ฟักแม้ว สรรพคุณ และการปลูกฟักแม้ว

Last Updated on 28 ตุลาคม 2016 by puechkaset

ฟักแม้ว (Chayote) ถือเป็นพืชผักต่างถิ่นที่นิยมปลูกมาในภาคเหนือ เนื่องจาก เพราะยอดอ่อน ผลอ่อน และรากสามารถใช้ประกอบอาหารได้ โดยเฉพาะผลอ่อน และยอดอ่อนที่มีความกรอบ หวาน และมีรสมันอร่อย สามารถปรุงเป็นอาหารทั้งเมนูผัด และแกงต่างๆได้เป็นอย่างดี

อนุกรมวิธาน
อาณาจักร : Plantae
ส่วน : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
ตระกูล : Violales
วงศ์ : Cucurbitaceae
สกุล : Sechium
สปีชีส์ : S. edule

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sechium edule (Jacq.) Swartz.
• ชื่อสามัญ :
– Chayote
– Chocho
– Chouchou
– Mango squash
– Vegetable pear
• ชื่อท้องถิ่น :
– ฟักแม้ว
– มะเขือเครือ
– มะเขือนายก
– มะเขือแม้ว
– มะเขือฝรั่ง
– แตงกะเหรี่ยง
– มะระหวาน
– มะระญี่ปุ่น
– ฟักญี่ปุ่น
• ประเทศอื่นๆ :
– ออสเตเรีย : choko
– บราซิล : chuchu
– จีน : fut sao gwa
– อังกฤษ : ตามชื่อสามัญ
– อินเดีย : vilati vanga
– อิตาลี : zucca
– นอเวย์ : chavote
– ฟิลิปปินส์ : sayote
– โปรตุเกต : pipinella
– รัสเซีย : cajot
– เวียตนาม : xu-xu, trai su

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ฟักแม้วเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทางตอนล่างของประเทศเม็กซิโก และประเทศในแถบทวีปอเมริกากลาง ปัจจุบัน พบการปลูก และแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลในช่วง 500-1,00 เมตร ส่วนในประเทศไทยพบมีการปลูกครั้งแรกที่จังหวัดแพร่ และแพร่กระจายในทุกจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่สูง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ฟักแม้ว จัดเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นเถายาวคล้ายพืชตระกูลแตง เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นเป็นเหลี่ยม และเลื้อยยาวได้มากกว่า 10 เมตร โดยแตกกิ่งแขนงออก 3-5 เถา โดยโคนเถาที่แก่จะมีสีน้ำตาล ส่วนปลายเถาหรือยอดมีสีเขียว และมีขนขนาดเล็กปกคลุม และบริเวณปลายเถาแตกใบออกเป็นช่วงๆ ทำให้เถาแลดูเป็นข้อๆ พร้อมแตกมือจับออกบริเวณซอกใบ โดยแตกมือจับย่อยที่ส่วนปลายออกประมาณ 3 เส้น ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ และแตกรากแขนงแทงลงดินในแนวขนานกับพื้นดิน

%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a7

ใบ
ใบฟักแม้วแตกออกบริเวณข้อตามความยาวของเถา แต่ละข้อจะแตกใบเพียงใบเดียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยมหรือแฉก 5 แฉก ขนาดใบกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม และมีขนสากมือปกคลุมทั้งด้านบน และด้านล่าง

ดอก
ดอกฝักแม้วแทงออกเป็นดอกเดี่ยว แต่ออกหลายดอกใกล้กันตามซอกใบตามเถา แยกเพศกันอยู่คนละดอก แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ตัวดอกมีขนาดเล็ก ดอกตูมมีลักษณะทรงกลม สีเขียวอมเหลือง มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เมื่อดอกบานจะแผ่กลีบดอกออก 4 กลีบ สีเหลืองอ่อน แผ่รกลีบดอกมีขนขนาดเล็กปกคลุม ตรงกลางเป็นเกสรตัวผู้หรือรังไข่ที่แยกกันอยู่คนละดอก

ผล
ผลฟักแม้วติดเป็นผลเดี่ยวตามเถาบริเวณซอกใบ ผลมีลักษณะคล้ายผลโกโก้ ขั้วผลสอบเล็ก ท้ายผลใหญ่ ผิวผล และก้นผลเป็นร่อง ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง ขนาดผล กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลประมาณ 200-400 กรัม ผลอ่อนมีผิวเกลี้ยง ผลแก่มีหนามขนาดเล็กปกคลุมห่างๆ เปลือกผลหรือเนื้อผลหนา มีรสหวานมัน คล้ายมันฝรั่ง ส่วนด้านในมีเมล็ด 1 เมล็ด ซึ่งสามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้ทั้งที่ผลยังติดบนเถา

ประโยชน์ของฟักแม้ว
1. ทั้งผลอ่อน ใบหรือยอดอ่อน และราก นำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะผลอ่อน และยอดอ่อนที่นิยมมากในเมนูผัด และแกงต่างๆ รวมถึงใช้ลวกจิ้มกับน้ำพริก ซึ่งให้รสหวาน มีความกรอบ และนุ่มน่ารับประทาน อีกทั้งยังมีคุณค่างทางโภชนาการสูง ดังจะแสดงในข้อมูลด้านล่าง
2. ผลอ่อนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจะให้รสชาติคล้ายกับมันฝรั่ง
3. นอกจากส่วนต่างๆที่นำมาประกอบอาหารแล้ว การปลูกฟักแม้วภายในบ้านด้วยการทำค้างสูงยังใช้เป็นร่มเงาผักผ่อนได้ด้วย

%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a7

คุณค่าทางโภชนาการฟักแม้ว

สารอาหาร

ผล (100 กรัม)

เมล็ด

ยอดอ่อน

ราก

น้ำ 94.24 กรัม 89.7% 79.7%
เส้นใย 1.7 กรัม
พลังงาน 19 แคลอรี 60 แคลอรี 79 แคลอรี
โปรตีน 0.82 กรัม 5.5% 4% 2%
ไขมัน 0.13 กรัม 0.4% 0.2%
คาร์โบไฮเดรต 4.51 กรัม 60% 4.7% 17.8%
น้ำตาล 1.66 กรัม 4.2% 0.3% 0.6%
แคลเซียม 17 มิลลิกรัม 58 มิลลิกรัม 7 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.34 มิลลิกรัม 2.5 มิลลิกรัม 0.8 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม    
ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม 108 มิลลิกรัม 34 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 125 มิลลิกรัม
โซเดียม 2 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.74 มิลลิกรัม
วิตามิน C 7.7 มิลลิกรัม 16 มิลลิกรัม 19 มิลลิกรัม
วิตามิน A 615 มิลลิกรัม
ไทอะมิน (วิตามิน B1) 0.025 มิลลิกรัม 0.8 มิลลิกรัม 0.5 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน (วิตามิน B2) 0.029 มิลลิกรัม 0.18 มิลลิกรัม 0.03 มิลลิกรัม
ไนอะซิน (วิตามิน B3) 0.470 มิลลิกรัม 1.1 มิลลิกรัม 0.9 มิลลิกรัม
วิตามิน B6 0.076 มิลลิกรัม
โฟเลต (วิตามิน B9) 93 ไมโครกรัม
วิตามิน E 0.12 มิลลิกรัม
วิตามิน K 4.1 ไมโครกรัม
กรดไขมันอิ่มตัว 0.028 มิลลิกรัม
ที่มา : USDA,  National Nutrient database 3) อ้างถึงใน Engles (1983) และAung et al. (1990) 3) อ้างถึงใน… 3) อ้างถึงใน…

%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a7

สารสำคัญที่พบ
สาระสำคัญที่พบในผล และเมล็ด ได้แก่
– Aspartic acid
– Glutamic acid
– Alanine
– Argine
– Cistien
– Phenylalanine
– Glycine
– Histidine
– Isoleucine
– Leucine
– Methionine
– Proline
– Serine
– Tyrosine
– Threonine
– Valine

ที่มา : 1) อ้างถึงใน Flores (1989)

สรรพคุณฟักแม้ว
ใบอ่อน และยอดอ่อน
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยบำรุงหัวใจ และหลอดเลือด
– ช่วยบำรุงสายตา
– แก้อักเสบ
– ช่วยรักษาเส้นเลือดแข็งตัว
– ช่วยลดความดันโลหิตสูง
– ช่วยสลายนิ่วในไต
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ

ผล
– ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่
– ต้านการเกิดมะเร็ง
– รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยบำรุงหัวใจ
– ลดอาการอักเสบ
– ป้องกันเลือดแข็งตัว
– ช่วยลดความดันโลหิต

ราก
– รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– แก้ปัสสาวะเล็ด ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
– แก้อาการท้องเสีย

เพิ่มเติมจาก : 1), 2)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาสารสกัดจากผลฟักแม้วที่มีต่อการป้องกันแผลในกระเพาะอาหารด้วยการให้สารสกัดทางปากแก่หนูทดลอง พบว่า สารสกัดในระดับตั้งแต่ 400-1,200 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม หนู สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด

ที่มา : 2)

การปลูกฟักแม้ว
เนื่องจากฟักแม้วเป็นพืชเถาที่มีอายุข้ามปีเพียง 3-4 ปี จึงไม่นิยมปลูกด้วยการปักชำเถา เพราะมีการแตกกิ่งน้อย และมีอายุสั้น อีกทั้งเป็นการตัดต้นหรือกิ่งที่กำลังให้ผลผลิตด้วย ดังนั้น การปลูกฟักแม้วจึงใช้การปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลัก แต่จะเพาะต้นกล้าด้วยการเพาะทั้งผล โดยไม่มีการแกะเมล็ดออก เพราะหากแกะเมล็ดออกจะมีอัตราการงอกต่ำ

การเลือกผล
ผลฟักแม้วที่เก็บสำหรับการเพาะกล้าจะต้องเก็บผลที่สุกเต็มที่แล้วหรือเป็นผลที่ร่วงจากต้นแล้ว ซึ่งจะมีเปลือกผลสีเหลืองอมครีม ทั้งนี้ อาจใช้ผลแก่ที่มีการแทงต้นอ่อนออกจากก้นผลแล้วก็ได้ ซึ่งบางผลอาจแทงต้นออกในขณะที่ผลยังติดอยู่กับเถา

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a7

การเตรียมวัสดุเพาะ และการเพาะ
วัสดุเพาะกล้าเตรียมได้ด้วยการใช้ดินผสมกับปุ๋ยคอกหรือผสมร่วมกับแกลบดำในอัตราส่วนดินต่อปุ๋ยคอกที่ 1:3 หรือใส่แกลบดำเพิ่มอีก 0.5 ส่วน หลังจากนั้น คลุกส่วนผสมให้เข้ากัน ก่อนจะบรรจุลงถุงเพาะชำขนาดใหญ่ พรน้อมกับนำผลฟักแม้วกลบลงในถุงเพาะชำให้ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม และดูแลให้น้ำต่อประมาณ 1-1.5 เดือน ก็พร้อมนำกล้าพันธุ์ลงปลูกในแปลงได้

วิธีการปลูก
หลังจากต้นกล้าฟักแม้วมีอายุได้ 1-1.5 เดือน ให้นำลงปลูกในแปลงได้ โดยขุดหลุมปลูกขนาด 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระว่างหลุมประมาณ 70-100 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.5-2 เมตร หรืออาจมากกว่า พร้อมรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 3 กำมือ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ

การทำค้าง
หลังจากปลูกกล้าฟักแม้วแล้ว ให้รีบทำค้างทันที เพราะฟักแม้วจะเริ่มแทงยอดเป็นเถายาวหลังการปลูกเพียงไม่กี่วัน ด้วยการปักหลักระหว่างหลุมในระยะประมาณ 2 เมตร/หลัก หลักสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมขึงลวดโยงหลัก หรือใช้ไม้พาดโยงในแต่ละหลักก็ได้

การใส่ปุ๋ย
– ใส่ปุ๋ยคอกรอบโคนต้นหลังการปลูก 1 เดือน หลุมละ 2-3 กำมือ
– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 24-12-12 สำหรับปลูกเพื่อเก็บยอด หลังการปลูก 1 เดือน
– ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24 หรือ 6-6-12 สำหรับการเก็บผล หลังการปลูก 2 เดือน และหลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 1 เดือน

การเก็บเกี่ยว
สำหรับการเก็บยอดอ่อนสามารถเริ่มเก็บได้ตั้งแต่ 2 เดือน หลังการปลูก มีระยะการเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง แต่ละครั้งให้ปริมาณยอดอ่อน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนการเก็บผลสามารถเก็บผลได้ประมาณ 4-5 เดือน หลังการปลูก ซึ่งดอกฟักแม้วจะออกดอกหลังการปลูกประมาณ 3-4 เดือน และติดผลจนผลเริ่มเก็บได้อีกประมาณ 1 เดือน หลังดอกบาน ทั้งนี้ ฟักแม้วสามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนาน 3-4 ปี แล้วต้นก็จะโทรมตายไป โดยผลผลิตจะได้ประมาณ 3-4 ตัน/ไร่ ในการเก็บแต่ละครั้ง

การเก็บรักษา
ยอดอ่อน และผลอ่อนของฟักแม้ว หลังเก็บมาแล้วให้ล้างน้ำทำความสะอาด ก่อนบรรจุถุงออกจำหน่าย แต่หากเก็บเพื่อรับประมานในครัวเรือน ควรเก็บไว้ในตูเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งเก็บได้ประมาณ 60-90 วัน และที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส จะเก็บได้ประมาณ 2-4 อาทิตย์ ส่วนการเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องด้านนอกจะเก็บยอดได้นาน 2-3 วัน ผลได้นานประมาณ 5-7 วัน

ปัจจุบัน ราคายอดอ่อนของฟักแม้วที่ขนาดความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จะอยู่ที่ 5-25 บาท/กิโลกรัม ส่วนผลฟักแม้วจะมีราคาอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 2-10 บาท ขึ้นกับฤดูกาล และจำนวนผลผลิตที่ออกสู่ตลาด

%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a7

ขอบคุณภาพจาก HolidayThai.com, http://www.baanmaha.com/, topicstock.pantip.com/, www.raktham.com

เอกสารอ้างอิง
untitled