หญ้าแฟก ลดการสูญเสียหน้าดิน ทั้งไร่มัน ไร่อ้อย แปลงยางพารา รวมถึงไร่นา

Last Updated on 11 พฤศจิกายน 2022 by puechkaset

หญ้าแฟก สามารถลดการชะล้างหน้าดิน ลดการสูญเสียหน้าดินได้ทั้งในแปลงไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย แปลงยางพารา และที่นา โดยเฉพาะแปลงเกษตรที่ค่อนข้างลาดชันสูง โดยพัฒนาที่ดินกาฬสินธ์ สามารถพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง

จากการปลูกและใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 โดยใช้หญ้าแฝกพันธุ์ สงขลา 3 และพันธุ์ LDD ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในเขตพื้นที่ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ดูแลตัดใบอย่างสม่ำเสมอ (นำใบไป กลบโคนไม้ผล และแปลงปลูกพืชผัก) ทำให้หญ้าแฝกมีการแตกกอเบียดชิดแน่น เวลาฝนตกทำให้ช่วยชะลอ ความเร็วของน้ำฝนและลดการชะล้างพังทลายได้มาก ซึ่งก่อนการปลูกหญ้าแฝกมีการชะล้างเนื่องจากน้ำไหล เร็วเวลามีฝนตก และไม่มีอะไรขวางกั้น

นอกจากนี้ หญ้าแฝกยังช่วยดักตะกอนดินและธาตุอาหารในดินไว้ไม่ให้ สูญเสียไป ซึ่งพืชสามารถนำธาตุอาหารต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้ดินบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์และ ชุ่มชื้นอยู่เสมอ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย คือ ค่าไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำมารดพืชผักต่าง ๆ ที่ต้องรดทุกวันทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มาก
– แปลงปลูกไม้ผลต่าง ๆ สามารถทนต่อสภาพฝนทิ้งช่วงและเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น
– ปลูกไหล่ถนน สามารถชะลอความเร็วของน้ำเวลาฝนตก ทำให้ไหล่ถนนไม่ถูกกัดเซาะ ช่วยประหยัดเงินเพื่อซ่อมแซม
– หญ้าแฝกช่วยป้องกันตะกอนดินที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บได้ โดยในปี 2560 นักวิชาการเกษตรจากสถานี พัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์ ได้ศึกษาปริมาณตะกอนดินก่อนและหลังการปลูกหญ้าแฝก โดยนำอุปกรณ์การวัด ตะกอนดินมาติดตั้งในแปลง เพื่อทดสอบว่าหญ้าแฝกสามารถกันตะกอนดินไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำได้หรือไม่ จากการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 2 ปี (2560-2561) ก็พบว่าแถบหญ้าแฝกสามารถกันตะกอนได้จริง
– ก่อนดำเนินการปลูกหญ้าแฝกรายได้หลักในแปลงคือการปลูกอ้อย ซึ่งเป็นรายรับที่มีปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน เนื่องจากราคาผันตามราคาตลาด บางปีก็มีพอที่จะใช้ชำระหนี้ ธกส. แต่ หลังจากปลูกหญ้าแฝกในปี พ.ศ. 2558 และเปลี่ยนจากอ้อยเป็นพืชผสมผสาน แฝกช่วยป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน กักเก็บความชุ่มชื้น ดักอินทรียวัตถุทำให้ดินในแปลงสามารถปลูกพืชสวนครัว เช่นพริก ข่า กระเจียว มะม่วง มะละกอ กล้วย สามารถนำผลผลิตไปขายสร้างรายได้รายวัน เก็บไว้ใช้สอยอย่างพอเพียง

การศึกษาประสิทธิภาพของแฝกในการป้องกันการสูญเสียดินลงสู่อ่างเก็บน้ำลำปาวภายใต้โครงการ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำอ่างลำปาว เห็นได้ว่าการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดินในแปลงว่างเปล่าไม่มีพืชปกคลุมมีการ สูญเสียดินสูงที่สุดทุกรูปแบบการทดลอง เนื่องจากไม่มีสิ่งปกคลุมและขาดมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และแปลงที่มีการปลูกแฝกทุกแปลงของแต่ละรูปแบบการทดลองจะช่วยลดการสูญเสียดินจากแปลงว่างเปล่าไม่มีพืชปกคลุมได้อย่างมาก

สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Inthapan et al. 1996. ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลจากลักษณะของการปลูกแฝกที่แตกต่างกัน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของการปลูกแฝกแถวเดี่ยวที่มีระยะห่างระหว่างแถวตามแนวดิ่ง รวมถึงการศึกษาการปลูกแฝกแถวเดี่ยวที่มีระยะห่างระหว่างต้นต่างกันในพื้นที่ 4 แห่ง พบว่า แปลงปลูกแฝกแถวเดี่ยวที่มีระยะห่างตามแนวดิ่งและระยะห่าง ระหว่างต้น ทุกระดับ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการลดปริมาณการสูญเสียดินในทุกพื้นที่ และจากการศึกษาพบว่า การสูญเสียดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกแฝก ปริมาณและความหนักเบาของฝนที่ตก รวมไปถึงความลาดชันของพื้นที่ด้วย

ซึ่งสอดคล้องกับ เกษม จันทร์แก้ว (2525) ที่กล่าวไว้ว่า การชะล้างพังทลายของดิน จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ประกอบด้วยปัจจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะดิน ลักษณะพืชพรรณ และกิจกรรมของมนุษย์การปลูกแฝกที่มีระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร มีประสิทธิภาพในการป้องกันการสูญเสียดินสูงสุด จึงสมควรที่จะปลูกแฝกที่มีระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดินแฝกที่มีระยะห่างระหว่างต้นน้อยลงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดินสูงขึ้น เพราะมีช่องว่างให้น้ำและตะกอนผ่านได้น้อยลงนั่นเอง