หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย สรรพคุณ และประโยชน์หญ้าปากควาย

Last Updated on 8 กันยายน 2016 by puechkaset

หญ้าปากควาย หรือ หญ้าปากกล้วย (crowfoot grass) จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคอีสาน พบแพร่กระจายมากตามนาลุ่ม นาดอน และพื้นที่ไร่ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ดีในพื้นที่ดินเค็ม ทั้งนี้ จัดเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นอาหารของโค กระบือในการปล่อยเลี้ยงในช่วงฤดูแล้ง

• วงศ์ : Poaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dactyloctenium aegyptium (L.) Beauv.
• ชื่อสามัญ :
– crowfoot grass
– Egyptian fingergrass
– beach wiregrass
• ชื่อท้องถิ่น :
– หญ้าปากควาย
– หญ้าปากกล้วย
• ถิ่นกำเนิด : เอเชีย และแอฟริกา

การแพร่กระจายหญ้าขน
หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย เป็นหญ้าท้องถิ่นที่พบในประเทศต่างๆของทวีปเอเชีย และและบางประเทศของอเมริกา ส่วนประเทศไทยพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ และภาคได้ในทุกภาค เป็นหญ้าที่ชอบขึ้นบนพื้นที่ไร่ พื้นที่ดอนที่ไม่มีน้ำท่วมขัง รวมถึงตามพื้นที่ว่างในบ้านหรือชุมชนเมือง ทั้งนี้ จัดเป็นหญ้าที่สามารถเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นดินเค็มด้วย นอกจากนั้น ถือเป็นหญ้าที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว เนื่องจากมีเมล็ดขนาดเล็ก สามารถปลิวตามแรงลมหรือติดกับร่างกายสัตว์ไปแพร่พื้นที่อื่นได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย เป็นหญ้าอายุปีเดียว แต่อาจพบบางต้นเติบโตได้นานมากกว่า 1 ปี ได้ โดยลักษณะลำต้นจะแตกไหลเป็นลำต้นย่อยออกจากโคนลำต้นหลักได้ 5-10 ต้น แต่ลำลำต้นมีลักษณะค่อนข้างแบน ผิวลำต้นเรียบ สีเขียวอมน้ำตาล สูงประมาณ 20-60 เซนติเมตร เนื้อเยื่อลำต้นอ่อน แต่ค่อนข้างเหนียว ดึงขาดได้ยาก

หญ้าปากควาย1

ใบ
หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แตกใบเดียวเรียงสลับกันจากด้านข้างของลำต้น ใบมีกาบใบแผ่ห่อหุ้มลำต้นไว้ ใบลักษณะเรียวยาว ขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-18 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบน และขอบใบมีขนอ่อนปกคลุม และแผ่นใบด้านล่างบริเวณรอยต่อของกาบใบจะมีแผ่นกันน้ำที่มีส่วนปลายแยกเป็นฝอย

ดอก
หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย เป็นดอกสมบูรณ์ที่ผสมเกสรได้ในตัวเอง ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลด จำนวน 1 ช่อ/ต้น ช่อดอกแยกออกเป็นแฉกๆ 3-8 แฉก แต่ทั่วไปพบมากที่ 5 แฉก แต่ละแฉกหรือก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร แต่ละก้านดอกย่อยมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อย เรียงกันเป็นระเบียบขนานกัน ซ้าย-ขวา ดอกอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล เมื่อแก่หรือแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอมขาว

ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกาบนอกห่อหุ้ม และ มีขนแข็งที่มีลักษณะโค้งงอบริเวณปลายดอก ส่วนกาบใน จะมีขนาดสั้นกว่ากาบนอก ภายในมีเกสรตัวผู้ 3 อัน ทั้งนี้ หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วยจะออกดอกได้ตลอดปี

หญ้าปากควาย1

ผล และเมล็ด
ผลแบบผลธัญพืช มีรูปร่างกลม ขนาดเล็ก มีเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล

ดอกหญ้าปากควาย

สรรพคุณหญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย
1. ช่วยลดตัวร้อน ช่วยบรรเทาอาหารไข้
2. ช่วยแก้ร้อนใน
3. ช่วยขับปัสสาวะ
4. แก้อาการท้องเสีย
5. ช่วยในการย่อยอาหาร

เพิ่มเติมจาก : 1)

ประโยชน์หญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย
1. ทุกส่วนของลำต้นใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับโค กระบือ โดยเฉพาะในภาคอีสานที่พบหญ้าปากควายมากตามคันนา และแปลงนา ซึ่งเกษตรกรมักปล่อยโค และกระบือให้เล็มกินหญ้าชนิดนี้ เริ่มตั้งแต่ฤดูหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
2. ทั้งช่อดอก หรือช่อเมล็ด ใช้ต้มดื่มแทนชา
3. เมล็ดใช้ทำอาหาร เช่น ชาวอินเดีย และแอฟริกา
4. ใช้ปลูกเป็นหญ้าคลุมดิน ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน
5. ใช้ปลูกเพื่อป้องกันดินเค็ม ลดการเคลื่อนตัวของเกลือไม่ให้ขึ้นมาหน้าดิน ซึ่งถือเป็นหญ้าทนเค็มได้ดีอีกชนิดหนึ่ง

ของเสียหญ้าปากควาย/หญ้าปากกล้วย
ข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ที่เห็นเด่นชัด คือ เป็นวัชพืชในนาข้าวที่คอยแย่งอาหาร และน้ำจากต้นข้าว ซึ่งจะเติบโตได้ดีหากแปลงนาไม่มีน้ำขัง

เอกสารอ้างอิง
2