ไม้เศรษฐกิจ

Last Updated on 7 มีนาคม 2015 by puechkaset

ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นที่มีการปลูกเพื่อนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือเพื่อการค้า รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การสกัดน้ำมันหอมระเหย น้ำยาง เป็นต้น

ไม้เศรษฐกิจที่มีการปลูกในปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่
1. ไม้แผ่น และไม้แปรรูป
– ไม้สัก
– ไม้พยุง
– ไม่ชิงชัน
– ไม้ประดู่
– ตะเคียน
– กระถินเทพา
– มะค่า
– เต็ง
– พะยอม
– มะฮอกกานี
– ตะกู
– สะเดา

– จามจุรี
– จำปาป่า
– แดง
– มะฮอกกานี

2. ไม้เนื้อเยื่อ และการใช้สอย
– ยูคาลิปตัส
– ไม้ไผ่
– ไม้แปรรูปชนิดต่างๆที่มีอายุน้อย เช่น กระถินเทพา สะเดา เป็นต้น

3. ไม้สกัดยาง และน้ำมันหอมระเหย
– ยางพารา
– กฤษณา

ไม้เศรษฐกิจ

ไม้แผ่น ไม้แปรรูป เป็นลักษณะของการใช้ประโยชน์จากเนื้อด้วยการแปรรูปเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ บานประตู วงกบ หน้าต่าง ไม้แผ่นปูพื้น เป็นต้น ไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มักเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ขึ้น ไป และนิยมนำไม้ที่มีลักษณะของสี และลวดลายที่สวยงามมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เช่น ไม้สัก ไม้พะยุง ไม้ประดู่ และไม้อื่นๆที่มีเนื้อไม้ และแก่นที่สวยงาม

ไม้เนื้อเยื่อ และการใช้สอย เป็นลักษณะของการใช้ประโยชน์จากไม้ในด้านการนำเยื่อมาทำเป็นประดาษ และนำกิ่งหรือลำต้นมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เสาค้ำยัน เสาโรงเรือน เป็นต้น

– ไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นกระดาษ ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถิน ไม้กระถินเทพา ไม้สะเดา เป็นต้น เป็นลักษณะของไม้โตเร็วที่มีเนื้อเยื่อ และแก่นไม่แข็งมากนัก

– ไม้ใช้สอย ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ และลำต้นไม้ชนิดอื่นที่มีขนาดลำต้นไม่ใหญ่มากนัก มักนิยมนำไม้โตเร็วชนิดต่างๆมาใช้ประโยชน์ รวมถึงไม้ชนิดอื่นๆที่มีราคาต่อต้นต่ำ

ไม้สกัดยาง และน้ำมันหอมระเหย เป็นลักษณะของการใช้ประโยชน์จากของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของไม้ยืนต้นด้วยการกรีดหรือการสกัด เช่น น้ำยางพารา และน้ำมันหอมระเหยจากต้นกฤษณา เป็นต้น ไม้เศรษฐกิจยืนต้นจำพวกนี้มีลักษณะที่มียางหรือน้ำมันหอมรเหยเป็นส่วนประกอบของลำต้นอยู่มาก และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากไม้ยืนต้นชนิดอื่น

ทั้งนี้ ไม้เศรษฐกิจบางชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง แต่หากการปลูกไม้เศรษฐกิจชนิดใดชนิดหนึ่งมักมุ่งหวังในด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะ แต่ก็มักมีผลประโยชน์พลอยได้อย่างอื่นตามมาด้วย เช่น ไม้ยูคาลิปตัสนิยมปลูกเพื่อขายต้นสำหรับนำมาบดเยื่อทำกระดาษ แต่การตัดไม้ก็สามารถนำกิ่งมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ และสามารถแปรรูปเป็นไม้แผ่นหากลำต้นมีขนาดใหญ่ รวมถึงยังนิยมนำมาเป็นไม้ค้ำยันในงานก่อสร้างด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน การปลูกไม้เศรษฐกิจมีการส่งเสริมให้ปลูกมากทั้งเพื่อการนำใช้สอย และเพื่อค้าขาย ส่วนกล้าไม้ทางหน่วยงานของรัฐจากกรมป่าไม้ได้จัดหากล้าไม้แจกฟรี ซึ่งประชาชนหรือหน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลสามารถติดต่อรับกล้าไม้ได้ที่ศูนย์ เพาะชำกล้าไม้ในแต่ละจังหวัด

การปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อการใช้สอยสามารถ ปลูกได้ตามคันนาหรือตามพื้นที่ว่างตามหัวไร่ปลายนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์เอง

การปลูกไม้เพื่อขายมีทั้งการปลูกในระดับเพียงไม่กี่ต้นจนถึงการปลูกเป็นสวนป่าจำนวนหลายร้อยไร่ เพื่อตัดจำหน่าย สำหรับการปลูกไม้เศรษฐกิจลักษณะนี้พบมาก เช่น ไม้สัก ไม้สะเดา ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับไม้สัก และไม้ยางนา หากมีการปลูกและการตัดจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เสียก่อนเพราะเป็นไม้ หวงห้ามตามกฎหมาย

การเพาะขายพันธุ์
1. การเพาะเมล็ด
เป็นวิธีการเพาะขยายพันธุ์ที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากง่าย สะดวก ต้นทุนต่ำ และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ต้นกล้าครั้งละจำนวนมากๆได้ การเพาะด้วยเมล็ดมีแนวทาง ดังนี้
– การเตรียมดิน จะใช้ดินร่วนปนทรายหรือดินลักษณะใดก็ได้ ผสมกับวัสดุอื่นๆในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 1:2 เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุยมะพร้าว มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น โดยผสมให้เข้ากัน
– การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้หาเมล็ดพันธุ์ที่แก่หรือร่วงจากต้นแล้ว โดยคัดเลือดจากต้นที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ลำต้นตรง มีกิ่งน้อย ไม่มีโรค เพื่อใช้เป็นต้นพันธุ์
– อุปกรณ์ในการเพาะนิยมเพาะในถุงพลาสติกดำหรือกระบะเพาะ
– ทำการบรรจุดินที่เตรียมใส่ถุงพลาสติกหรือกระบะเพาะ
– ใส่เมล็ดพันธุ์ และกลบด้วยดิน โดยไม่ควรให้เมล็ดพันธุ์ฝังลึกเกินไป
– ทำการรดน้ำเป็นประจำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น
– เมล็ดอาจงอกในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน
– หากใช้กระบะเพาะ เมื่อต้นกล้าโตแล้วในระยะหนึ่งจะต้องย้ายกล้าอ่อนไปเพาะต่อในถุงพลาสติกดำ วิธีนี้เหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดเล็กเท่านั้น

2. การปักชำ
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์สำหรับไม้บางชนิด เพาะไม้เศรษฐกินส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง การปักชำไม่สามารถทำได้หรือหากได้ก็ทำได้น้อยมาก เหมาะสำหรับไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เช่น ประดู่ กระถินเทพา เป็นต้น เพื่อให้ได้ต้นที่มีลักษณะตรงตามต้นพันธุ์มากที่สุด และเป็นการขยายพันธุ์เพื่อรักษาต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นนั้นไว้

3. การตอน
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม มักมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับการปักชำ

การปลูก
การปลูกจะใช้วิธีการปลูกจากต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ทั้งการปลูกในแปลงหรือการปลูกตามหัวไร่ปลายนา ตามคันนา สามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 2×2 เมตร จนถึงระยะ 10×10 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้นั้น
– ไม้เนื้อเยื่อหรือไม้ที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 2×2 เมตร ขึ้นไป
– ไม้สำหรับการแปรรูป ควรปลูกในระยะตั้งแต่ 4×4 เมตร ขึ้นไป ซึ่ง 1 ไร่ จำได้ 400 ต้น เช่น สัก ประดู่ มะฮอกกานี เป็นต้น และควรมากกว่า 4×4 เมตร หากเป็นไม่ที่มีทรงพุ่มใหญ่ และจำเป็นต้องตัดในช่วงอายุ 10-15 ปี

การดูแล
– การให้น้ำ ส่วนมากจะอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล อาจจำเป็นต้องให้น้ำหลังการปลูกใหม่ในระยะ 1-2 ปีแรก โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่หน้าดินแห้ง และฝนไม่ตก
– การใส่ปุ๋ย อาจทำการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ประมาณปีละครั้งบริเวณโคนต้น
– การไถพรวนดิน และการกำจัดวัชพืช ควรทำการไถพรวนดินตามช่วงห่างของต้นเพื่อกลบหน้าดิน และกำจัดวัชพืช อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
– การทำแนวกันไฟ ด้วยการไถกลบ และการกำจัดวัชพืช
– การตัดติ่งกิ่ง ควรทำการตัดแต่งกิ่งในบางต้นที่มีกิ่งแตกขยายมาก ทรงพุ่มใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรตัดแต่งกิ่งเมื่อไม้มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปไม้
– โรงเลื่อย
– โรงงานอัดน้ำยาไม้
– โรงอบไม้
– โรงงานกระดาษ
– โรงงานไม้อัด
– โรงงานไฟเบอร์บอร์ด และปาร์ติเกิ้ลบอร์ด
– โรงงานเฟอร์นิเจอร์ และแปรรูปไม้
– โรงงานไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไม้ตะเกียบ