ชะคราม ประโยชน์ และสรรพคุณชะคราม

Last Updated on 3 เมษายน 2017 by puechkaset

ชะคราม (Seablite) เป็นพืชล้มลุกที่พบได้เฉพาะพื้นที่ดินเค็มตามชายทะเล พบแพร่กระจายทั่วไปในแถบจังหวัดที่ติดกับทะเล ซึ่งนิยมนำมาประกอบอาหารจำพวกแกงต้มต่างๆ แต่หากใบมีรสเค็มจัดจึงนิยมนำใบมาลวกน้ำเพื่อละลายเกลือให้น้อยลงก่อน ก่อนจะนำไปประกอบอาหาร อาทิ แกงส้ม แกงหอยแครง แกงมัสมั่น เป็นต้น

• วงศ์ : Chenopodiaceae
• ชื่อสามัญ : Seablite
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suaeda maritime (L.) Dumort.
• ชื่อท้องถิ่น : ชะคราม
• ถิ่นกำเนิด : เอเชีย และทวีปอื่น อาทิ ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา รวมถึงประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดกับทะเล

การแพร่กระจาย
ชะคราม ชะครามเป็นที่พบได้เฉพาะตามพืชชายทะเลที่มีการแพร่กระจายในทุกประเทศทั่วโลก ทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา ส่วนประเทศไทยพบได้บริเวณแถบจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเลทางภาคตะวันออก และต่อเนื่องมาจนถึงภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งจะพบเติบโตตามพื้นที่โล่งดินเค็มถัดจากแนวป่าโกงกางหรือชายทะเลออกมา อาทิ ชายป่าโกงกาง และนาเกลือ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ชะคราม เป็นพืชล้มลุกหลายปี มีลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 0.3-1.5 เมตร โคนต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีมีสีน้ำตาลอมแดงเรื่อหรือสีแดงเรื่อ ผิวลำต้นเป็นตุ่มแผลจากรอยร่วงของใบ ลำต้นอ่อนมีลักษณะฉ่ำน้ำ หากแก่เต็มที่จะกลายเป็นเนื้อไม้อ่อน

ส่วนรากของชะคราม ประกอบด้วยรากแก้วที่แทงลึกลงดินในแนวตั้ง และรากแขนงที่ค่อนข้างแทงออกตามแนวขนานกับพื้นดิน และพบรากอากาศแทงออกจากโคนลำต้น

%e0%b8%8a%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a11

ใบ
ใบชะคราม จัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแทงออกเป็นใบเดี่ยวๆตามความยาวของกิ่ง ใบมีลิ้นใบเป็นแผ่นบางๆสีน้ำตาลอ่อน แผ่นใบมีลักษณะทรงกระบอก เกือบเป็นรูปทรงกลม เรียวยาว และมีลักษณะอวบน้ำ ส่วนปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเรื่อหรือสีคราม เมื่อต้นแก่เต็มที่ ขนาดใบยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตร

%e0%b8%8a%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a12

ดอก
ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อแขนงบริเวณปลายกิ่ง ความยาวของช่อดอกประมาณ 5-15 เซนติเมตร แต่ละแขนงมีดอกย่อยเกาะกันเป็นกระจุก 3-5 ดอก ซ้อนกันตามความยาวของก้านช่อดอก ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกแก่มีสีแดงเรื่อ

ผล และเมล็ด
ผลชะคราม มีขนาดเล็ก ทรงกลม ขนาดผลประมาณ 2 มิลลิเมตร เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลประกอบด้วยเมล็ด 1 เมล็ด ที่มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล และเป็นมันวาว เมื่อเมล็ดแก่จะแตกออกเป็น 2 ซี่ ซึ่งด้านในจะมีเมล็ดย่อยจำนวนมาก

ประโยชน์ชะคราม
1. ยอดอ่อน และใบอ่อน ชาวบ้านนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เพื่อเพิ่มรสเค็มให้แก่อาหาร อาทิ แกงส้ม แพนงหมู-เนื้อ มัสมั่น แกงหอยแครง แกงปู รวมถึงรับประทานเป็นผักสดคู่กับน้ำพริกหรืออาหารอื่นๆ ทั้งนี้ ชาวบ้านมักนำใบชะครามมาลวกหรือต้มน้ำก่อน เพื่อลดความเค็มของเกลือ ก่อนนำไปประกอบอาหารหรือรับประทาน
2. ใบใช้ในการถอนอาการแพ้จากยางต้นไม้ต่างๆ

คุณค่าทางโภชนาการใบชะคราม (100 กรัม)

คุณค่าทางโภชนาการ ใบชะครามสด ใบชะครามลวก
โปรตีน 1.81% 1.58%
ไขมัน 0.15% 0.15%
ใยอาหาร 2.40% 2.10%
คาร์โบไฮเดรต 2.97% 2.49%
แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม 43.27 มิลลิกรัม
โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม 1656 มิลลิกรัม
วิตามิน C 0.14 มิลลิกรัม
เบต้า แคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม 1,265 ไมโครกรัม

 

ที่มา : 1)

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%8a%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1

สรรพคุณชะคราม
ใบสดหรือลวกประกอบอาหารรับประทาน
– ขับปัสสาวะ
– รักษาโรคโกโนเรีย
– รักษาโรคคอพอก
– กระตุ้นระบบประสาท
– บำรุงสายตา แก้อาการตามัว

น้ำต้มใบชะครามหรือขยำใบสดสำหรับใช้ภายนอก
– รักษากลาก เกลื้อน
– แก้อาการผื่นคัน
– ลดอาการบวมของแผล
– ลดอาการปวดจากพิษแมลงกัดต่อย
– แก้อาการพิษจากยางต้นตาตุ่มหรือยางพิษจากต้นไม้ต่างๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมนำใบชะครามาคั้นผสมกับน้ำมะพร้าว แล้วนำมาทาบริเวณที่สัมผัสกับยางตาตุ่มทะเล

เพิ่มเติมจาก : 2)

เอกสารอ้างอิง

untitled