พืชไร่ (Field crop)

Last Updated on 7 มีนาคม 2015 by puechkaset

พืชไร่  (Field crop) หมายถึง กลุ่มพืชที่มีลักษณะต้องการน้ำน้อย ทนความแห้งแล้งสูง ไม่ต้องการความพิถีพิถันในการปลูก และการดูแลรักษา มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว เป็นทั้งพืชล้มลุกปีเดียวหรือนานหลายปี มักปลูกในพื้นที่มากเป็นแปลงขนาดใหญ่ ทั้งนี้ มีกลุ่มพืชไร่บางสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ลุ่ม และต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว

พืชไร่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
มักเป็นพืชตระกูลหญ้า ลำต้นเป็นข้อ ปล้อง ใบแตกตามข้อ ก้านใบหุ้มรอบลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบทิ้งดิ่ง ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น

2. พืชใบเลี้ยงคู่
มักเป็นพืชตระกูลถั่ว ลำต้นแตกกิ่งแขนงเป็นทรงพุ่มหรือเลื้อยตามพื้นดิน ใบมีลักษณะป้อม สั้น รูปทรงต่างๆ มีมากกว่า 1 ใบ ใน 1 ก้านใบ ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

พืชไร่

พืชไร่แบ่งลักษณะพื้นที่ปลูก
1. ประเภทปลูกในพื้นที่ดอน
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูงหรือพื้นที่ลาดชัน หน้าดินแห้ง และมีความชื้นน้อย มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ไม่ชอบน้ำท่วมขัง อาศัยเพียงน้ำฝนตามฤดูกาลก็สามารถให้ผลผลิตได้ ส่วนมากเป็นพืชที่เก็บผลผลิตในปีเดียว มักปลูกในต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูหนาว ส่วนมากเป็นพืชตระกูลหญ้า ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี งา เป็นต้น

2. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบทั่วไป หน้าดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำปานกลาง และต้องการความชุ่มชื้นตลอดการเติบโต จำเป็นต้องอาศัยระบบน้ำจากแหล่งอื่นช่วยเสริมนอกเหนือจากน้ำฝนตามฤดูกาล มักปลูกตลอดทั้งปี แต่จะเติบโต และให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในต้นฤดูฝน พืชกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น และมีพืชตระกูลหญ้าบ้าง ได้แก่ ข้าวโพด เป็นต้น

3. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง
เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่น้ำท่วมขัง เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก อาศัยน้ำจากน้ำฝน และน้ำจากระบบชลประทาน มักปลูกตลอดทั้งปีตามชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม พืชในกลุ่มนี้มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว เป็นต้น

พืชไร่แบ่งตามการให้ประโยชน์
1. พืชให้ผล และเมล็ด

2. พืชให้หัว

3. พืชให้ความหวาน พลังงาน และน้ำมัน

4. พืชให้ใบ

5. พืชเส้นใย

6. พืชอาหารสัตว์

การปลูก
การเตรียมแปลง
การปลูกพืชไร่มักใช้พื้นที่ปลูกจำนวนมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน และพื้นที่ราบลุ่มที่ต้องมีการไถพรวนดิน และตากดินพร้อมกำจัดวัชพืช ตั้งแต่ 1 ครั้ง ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และปริมาณวัชพืชที่ขึ้นปกคลุม การเตรียมแปลงทุกครั้งจะใช้วิธีการหว่านปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีรองพื้นทั่วทั้งแปลงหรือหว่านโรยตามร่องในแนวปลูก

วิธีการปลูก
วิธีการปลูกพืชไร่นิยมใช้ 3 วิธี คือ
– การหว่านเมล็ด ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ทั่วทั้งแปลง พืชในกลุ่มนี้มักมีลำต้นขึ้นตรงไมแตกแขนงเป็นทรงพุ่มจึงไม่จำเป็นมากสำหรับระยะห่างระหว่างต้น เช่น การปลูกข้าว ข้าวฟ่าง ทานตะวัน เป็นต้น
– การหยอดเมล็ด เป็นวิธีการหยอดเมล็ดใส่หลุม และกลบหน้าดินเล็กน้อยเพื่อให้มีระยะห่างระหว่างต้นหรือกอเหมาะสม พืชในกลุ่มนี้เมื่อเติบโตมักแตกเป็นทรงพุ่มหรือเป็นเถาเลื้อยตามดินจึงมีความจำเป็นต้อมีระยะห่างที่เหมาะสม เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น
– การปักชำกิ่ง

การเก็บเกี่ยว
พืชไร่มักมีอายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 45 วัน ถึง 1 ปีเศษๆ ด้วยการใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน

ตัวอย่างพืชจำแนกตามการให้ประโยชน์ ได้ดังนี้
1. พืชให้ผล และเมล็ด
พืชให้ผล
– แตงโม
– แตงลายหรือแตงช้าง
– แคนตาลูป

พืชให้เมล็ด
– ข้าวหอมมะลิ
– ข้าวฟ่าง
– ข้าวบาเลย์
– ข้าวสาลี
– ข้าวโอ๊ต
– ข้าวโพด
– ทานตะวัน
– ถั่วเขียว
– ถั่วเหลือง
– ถั่วดำ
– ถั่วแดง
– ถั่วขาว
– งาขาว
– งาดำ
– กาแฟ

2. พืชให้หัว
– มันสำปะหลัง
– ถั่วลิสง
– มันแกว
– มันแดง
– มันฝรั่ง

3. พืชให้ความหวาน พลังงาน และน้ำมัน
– อ้อย
– ปาล์ม
– สบู่ดำ
– ละหุ่ง

4. พืชใช้ใบ
– ชา
– ยาสูบ

5. พืชเส้นใย
– ปอ
– ฝ้าย

6. พืชอาหารสัตว์
กลุ่มพืชตระกูลหญ้า
– ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
– หญ้าขน
– หญ้ารูซี่
– หญ้าเนเปียร์
– หญ้ากินนี
– หญ้าบัฟเฟล
– หญ้าแพงโกลา
– หญ้าเนเปียร์

กลุ่มพืชตระกูลถั่ว
– ถั่วเหลือง