หญ้าลิ้นงู และสรรพคุณหญ้าลิ้นงู

Last Updated on 10 พฤษภาคม 2017 by puechkaset

หญ้าลิ้นงู จัดเป็นหญ้าสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปตามที่รกร้าง ไร่นา และตามบ้านเรือน ซึ่งจัดเป็นสมุนไพรเด่นในด้านการรักษาโรคมะเร็งที่มีงานวิจัยที่รองรับได้ นอกจากนั้น ยังมีสรรพคุณเด่นในด้านอื่น อาทิ แก้อาการอักเสบ ยับยั้งเชื้อไวรัส และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ

• วงศ์เข็ม : Rublaceae
• สกุล : Oldenlandia
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oldenlandia corymbosa L.
• ชื่อสามัญ : Diamnel flower
• ชื่อท้องถิ่น :
จีน
– จุ่ยจี้เช่า
– จั่วจิเช่า
– สุ่ยเฉียบฉ่าว
– สุ่ยเซี่ยนเฉ่า
– เสอเสอเฉ่า

หญ้าลิ้นงูถูกค้นพบ และตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1753 โดย Car von Linnaeeus ซึ่งตั้งให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oldenlandia corymbosa L. และต่อมาในปี ค.ศ. 1793 ที่ได้มีการศึกษาพืชชนิดนี้อีกครั้ง ซึ่งพบว่า ควรจัดให้อยู่ในสกุล Hedyotis พร้อมกับตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ใหม่ว่า Hedyotis corymbosa (L.) Lam. และต่อมาในปี ค.ศ. 1992 Halford , D.A. ที่เป็นผู้ค้นคว้าข้อมูลทางพันธุ์ศาสตร์พืชได้เสนอให้นำพืชชนิดนี้อยู่ในสกุล Oldenlandia และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เติมเดิมอีกครั้ง ซึ่งถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้

ที่มา : 2)

การแพร่กระจาย
หญ้าลิ้นงู เป็นพืชล้มลุกปีเดียวที่ชอบขึ้นตามพื้นดินชื้นแฉะ สามารถพบกระจายทั่วไปในประเทศเขตร้อน ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ส่วนประเทศไทยพบแพร่กระจายในทุกภาค พบมากตามที่รกร้างที่มีวัชพืชจำพวกหญ้าขึ้นน้อย รวมทั้งสามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นลานพื้นที่ในแหล่งชุมชน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
หญ้าลิ้นงู เป็นไม้ล้มลุกปีเดียวขนาดเล็ก มีลำต้นเป็นประเภทกึ่งเลื้อย ลำต้นแตกกิ่งเป็นพุ่ม และถอดเลื้อยคลุมดินเมื่อลำต้นยาวขึ้น ลำต้นสามารถเลื้อยยาวได้มากกว่า 20-45 เซนติเมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก มีรูปค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และมีลักษณะเป็นข้อที่เป็นส่วนของที่ใบแตกออก แต่ละข้อมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนผิวลำต้นเกลี้ยง สีเขียวสด และมีขนสั้นๆปกคลุม

ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากรากแขนงที่หยั่งลงดินตื้นๆ และรากสามารถแตกจากข้อที่เลื้อยตามดิน แทงออกลงดินได้

%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b8%b9

ใบ
ใบหญ้าลิ้นงู ใบเป็นใบเดี่ยว 2 ใบ ตรงข้ามกันบริเวณข้อ ใบไม่มีก้านใบ แต่มีหูใบเป็นซี่ขนาดเล็ก 5-9 ซี่ ใบมีรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม และโค้งงอลงดิน แผ่นใบมีสีเขียวสด มีตุ่มขนาดเล็ก และมีขนสั้นๆปกคลุม แต่เวลาจับจะรู้สึกลื่นมือ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-0.6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร

ดอก
หญ้าลิ้นงูออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกแตกออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-5 ดอก ออกเป็น 2 ชั้นหรือชั้นเดียว ดอกมีก้านดอกเรียวยาวขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มบริเวณฐานดอก ปลายกลีบแยกเป็นแฉก ถัดมาเป็นกลีบดอก จำนวน 4 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปหอก ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีฐานกลีบเชื่อติดกัน ส่วนปลายกลีบแหลม แผ่นกลีบมีสีขาว ถัดมาตรงกลางเป็นส่วนของเกสรตัวผู้ 5 อัน และตรงกลางสุดเป็นรังไข่

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a2%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b8%b9

ผล และเมล็ด
ผลหญ้าลิ้นงู มีลักษณะเป็นรูปถ้วย ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายเยื่อหุ้มผลแยกออกเป็นแฉก ปลายแฉกแหลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเขียว โดยมีสันแฉกเป็นสีน้ำตาล ส่วนด้านในสุดเป็นที่อยู่ของเมล็ดที่มีขนาดเล็ก รูปร่างเป็นเหลี่ยม เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำ

สารสำคัญที่พบ
– Aurantiamide acetate
– 1,5-anhydroglucitol
– β-sitosterol- β-D-glucoside
– Chondrillasterol
– Geniposide
– 6α และ6β-Hydroxygeniposide
– Asperulosidic acid
– Deacetylasperuloside
– Asperuloside
– Aurantiamide acetate
– 3β-acetylaleuritolic acid
– Salicylic acid
– B-sitosteryl-3-O-b-D-glucopyranoside
– 1,5-anhydroglucitol
– 22,23-dihydrochondrillasterol
– Chondrillasterol

ที่มา : 1), 2), 3)

ฤทธิ์ทางเภสัชกรรม
– ต้านการอักเสบ
– ต้านการกลายพันธุ์
– ต้านเซลล์มะเร็ง และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง
– ต้านเชื้อไวรัส
– ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สรรพคุณหญ้าลิ้นงู
ทุกส่วนของหญ้าลิ้นงูนำมาต้มดื่ม
– หญ้าลิ้นงูจัดอยู่ในตำราแพทย์แผนไทยโบราณสำหรับรักษามะเร็ง ที่ใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิด อาทิ ต้นไฟเดือนห้า, หญ้าปีกไก่ดำ, เหง้าข้าวเย็นเหนือ, พุทธรักษา และต้นลิ้นงูเห่า
– ต้านเซลล์มะเร็ง และรักษาโรคมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้
– สวนสมุนไพร วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม แนะนำในตำรับยาว่า หญ้าลิ้นงูนำมาต้มร่วมกับหญ้าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ก่อนนำน้ำต้มมาดื่มสำหรับรักษาโรคมะเร็งหรือเนื้องอกต่างๆ
– แก้ลำไส้อักเสบ
– แก้ไข้มาลาเรีย
– ช่วยลดไข้
– แก้ฝีต่างๆ
– แก้อาการท้องเสีย
– ช่วยย่อยอาหาร
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยบำรุงร่างกาย และอวัยวะภายใน
– แก้ท้องผูก ท้องอืด
– ช่วยขับพยาธิ
– แก้ต่อมทอมซิลอักเสบ
– รักษาหลอมลมอักเสบ

หญ้าลิ้นงูนำมาต้มใช้สำหรับภายนอก
– รักษาแผลสด
– รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

เพิ่มเติมจาก : 1), 2)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) จันทร์ทิพย์ แซ่ตัน (2544) ได้ศึกษานำสารสกัดจากหญ้าลิ้นงู และสมุนไพรชนิดอื่น มาทำการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง พบว่า สารสกัดที่ได้สามารถเกิดความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งได้

ข้อเสียหญ้าลิ้นงู
หญ้าลิ้นงูนอกจากจะพบในที่รกร้างหรือตามบ้านเรือนแล้ว ยังสามารถพบได้ในแปลงผักทั่วไป จึงจัดได้ว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งในแปลงผัก ซึ่งเกษตรกรจะต้องคอยถอนกำจัดออกเป็นประจำ แต่วัชพืชชนิดนี้มักมีรากไม่ลึกจึงถอนด้วยมือได้ง่าย

%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b8%b91

การใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์จากหญ้าลิ้นงูด้วยการต้มน้ำดื่มรับประทานสามารถใช้ได้ทั้งหญ้าสด และหญ้าแห้ง ด้วยการนำหญ้าลิ้นงูประมาณ 1 กำมือ มาต้มในน้ำ ประมาณ 1 ลิตร ให้เดือด ก่อนตั้งให้เย็น และใช้ดื่ม

ส่วนการใช้ประโยชน์สำหรับภายนอก อาจแบ่งเป็นการบดทาแผล นิยมใช้หญ้าสดประมาณ 1 กำมือ เช่นกัน ส่วนการใช้สำหรับอาบเพื่อรักษาโรคผิวหนังหรือต้านเชื้อจุลินทรีย์ให้แก่ร่างกาย สามารถใช้ได้ทั้งหญ้าลิ้นงูสด และหญ้าลิ้นงูแห้ง ปริมาณที่ใช้ประมาณ 5-10 กำมือ สำหรับต้มในน้ำประมาณ 8-10 ลิตร

ขอบคุณภาพจาก in.pinterest.com, oer.learn.in.th

เอกสารอ้างอิง
1