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดคำแสดต่อการออกฤทธิ์ ลดไขมันในหนูทดลอง พบว่า สารสกัดสามารถลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลรวม และไลโปโปรตีน ในเลือดของหนูทดลองได้

ที่มา : 2) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

ความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดคำแสดที่ให้ทางปากของหนูถีบจักร ในขนาด 16.0 กรัม/กิโลกรัมหนู พบว่า สารสกัดไม่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน และหนูไม่ตาย

การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากเมล็ดคำแสดในหนูวิสตาร์ ในขนาด 60.0 มิลลิกรัม/ตัว/วัน พบว่า สารสกัดไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว พฤติกรรมการกินอาหาร น้ำหนักอวัยวะสัมพัทธ์ ค่าทางเคมีคลินิก และหลังจากการผ่าซากไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายในเช่นเดียวกัน

การศึกษาความเป็นพิษของคำแสดในหนูวิสตาร์ ที่ขนาด 1 และ 2 กรัม/วัน/กิโลกรัมหนู เป็นเวลา 43 วัน พบว่า สารสกัดจากคำแสดไม่แสดงความเป็นพิษในหนูแต่อย่างใด

ที่มา : 2) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

การปลูกคำแสด
คำแสดนิยมปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดเป็นหลัก นอกจากนั้น สามารถปลูกจากต้นพันธุ์ที่ได้จากการตอนกิ่งหรือการเสียยอด ซึ่งสามารถติดผลเร็วกว่าต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ด

การเตรียมวัสดุเพาะ
วัสดุเพาะกล้าควรเป็นดินร่วนผสมกับปุ๋ยคอก และวัสดุทางการเกษตรอื่นๆ อาทิ แกลบดำหรือขุ๋ยมะพร้าว อัตราส่วนดิน ปุ๋ยคอก และวัสดุ ที่ 1:3:2 หลังจากเตรียมวัสดุเพาะแล้วให้บรรจุลงถุงเพาะชำหรือกระบะเพาะเมล็ดเตรียมไว้

การเตรียมเมล็ด และการเพาะเมล็ด
เมล็ดที่ใช้สำหรับเพาะกล้า ควรเป็นเมล็ดที่ได้จากผลแก่ เปลือกผลเริ่มปริ จากนั้น นำเมล็ดมาตากแห้ง นาน 5-7 วัน ก่อนห่อเก็บในถุงผ้าหรือถุงกระดาษในที่ร่ม นาน 1-2 เดือน เพื่อให้เมล็ดพักตัว จากนั้น นำเมล็ดลงเพาะในถุงหรือกระบะเพาะที่เตรียมไว้ โดยหยอดเมล็ด ถุงหรือหลุมละ 1-2 เมล็ด และเกลี่ยหน้าดินให้กลบเมล็ด พร้อมรดน้ำให้ชุ่ม

สำหรับการเพาะในถุงเพาะชำ หลังจากเมล็ดงอกแล้วให้ดูแลต่อจนต้นกล้ามีอายุ 2-3 เดือน ค่อยนำปลูกลงแปลง ส่วนการเพาะในกระบะเพาะ หลังจากเมล็ดงอกแล้ว 5-7 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงเพาะต่อในถุงเพาะชำ และดูแลจนกว่าต้นกล้าพร้อมที่ 2-3 เดือน ก่อนย้ายปลูก

ขอบคุณภาพจาก http://www.smileconsumer.com, www.fca16mr.com, วิชาการ.คอม

เอกสารอ้างอิง
untitled