หมากเหลือง ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกหมากเหลือง

Last Updated on 22 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

หมากเหลือง (Yellow palm) เป็นปาล์มประดับชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกประดับไว้ภายในบ้านหรือปลูกในแปลงจัดสวน เนื่องจาก ก้านใบ และใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ลำต้นไม่สูงมากนัก มีอายุยืนยาว สามารถปลูก และดูแลง่าย

• วงศ์ : Palmae (Arecaceae)
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysalidocarpus lutescens.
• ชื่อสามัญ :
– Yellow palm
– Yellow cane palm
– Golden cane palm
– Butterfly palm
– Madagascar palm

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
หมากเหลือง มีถิ่นกำเนิดในแถบหมู่เกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันพบปลูกกันทั่วโลก โดยเฉพะแถบประเทศร้อนชื้น รวมถึงประเทศไทยด้วย เพิ่มเติมจาก [1]

%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
หมากเหลือง มีลำต้นเพรา ทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นแตกหน่อเป็นกอใหม่รอบต้นแม่ เมื่อโตเต็มที่จะสูงได้ถึง 8 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 4-8 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อหรือเป็นวงชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ โคนลำต้นมีสีเหลืองส้มหรือเขียวอมเหลือง ลำต้นส่วนปลายมีนวลสีขาวปกคลุม

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

ใบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก กาบใบหุ้มลำต้น มีสีเหลืองอมส้ม เรียงเยื้องกันตามความสูง ใบมีทางใบยาว 1.5-2 เมตร ทางใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง บนทางใบมีใบย่อยเรียงเยื้องสลับกันเป็นแถว ใบย่อยมีลักษณะเรียวยาว โคนใบสอบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะพร้าว กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวอมเหลือง

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

ดอก
หมากเหลืองออกดอกเป็นช่อเหมือนกับช่อดอกของปาล์มทั่วไป ก้านช่อดอกยาวประมาณ 60-100 เซนติเมตร ปลายช่อแตกแขนงเป็นช่อย่อย บนช่อแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยแต่ละดอกมีสีขาว ทั้งนี้ ดอกหมากเหลืองเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีการแยกเพศอยู่คนละต้น

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

ผล
ผลหมากเหลือง ติดผลเป็นช่อ แต่ละผลมีรูปกลมรี ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม และสุกจัดเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำ แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด [2]

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

ประโยชน์หมากเหลือง
1. หมากเหลืองนิยมปลูกทั้งในแปลงจัดสวน การด้านภูมิทัศน์ และการปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีทรงพุ่มสวยงาม ทางใบยาว โค้งย้อยลงดิน แผ่นใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ทั้งนี้ การปลูกในกระถาง ควรวางกระถางในพื้นที่ร่มหรือมีแสงแดดไม่ส่องทั้งวันหรือมีแสงรำไร อาทิ การวางกระถางภายในบ้าน หน้าบ้านที่มีร่ม หรือวางไว้ข้างบ้านที่มีร่มในบางครั้ง เพราะการปลูกในกระถางจะสูญเสียความชื้นได้ง่ายกว่าการปลูกลงแปลง
2. ใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้มงคล โดยมีความเชื่อต่างๆ ได้แก่
– หมากเหลืองช่วยให้ผู้คนเกิดความเคารพ และเชื่อฟังในตน เหมือนก้านใบหมากเหลืองที่โค้งโน้มลง รวมถึงทำให้สมาชิกในบ้านเป็นผู้มีจิตใจดี จิตใจงดงาม มีความถ่อมเนื้อถ่อมตน
– หมากเหลืองมีก้าน และใบสีเหลืองอมเขียวหรือบางต้นมีสีเหลืองทอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่ำรวย มีโชคลาภให้แก้ผู้ปลูกหรือสมาชิกภายในบ้าน
3. หมากเหลืองนอกจากจะปลูกเพื่อการประดับแล้ว เกษตรกรบางรายยังปลูกเพื่อตัดก้านใบส่งขาย สร้างรายได้งามเช่นกัน ก้านใบที่จำหน่ายถูกใช้สำหรับจัดตกแต่งในพิธีต่างๆ อาทิ งานมงคล งานเทศกาลชุมชน และงานสำคัญของทางราชการ
4. ก้านหมากเหลืองใช้ถูหรือจิ้มบริเวณฝ่าเท้าเพื่อตรวจหาอาการชาจากภาวะโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงการเกิดแผลจากโรคเบาหวาน มีวิธีการใช้ คือ นำก้านหมากเหลืองมาผ่าเปลือกนอกออก ให้เหลือเฉพาะแก่นอ่อนด้านใน จากนั้น เหลาให้ส่วนปลายเรียวเล็ก และปลายสุดเหลาให้มน ก่อนใช้จิ้มบนฝ่าเท้าตรวจหาอาการชา [3]

สรรพคุณหมากเหลือง
• ผลอ่อน มีรสฝาด มีสรรพคุณต่างๆ ได้แก่
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยขับเสมหะ
– แก้อาการเมา วิงเวียนศรีษะ
– แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน
– ช่วยบรรเทาอาการไอ
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

• ผลดิบนำมาปอกเปลือก ก่อนแยกเอาเนื้อมาเคี้ยวกับหมาก ให้รสฝาดจัด มีสรรพคุณต่างๆ ได้แก่
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้ปวดแน่นท้อง
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ช่วยขับปัสสาวะ

• เนื้อผล มีรสจืดหวาน
– ช่วยขับลม
– ช่วยขับปัสสาวะ
– แก้ท้องอืดแน่น
– แก้โรคบิด หรืออาการท้องเสีย

• ผลอ่อน และเนื้อผลแก่ ใช้ทาภายนอก
– เนื้อผลนำมาบดทารักษาแผล ช่วยสมานแผลให้หายเร็ว
– ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

การปลูกหมากเหลือง
หมากเหลืองสามารถขยายพันธุ์ และปลูกได้ 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ด และการแยกหน่อปลูก เป็นพืชที่ต้องการดินร่วน ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ปลูกได้ทั้งในที่ร่ม และพื้นที่กลางแจ้ง แต่ทั่วไปจะเป็นพืชชอบแสงรำไร และสภาพอากาศไม่ร้อนมาก จึงนิยมปลูกในกระถางเพื่อประดับในอาคารหรือในที่ร่มเป็นส่วนใหญ่

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87

การเตรียมดิน และแปลงปลูก
1. ดินสำหรับปลูกในกระถาง ควรผสมวัสดุอินทรีย์อื่น เพราะจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และช่วยเก็บกักน้ำไม่ให้ระเหยง่าย ช่วยรักษาความชื้นในดินได้นาน เพราะการปลูกในกระถางความชื้นจะสูญเสียง่าย

ดินใช้ปลูกให้ผสมกับปุ๋ยคอก แกลบดำ ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:2:1:0.5:0.5 โดยใช้ดินร่วนเป็นหลัก แล้วคลุกผสมให้เข้ากัน ก่อนบรรจุใส่กระถาง

2. แปลงปลูก
พื้นที่แปลงปลูกในที่โล่งแจ้ง ให้กำจัดวัชพืชออกก่อน หลังจากนั้น หว่านด้วยปุ๋ยคอก แกลบดำ อัตราอย่างละ 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร พร้อมพรวนให้เข้ากัน ก่อนนำลงปลูก

การเพาะเมล็ด
นำผลแก่จัดหรือผลที่แห้งบนต้นมาพักไว้ 1-2 เดือน เพื่อให้เมล็ดพักตัว ก่อนนำลงเพาะนำแปลงเพาะที่ใช้วัสดุปลูกอย่างเดียวกับการปลูกในกระถาง โดยใช้ทั้งผล ไม่ต้องแกะเปลือกออก เมื่อเมล็ดงอก ให้ดูแลจนกว่าต้นจะสูง 3-5 เซนติเมตร ก่อนย้ายเพาะดูแลต่อในกระถางหรือถุงเพาะชำ นอกจากนั้น อาจเพาะเมล็ดลงในถุงหรือกระถางเพาะ 3-5 เมล็ด แล้วดูแลจนต้นโตในกระถาง ค่อยนำไปจัดวาง

การแยกหน่อ
ให้เลือกหน่อที่มีความสูงไม่ตำกว่า 30 เซนติเมตร แยกมาเพาะต่อในกระถาง หรือนำลงปลูกในแปลง โดยขุด และตัดแยกให้มีรากติดมาเท่านั้น

การให้น้ำ
– การปลูกในกระถาง ควรให้น้ำอย่างน้อยทุกๆ 3 วัน ในปริมาณพอชุ่ม
– การปลูกในแปลง ควรให้น้ำอย่างน้อยทุกๆ 5-7 วัน

การใส่ปุ๋ย
ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง/ปี โดยเน้นปุ๋ยคอกเป็นหลัก และให้ปุ๋ยเคมีเสริมเล็กน้อย ในสูตร 16-8-8 ประมาณ 1 หยิบมือ/ต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดลำต้นเป็นสำคัญ

ขอบคุณภาพจาก bansuanporpeang.com/

เอกสารอ้างอิง
[1] https://th.wikipedia.org, 2560, หมากเหลือง, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้ที่ : https://th.wikipedia.org/wiki/หมากเหลือง/.
[2] ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560, หมากเหลือง, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms/หมากเหลือง.html/.
[3] ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 2560, “ก้านหมากเหลือง” ใช้ตรวจอาการชาเท้าจากโรคเบาหวาน, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้ที่ : http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000114209/.