สิรินธรวัลลี/ประดงแดง ประโยชน์ และสรรพคุณสิรินธรวัลลี

Last Updated on 17 พฤศจิกายน 2016 by puechkaset

สิรินธรวัลลี หรือ ประดงแดง จัดเป็นไม้ป่าหายากที่ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจาก เป็นไม้ที่ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกหรือตัวดอกมีสีน้ำตาลอมแดง แลดูสวยแปลกตา อีกทั้ง ลำต้นเป็นไม้เลื้อยที่ใช้ปลูกเป็นซุ้มบังแดดได้ดี

• วงศ์ : LEGUMINOSAE
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia sirindhorniae K.& S.S. Larsen
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– สิรินธรวัลลี
ภาคอีสาน
– สามสิบสองประดง
– ประดงแดง

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
สิรินธรวัลลี มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และลาว โดยพบเติบโตมากในระดับความสูง 150-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดหนองคาย จังหวัดสกนคร และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งพบได้ตามชายป่าดิบแล้งหรือป่าเบญจพรรณ อาทิ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%b5

ประวัติสิรินธรวัลลี/ประดงแดง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ดร.ชวลิต นิยมธรรม และคณะ ได้เดินทางเข้าสำรวจพันธุ์ไม้ตามชายป่าดิบแล้งบนเทือกเขาในจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้พบต้นเสี้ยวที่มีลักษณะแตกต่างกับกับเสี้ยวชนิดอื่นๆที่เคยพบมา

ต่อมาเมื่อ ศ.ไค ลาร์เซน (Kai Larsen) ชาวเดนมารก์ นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ได้เดินทางมาตรวจสอบชนิดพันธุ์ไม้ต่างๆของกรมป่าไม้ และดร.ชวลิต ได้ส่งตัวอย่างต้นเสี้ยวที่พบมาให้ตรวจสอบอย่างละเอียด ผลปรากฏว่า ตัวอย่างต้นเสี้ยวดังกล่าว เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน โดยมีลักษณะเด่น คือ ตัวดอกมีมีกลีบเลี้ยงที่ห่อหุ้มดอกคล้ายกาบ ทำให้กลีบดอกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไม่สามารถบานแพร่หรือกางออกเหมือนกับดอกเสี้ยวชนิดอื่น

ต่อมา กรมป่าไม้จึงขอพระราชทานการตั้งชื่อประจำเสี้ยวพันธุ์นี้ ด้วยการใช้พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพราะพระองค์ได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับทางด้านพฤกษศาสตร์มาตลอด ในชื่อว่า Bauhinia sirindhorniae K.& S.S. Larsen หรือในชื่อภาษาไทยว่า สิรินธรวัลลีอัน ซึ่งหมายถึง วลัยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพฯนั่นเอง และต่อมาปี พ.ศ. 2542 นักพฤกษศาสตร์จากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้มีการค้นพบแหล่งของสิรินธรวัลลีเพิ่มขึ้นมาอีก คือ บริเวณเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร

ที่มา : 3)

%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%b5

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
สิรินธรวัลลี เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยได้ยาวมากกว่า 20 เมตร กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง เปลือกเถามีสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกแตกล่อนเป็นริ้วๆ บริเวณเถามีมือเกาะสำหรับช่วยเกาะพยุงลำต้นให้เลื้อยพาด ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่พาดไปตามต้นไม้หลายสิบเมตร

%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99

ใบ
ใบสิรินธรวัลลีออก เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันบนกิ่ง มีก้านใบยาว 2-6.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นหูใบที่ 2 ข้าง ข้างละ 9-11 เส้น หูใบมีลักษณะเป็นเส้นม้วนงอ ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจ โคนใบกว้าง และเว้าตรงกลางเป็นฐานรูปหัวใจ ปลายใบสอบ และโค้งมน แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา และหยาบ โดยแผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า และมีขนปกคลุมเล็กน้อย แต่จะมีขนปกคลุมมากบริเวณเส้นกลางใบ เกลี้ยง ขนาดใบกว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 7-18 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ใบโตเต็มที่มีแผ่นใบสีเขียว

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%b5

ดอก
สิรินธรวัลลี ออกดอกเป็นช่อกระจุกซ้อนกันบริเวณปลายยอด กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกหลักยาว 10-15 เซนติเมตร และก้านดอกย่อยยาว 2-3 เซนติเมตร และมีขนสั้นๆปกคลุม ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%b5

ดอกย่อยมีสีน้ำตาลแดง ดอกตูมมีรูปรี กว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร เมื่อดอกบานจะกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง จำนวน 5 กลีบ มีโคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบเลี้ยงแยกเป็นแฉก ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ผิวกลีบเลี้ยงมีขนปกคลุม ถัดมาเป็นกลีบดอกสีน้ำตาลแดง รูปหอก จำนวน 5 กลีบ ปลายกลีบแยกเป็นแฉก กว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ส่วนตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ 3 อัน มีก้านชูเกสรยาวประมาณ 12-15 มิลลิเมตร ปลายก้านมีอับเรณูกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ถัดมาเป็นเกสรตัวเมียที่มีก้านเกสรยาว 7-10 มิลลิเมตร ผิวก้านมีขนปกคลุม ทั้งนี้ สิรินธรวัลลีจะออกดอก และติดผลต่อเนื่องตลอดในช่วงเดือนสิงหาคม – ธันวาคม

ผล
ผลสิรินธรวัลลี เรียบกว่า ฝัก โดยฝักสิรินธรวัลลีมีลักษณะแบน กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาลแดง และมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมแน่น ด้านในฝักมีเมล็ด 5-7 เมล็ด แต่ละเมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ ขนาดเมล็ด 1.5-2 เซนติเมตร

ประโยชน์สิรินธรวัลลี/ประดงแดง
1. ดอกสิรินธรวัลลีออกดอกเป็นช่อใหญ่ ตัวดอกมีสีน้ำตาลแดงสวยงาม จึงใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน และสถานที่ราชการ
2. สิรินธรวัลลีมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยหนา และแตกใบดก จึงปลูกเพื่อทำซุ้มสำหรับเป็นร่มเงาบังแดด

สรรพคุณสิรินธรวัลลี/ประดงแดง
ราก และลำต้น
– ราก และลำต้นนำมาต้มดื่ม ช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
– น้ำต้มนำมาดื่ม แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
– ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
– ราก และเปลือกนำมาต้มอาบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ผื่นแพ้ แก้ลมพิษ
– น้ำต้มอาบช่วยรักษาโรคผิวหนัง
– รากนำมาฝนหรือบด ก่อนใช้ทารักษาแผลสด หรือ แผลมีน้ำหนอง
– นำมาฝนทารักษาอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

ใบ
– ดอกนำมาต้มดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยในการขับพยาธิ
– ใบนำมาบด ก่อนใช้ประคบรักษาแผลสด แผลมีน้ำหนอง

ดอก
– ดอกนำมาตากแห้ง ก่อนใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ช่วยการเจริญอาหาร และบำรุงร่างกาย
– ช่วยรักษาฝี
– รักษาบาดแผล
– แก้น้ำหนองไหล
– แก้ริดสีดวง
– บำรุงระบบประสาท
– กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
– ปรับความดันเลือดให้ปกติ
– ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
– ช่วยแก้พิษไข้ แก้พิษบาดแผลอักเสบ
– แก้อาการปวดบวม

ผล
– ดอกนำมาต้มดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ
– แก้โรคหนองใน หรือกามโรคต่างๆ
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– แก้น้ำหนองไหล
– แก้ริดสีดวง

ข้อควรระวัง
สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานยาสมุนไพรที่ใช้ทุกส่วนของสิรินธรวัลลีเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้แท้งได้

เพิ่มเติมจาก 1), 2), 4)

การปลูกสิรินธรวัลลี/ประดงแดง
สิรินธรวัลลีสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี อาทิ การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง ทั้งนี้ สิรินธรวัลลีสามารถเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ซึ่งอาจปลูกได้ทั้งการปลูกลงดิน และการปลูกในกระถาง

ขอบคุณภาพจาก www.phargarden.com, www.pharmacy.msu.ac.th

เอกสารอ้างอิง
untitled