น้ำมันรำข้าว

Last Updated on 7 มีนาคม 2015 by puechkaset

น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากรำข้าวที่ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว และจมูกข้าว อุดมด้วยกรดไขมัน และวิตามินสูง นิยมนำมาบริโภค ปรุงอาหาร ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

องค์ประกอบของน้ำมันรำข้าว
น้ำมันรำข้าวประกอบด้วยกรดไขมัน และวิตามินหลายชนิดที่มีประโยชน์ในการต้านการออกซิเดชันช่วยลดอนุมูลอิสระ และสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด โดยประกอบด้วยสารต่างๆ ดังนี้
1. กลุ่มไขมันที่ทำปฏิกิริยาสบู่ มีประมาณ 90-96%
– นิวตรอลลิปิด 89%
– ไตรกลีเซอไรด์ 83-86%
– ไดกลีเซอไรด์ 4%
– โมโนกลีเซอไรด์ 7%
– กรดไขมันอิสระ 4%
– แว็กซ์ 4%
– ไกลโคลิปิด 7%

– ฟอสโฟลิปิด 5%

น้ำมันรำข้าว

2. กลุ่มไขมันที่ทำปฏิกิริยาสบู่ มีประมาณ 4-10%
– ไฟโตสเตอรอล 43%
– สเตอรอล 10%
– ไตรเตอร์เพนแอลกอฮอล์ 28%
– โทโคฟีรอล 1%
– แกมม่าออริซานอล 2,200-3,000 ไมโครกรัม/กรัม
– โทโคฟีรอล และโทโคไตรอีนอล 210-440 ไมโครกรัม/กรัม
– โพลีฟีนอล 305-309 ไมโครกรัม/กรัม
– สควาลีน 4,000 ไมโครกรัม/กรัม
3. วิตามินอี 0.1-0.14%

ลักษณะทางกายภาพ
– มีลักษณะสีใสหรือสีเหลือง
– มีกลิ่นคล้ายน้ำมันถั่วเหลือง
– ความหนาแน่น 0.908-0.917
– อุณหภูมิต่ำสุดที่เกิดการตกตะกอนเป็นฝ้า 21 องศาเซลเซียส
– saponification value 190
– Iodine value 100-105
– Peroxide value 0.6

ประโยชน์น้ำมันรำข้าว
1. ใช้นำมาบริโภค และการปรุงประกอบอาหารในรูปของน้ำมันรำข้าว และเนยจากรำข้าว
2. เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางช่วยรักษาความชุ่มชื้นแก่ผิว
3. ใช้ชโลมผมหรือเป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางสำหรับบำรุงเส้นผมให้มันเงา ดกดำ
4. ใช้สำหรับทาเคลือบผิวโลหะป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อนของโลหะ
5. ใช้สำหรับทาเคลือบผลิตภัณฑ์หนังหรือเครื่องเรือนเพื่อให้เกิดความเงางาม
6. ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตสบู่ ช่วยหล่อลื่นกระบวนการทอผ้า ทอหนัง

ประโยชน์ในด้านสุขภาพ
1. ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
– ช่วยลดประมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
– ลดการจับตัว และตกตะกอนของเกล็ดเลือด
– ลดภาวะการสะสมไขมันในเส้นเลือด
– ลดภาวะความดันโลหิตสูง
– ลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
– ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

2. ระบบทางเดินอาหาร
– ลดภาวะการดูดซึมไขมัน และคอเลสเตอรอลในลำไส้
– ช่วยเพิ่มอัตราการหลังน้ำดี
– ต้านการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรค และเกื้อหนุนแบคทีเรียในกลุ่มแลคโตบาซิลัสในลำไส้
– ลดอาการปวดท้อง ท้องเดิน
– ช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

3. ระบบฮอร์โมน อวัยวะ และการนอนหลับ
– ช่วยส่งเสริมการหลั่งโกรทฮอร์โมนทำให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และระบบต่างๆได้ดีขึ้น
– ช่วยปรับสภาวะความสมดุลของฮอร์โมน
– ช่วยให้แผลหายเร็ว อาการเจ็บป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
– ช่วยให้นอนหลับง่าย หลับสนิท

4. ระบบประสาท และสมอง
– ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ความจำดีขึ้น
– ช่วยเสริมสร้างการนำพากระแสประสาท และซ่อมแซมระบบกระแสประสาท ช่วยให้ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมีอาการดีขึ้น

5. ระบบภูมิคุ้มกัน และการต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยต้านการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
– ช่วยเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน

แกมม่าออริซานอลถือเป็นสารที่พบมากในน้ำมันรำข้าวที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้มากในการบริโภคที่อาจบริโภคจากน้ำมันรำข้าวโดยตรง ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง และทางการแพทย์ ซึ่งมีคุณประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
1. ส่วนผสมในอาหาร
– ใช้เป็นสารป้องกันสารเปลี่ยนสีของอาหาร
– ใช้เป็นสารกันบูด กันเสียในอาหาร
– ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันพืชป้องกันการหืน

2. เครื่องสำอาง
– ใช้รักษาสภาพของสีเครื่องสำอาง
– ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางจำพวกครีมอาบน้ำ ครีมบำรุงผิวเพื่อรักษา และป้องกันโรคทางผิวหนัง
– ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางบำรุงผมเพื่อให้เส้นผมดกดำ
– เป็นส่วนผสมของยาทาเล็บเพื่อป้องกันเล็บเปลี่ยนสี
– เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกลาย ช่วยป้องกันเชื้อโรค

การสกัดน้ำมันรำข้าว
รำข้าวจะประกอบด้วยน้ำมันรำข้าว 5-20% ขึ้นอยู่กับคุณภาพของรำข้าว ซึ่งสามารถสกัดได้ด้วยวิธีการสกัด โดยรำข้าวจะผ่านกระบวนการทำความสะอาด และเข้าสู่กระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลายซึ่งนิยมใช้เฮกเซน และปิโตรเลียมอีเทอร์เป็นตัวทำละลาย ด้วยวิธีการแช่ซึ่งจะได้สารละลายของน้ำมันออกมา จากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการกรองแยกกากรำข้าว และมิสเซลลาออก พร้อมเข้าสู่กระบวนการแยกสารตัวทำละลายออกจนได้น้ำมันรำข้าวซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการรีฟายน์เพื่อทำให้น้ำมันรำข้าวมีความบริสุทธิ์โดยประกอบด้วยการกำจัดยางเหนียว การกำจัดไข การลดกรดไขมันอิสระ การฟอกสี และสุดท้ายด้วยการกำจัดกลิ่น