ชบา (Hibiscus) ประโยชน์ และสรรพคุณชบา

Last Updated on 9 พฤศจิกายน 2017 by puechkaset

ชบา (Hibiscus) จัดเป็นไม้ประดับดอกที่นิยมปลูกกันทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศเขตร้อนของอเมริกา และแอฟริกา จนได้สมญานามว่า ราชินีแห่งดอกไม้เมืองร้อน นอกจากนั้น ยังนิยมนำดอก และใบที่มีสารเมือกมาใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพร และความงามอีกด้วย

• วงศ์ : Malvaceae
• สกุล : Hibiscus
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis
• ชื่อสามัญ :
– Hibiscus
– Tropical Hibiscus
– Hawaiian Hibiscus
– Shoe Flower
– China rose
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– ชบา
ภาคเหนือ
– ใหม่
– ใหม่แดง
ภาคใต้
– ชุมเบา
– บา
• ถิ่นกำเนิด : ประเทศ อินเดีย และประเทศเขตร้อนชื้นต่างๆ

%e0%b8%8a%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ชบา เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งระดับล่าง ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง แต่ใบมีขนาดใหญ่ และดก ทำให้แลดูมีทรงพุ่มทึบ เปลือกลำต้นมีเส้นใยและยางเมือก สามารถดึงลอกออกเป็นเส้นเชือกได้

ใบ
ชบา ใบแตกออกใบเดี่ยวๆ เรียงสลับตามความยาวของกิ่ง ใบมีหูใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร ใบมีรูปหลายลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ทั้งทรงกลม รูปไข่ ยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร โคนใบกว้าง ปลายใบแหลม มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร แผ่นใบมีทั้งโค้งเป็นลูกคลื่นหรือเรียบ และมีร่องของเส้นใบหลักประมาณ 3 เส้น แผ่นใบมีสีเขียวสดถึงเขียวเข้ม เป็นมัน และมีขนเล็กๆปกคลุม ส่วนขอบใบมีทั้งหยักตื้นหรือหยักเป็นฟันเลื่อยลึก เมื่อนำใบมาขยำจะมีน้ำเมือกเหนียวออกมา

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%8a%e0%b8%9a%e0%b8%b2

ดอก
ดอกชบาเป็นดอกสมบูรณ์ที่ออกเป็นดอกเดี่ยวๆบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกตูมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายหลอดแหลม มีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ่มด้านนอก โดยตัวดอกมีจำนวน กลีบเลี้ยง และกลีบดอก อย่างละ 5 อัน ซึ่งกลีบดอกมีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น โดยตัวดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ถัดมาเป็นริ้วประดับที่มีประมาณ 6-7 อัน รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นกลีบเลี้ยงสีเขียว แบ่งเป็น 5 กลีบ โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม เป็นรูประฆัง ส่วนกลีบดอก มี 5 กลีบ กลีบดอกมีรูปไข่กลับหรือมนเรียงซ้อนเป็นวงกลม แผ่นกลีบดอกอาจเรียบหรือย่น หรือบิดเป็นคลื่น ส่วนขอบกลีบมักย่นเป็นลูกคลื่น เส้นผ่าศูนย์กลางของกลีบดอกประมาณ 6-10 เซนติเมตร มีโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ซึ่งสีของกลีบดอกมีหลายสี และเป็นสีที่สดใส ฉูดฉาด อาทิ สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งมักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

ด้านในตรงกลางมีก้านชูเกสรยาว ซึ่งมักมีสีเดียวกันกับกลีบดอกหรือโคนกลีบดอก โดยส่วนปลายสุดเป็นอับเรณูของเกสรตัวผู้ และตัวเมีย

%e0%b8%8a%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%87

%e0%b8%8a%e0%b8%9a%e0%b8%b2
ขอบคุณภาพจาก : www.aga-agro.com

ประโยชน์ชบา
1. ชบา เป็นไม้ประดับดอกที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในฮาวาย และประเทศเขตร้อนต่างๆ เนื่องจาก ตัวดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกมีสีสันสวยงาม ทั้งปลูกในแปลงจัดสวน ปลูกหน้าบ้าน และปลูกในกระถาง
2. กลีบดอกชบาในต่างประเทศนิยมใช้ทัดหูหรือสอดประดับศรีษะ รวมถึงนำมาถกร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องศรีษะ ส่วนประเทศไทย การนำดอกชบามาทัดหูหรือประดับศรีษะจะไม่นิยม เนื่องจาก ในสมัยอดีตคนไทยมีความเชื่อว่า ดอกไม้ชนิดนี้ซึ่งมีสีสันฉูดฉาด ถือ เป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของหญิงกากีหรือหญิงสองใจ รวมถึงหญิงที่มักมากในกาม หญิงไม่มีการสำรวม ชอบเต้นรำหาความสำราญไปวันๆ
3. ชบา นอกจากปลูกเพื่อประดับดอกแล้ว ยังนิยมปลูกสำหรับเป็นแนวรั้วหน้าบ้านร่วมด้วย
4. กลีบดอกชบาที่มีสีสันฉูดฉาด นำมาคั้นสกัดเอาน้ำสำหรับต้มย้อมผ้า ย้อมสีกระดาษ รวมถึงใช้ผสมทำขนมของหวานเพื่อให้ขนมมีสี
5. กลีบดอกสด นำมาตากแห้ง 5-7 วัน ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม
6. กลีบดอกชบา นำมาขยำ ก่อนใช้พอกผม เพื่อกระตุ้นให้ผมงอก ช่วยให้ผมดกดำ
7. กลีบดอก และใบชบา นำมาขยำ และผสมน้ำเล็กน้อย ก่อนใช้ทาชโลมหน้าหรือผิวหนัง เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว และลดความแห้งกร้านของผิว
8. กลีบดอกชบา นำมาขยำให้เกิดน้ำสี สำหรับใช้เป็นสีทาลำตัว ทาเล็บ ทาขนตา รวมถึงใช้ทารองเท้าให้เกิดสี
9. ลำต้นชบา นำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเยื่อกระดาษ
10. เปลือกต้นชบาดึงลอกออกเป็นเส้น นำไปใช้แทนเชือกรัดของ ซึ่งให้ความเหนียวสูง ทั้งใช้เป็นเชือกสดหรือนำไปตากให้แห้งก่อน

สาระสำคัญที่พบในใบ และดอก
– Methyl sterculate
– Cyclopropanoids
– Methyl-2-hydroxysterculate
– 2-hydroxy-sterculate malvate
– β- rosasterol
– Taraxeryl acetate
– Cyanidin diglucoside
– Cyanidin glucoside
– Querectin diglucoside
– Hibiscotin

สารเมือกในใบ และดอกที่พบเป็น acidic polysaccharide ประกอบด้วย
1. L-rhamnose
2. D-galactose
3. D-galactouronic acid
4. D-glucuronic acid

ฤทธิ์ทางเภสัชกรรมของสารเมือก
– ต้านการอักเสบ
– เพิ่มความนุ่มลื่น
– ช่วยรักษาความชุ่มชื้น
– ช่วยเพิ่มการกระจายตัวของตัวยา
– เป็นสารช่วยยึดเกาะเนื้อยา
– ส่งเสริมการออกฤทธิ์ของยาให้นานขึ้น

ที่มา : 1) และ 2) กล่าวถึงในเอกสารหลายฉบับ

สรรพคุณชบา
ใบ และดอก นำมาต้มดื่มหรือใช้เติมแต่งอาหาร
– ต้านโรคมะเร็ง
– บำรุงตับ ป้องกันตับเสื่อมจากสารพิษ
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว

ใบ และดอก นำมาใช้ภายนอกร่างกาย
ใบหรือดอก นำมาขยำให้เกิดเมือกหรือผสมน้ำเล็กน้อย ก่อนใช้ทา ใช้ประคบหรือใช้สระ มีสรรพคุณ ดังนี้
– รักษาแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก
– รักษาแผลสด
– รักษาแผลติดเชื้อ แผลมีน้ำหนอง
– ป้องกันการอักเสบ และการติดเชื้อของแผล
– ช่วยลดอาการบวมซ้ำ
– กระตุ้นการงอกของเส้นผม
– บำรุงผมให้ดกดำ

ราก และลำต้น นำมาต้มดื่ม
– แก้อาการไอ อาการระคายคอ
– ช่วยขับเสมหะ
– รักษาหลอดลมอักเสบ
– รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด
– รักษามดลูกอักเสบ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด

ราก และลำต้น ใช้ภายนอก
– น้ำต้มจากราก และเปลือกลำต้น นำมาอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน
– น้ำต้มใช้อาบ ช่วยรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราชนิดต่างๆ

เพิ่มเติมจาก : 1) และ 2)

ลักษณะการใช้ประโยชน์จากใบ และดอกชบา
1. การใช้ชงหรือต้มดื่ม ที่อาจเป็นใบ/ดอกสดหรือตาแห้ง 3-5 ใบ
2. การใช้ผสมอาหาร จะใช้เฉพาะส่วนดอก 5-10 ดอก นำมาขยำ และคั้นแยกเอาเฉพาะน้ำที่เป็นสี
3. การใช้ทาหรือประคบ ที่ใช้ใบหรือดอกประมาณ 3-5 ใบ มาขยำ และผสมน้ำเล็กน้อย
4. การใช้สระหรือชโลมผม อาจใช้ทั้งสองอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดอก 5-6 ดอก หรือ ใบ 5-10 ใบ ก่อนนำมาตำบด และผสมน้ำหรือผสมแชมพูสระผม แต่หากหมัก อาจใช้ผสมครีมนวดหรือไม่ต้องผสมก็ใช้ได้เช่นกัน
5. การใช้อาบ นำส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วน อาจเป็นอย่างละ 10-20 ดอก/ใบ มาต้มน้ำอาบ

การปลูกชบา
พันธุ์ชบาที่นิยมปลูกมาจะเป็นพันธุ์ฮาวาย ซึ่งมีมากกว่า 400 ชนิด และทั่วไปนิยมปลูกจากต้นพันธุ์ที่ได้จากการตอนกิ่ง หรือ การปักชำ

การตอนกิ่งชบาจะเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ขนาดกิ่งประมาณเท่านิ้วก้อยถึงนิ้วชี้ ส่วนการปักชำชำกิ่งจะใช้ทั้งกิ่งขนาดใหญ่จนถึงเล็กประมาณเท่านิ้วชี้เช่นกัน ซึ่งจะตัดกิ่งให้ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนปักชำเอียง 45 องศา ในกระถางเพาะชำ

โรคชบา
โรคที่พบได้มากในชบา คือ โรคไวรัสในพืชที่ทำให้ชบามีความผิดปกติหลายอย่าง ได้แก่
– ลำต้นโทรม แคระแกร็น
– ใบด่าง
– ใบมีจุดประสีเหลือง
– ใบเหลือง
– ใบบิด
– ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยว

แหล่งอ้างอิง
untitled