โทงเทง และสรรพคุณโทงเทง

Last Updated on 24 สิงหาคม 2016 by puechkaset

โทงเทง จัดเป็นพืชล้มลุกที่ให้ผลอายุปีเดียว เป็นพืชผลไม้ป่าหรือผลไม้ท้องถิ่นที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค นิยมเก็บผลสุกมารับประทาน เนื่องจากเปลือกผลกรอบ และเนื้อผลให้รสเปรี้ยวอมหวาน

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Physalis angulata
• วงศ์ : Solanaceae
• ชื่อเรียกอื่น :
– โคมจีน
– โคมญี่ปุ่น
– เผาะแผะ
– ตุ้งติ้ง
– มะก่องเช้า
– เต็งอั้งเช้า

การกระจายพันธุ์
โทงเทงเป็นพืชอวบน้ำ ชอบดินร่วนที่มีความชื้นสูง เป็นพืชที่พบทั่วไปตามแหล่งน้ำขังหรือบริเวณพื้นที่ที่มีดินชุ่มมาก เช่น ริมแม่น้ำ ริมคลอง ทุ่งนาร้าง เป็นต้น

tongteng3

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น
โทงเทง เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-40 ซม. ลำต้น และกิ่งมีสีเขียวอ่อน มีลักษณะเป็นเหลี่ยม และมีน้ำมาก

tongteng1

2. ใบ
ใบโทงเทง เป็นใบเดี่ยว สีเขียวอ่อน ออกเรียงสลับตามข้อกิ่ง ใบมีรูปไข่ทรงรี กว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 3-6 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม มีลักษณะเป็นติ่ง ขอบใบเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย ผิวใบมีร่องคล้ายร่างแห มีขนปกคลุม

3. ดอก
ดอกโทงเทง ออกเป็นช่อ มีก้านดอกสั้น แทงออกบนซอกใบตามข้อลำต้น และกิ่ง ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน แยกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง ขนาด 4-6 มม. เกสรตัวผู้ 5 อัน

tongteng2

4. ผล
ผลโทงเทง มีลักษณะกลม เรียบมัน ขนาด 12 มม. ประกอบด้วยกลีบรองดอกหุ้มผล กลีบหุ้มมีลักษณะเป็นแผ่นบางเชื่อมติดกันเป็นเหลี่ยม ผลอ่อนจะมีกลีบรองดอก และผลสีเขียว เมื่อแก่กลีบรองดอกจะแห้งมีสีน้ำตาล ร่องเหลี่ยมปริแตกออก จนมองเห็นผล มีสีเหลืองอมส้ม ผิวเป็นมัน ด้านในประกอบด้วยเมล็ดรูปกลมแบน สีเหลือง ขนาดประมาณ 2 มม. จำนวนมาก

สารสำคัญที่พบ
• chlorophyll
• Physalins
• Dihydroxyphysaline B
• Physaline F
• Withangutalin B
• Physagulidines A, B และC
• Salasodine Glycosides
• Hygrine alkaloids
• Flavone 5, 6, 7-trimethoxy
• Flavone 5-methoxy-6, 7-methylenedioxy
• Hyperoxide
• Phygrine
• Physalin A,B,C,D,E,X
• Withaminimin
• Withanolides
• Withaphysalin A,B,C

ที่มา : (วราภรณ์ และศรีสมพร , 2548)(1)

สรรพคุณ
• ใบมีสรรพคุณแก้อาการหืดหอบ
• ใบ ใช้ระงับอาการปวด
• ลำต้น ใช้แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในลำคอ
• ใบ และลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
• ใบ ลำต้น ดอก ต้มน้ำดื่ม แก้กระหายน้ำทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ แก้อาการเจ็บคอ รักษาแผลในปาก
• ใบ ลำต้น ดอก ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ
• ทุกส่วน นำมาต้มน้ำดื่ม ใช้เสริมภูมิต้านทาน ป้องกันโรคมะเร็ง
• ใบ และลำต้น บดละเอียดใช้ทา แก้ฟกช้ำ รักษาแผล แผลอักเสบ แผลเป็นหนอง ฝี แก้ผิวหนังเป็นผืน
• ผล และเมล็ด ใช้บดทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้แผลติดเชื้อ แผลอักเสบ แผลเป็นหนอง
• ผล และเมล็ด ต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
• ราก ต้มน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

tongteng

สารออกฤทธิ์
• คลอโรฟิลล์ (chlorophyll )ที่พบในลำต้น และใบมีสรรพคุณหลายด้าน อาทิ
– เป็นสารให้พลังงาน ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ป้องกันโรคโลหิตจาง
– ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันโรคภูมิแพ้
– เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอวัยวะจากพิษของสารเคมี เช่น ตับ ไต เป็นต้น รวมถึงต้านการเกิดเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ
– เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ เซลล์ผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณแลดูสดใส และเต่งตึง
– ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาแผล แผลติดเชื้อ
– ช่วยกระตุ้นการทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบการขับถ่าย
– ป้องกันโรคติดเชื้อ และโรคท้องร่วงในระบบทางเดินอาหาร
– ช่วยดูดซึมน้ำกลับบริเวณลำไส้ และดูดซึมแร่ธาตุ

• แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ได้แก่ แคโรทีน(carotene) และแซนโทฟิลล์(xanthophyll) สารตั้งต้นของวิตามินเอ ที่พบในผล ออกฤทธิ์รวมกัน ได้แก่
– ช่วยต้านการเสื่อมของเซลล์ บำรุงผิวหนัง ป้องกันอันตรายจากรังสีดวงอาทิตย์ ทำให้ผิวพรรณแลดูสดใส ผิวไม่หมองคล้ำ
– ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันสายตาเสื่อม ช่วยให้มองเห็นได้ดีในเวลากลางคืน
– ช่วยป้องกันโรคตาชนิดต่างๆ อาทิ ต้อกระจก ต้อหิน ตาอักเสบ เป็นต้น
– ช่วยรักษาเยื่อบุในร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก ระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ
– ช่วยกระตุ้นการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคภูมิแพ้ และโรคอื่นๆ
– ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด

• วิตามินซี (ascorbic acid)
– ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายให้เป็นปกติ โดยเฉพาะเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร
– ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างคอลาเจน ทำให้กระดูก และฟันแข็งแรง
– ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการเสื่อมของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณแลดูสดใส
– คุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเป็นพิษความเป็นพิษของอนุมูลในร่างกายที่มีต่ออวัยวะต่างๆ
– วิตามินซีทำหน้าที่เปลี่ยนรูปเหล็กเฟอร์ริก (Fe+3) เป็นเหล็กเฟอร์รัส (Fe+2) ทำให้ลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
– คุณสมบัติเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจะช่วยเม็ดเลือดแดงความแข็งแรง และป้องกันโรคโลหิตจาง
– ออกฤทธิ์ช่วยบำรุงตับ ป้องกันโรคตับ และป้องกันอันตรายของตับจากสารเคมี ได้แก่ ลดพิษของ nitrosamin ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตับอักเสบ ไต
– ออกฤทธิ์ให้อิเล็กตรอนแก่สารอนุมูลอิสระ และสารพิษต่างๆ ทำให้ร่างกายกำจัดออกได้ง่ายขึ้น
– ออกฤทธิ์เสริมสร้างภูมิต้านทาน เสริมสร้า้งการทำงานเม็ดเลือดขาว รักษาโรคหวัด และป้องกันโรคต่างๆ
– ออกฤทธิ์เสริมสร้างความแข็งแรงของผนังเส้นเลือด ป้องกันผนังเส้นเลือดแตกที่เป็นสาเหตุเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงเลือดออกตามไรฟัน
– ฤทธิ์เสริมสร้างคอลาเจนในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ หากเกิดแผลจะช่วยซ่อมแซมแผลให้หายเร็ว ลดการสูญเสียเลือดมาก

การใช้ประโยชน์
• ผลสุกนำมารับประทานสด
• ลำต้น และใบ นำมาตากแห้ง บดให้ละเอียดอัดใส่แคปซูลรับประทาน
• ลำต้น และใบ นำมาตากแห้ง ใช้ชงเป็นชาดื่ม
• ลำต้น และใบนำมาต้มน้ำดื่ม ใส่เกลือ และน้ำมะนาวเล็กน้อย

เอกสารอ้่างอิง

3