ยาหอม และสรรพคุณ

Last Updated on 23 พฤษภาคม 2015 by puechkaset

ยาหอมไทย เป็นตำรับยาไทยที่มีประวัติการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณที่มีหลักฐานจากบันทึก ในตำราดั้งเดิม เช่น ตำรายาวัดโพธิ์ ทั้งนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ยาหอมเป็นยาสามัญประจำบ้าน ในปี 2542 ประกอบด้วยตำรับยาหอมต่างๆ ได้แก่ ยาหอมอินทรจักร, ยาหอมนวโกฐ, ยาหอมทิพยโอสถ และยาหอมเทพจิต

นอกจากนี้ ยังมียาหอมชนิดต่างๆที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักคณะกรรมการอาหาร และยา โดยให้มีการจัดจำหน่ายตามร้านขายยาแผนโบราณ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นเหียนอาเจียน หน้ามืดตาลาย อ่อนเพลีย จุกเสียด แน่นท้อง เป็นต้น

ตัวอย่างส่วนประกอบ
ยาหอมไทยเป็นยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่
– พิมเสน 7.1 กรัม
– เหง้าว่านน้ำ 3.5 กรัม
– เล่งเฮียงเฉ้า 3.3 กรัม
– เปลือกส้มเขียวหวาน 7.1 กรัม
– เปลือกจำปา 11.8 กรัม
– อบเชย 7.1 กรัม
– สะระแหน่ 3.5 กรัม
– เหง้าผักชี 9.3 กรัม
– ชะเอมเทศ 4.8 กรัม
– เสม็ด 7.1 กรัม
– กฤษณา 7.1 กรัม
– เมนทอล 4.7 กรัม
– พิมเสน 1.4 กรัม

1. ยาหอมทิพโฮสถ
ยาหอมทิพโอสถจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพคุณแก้ลม แก้วิงเวียนศรีษะ บรรจุในขวดแก้วกลม ขนาด 15 กรัม/ขวด ราคาขวดละประมาณ 72-80 บาท มีอายุของตัวยาประมาณ 3 ปี ขนาดใช้ ครั้งละ ครึ่งช้อนชา ถึง 1 ช้อนชา ด้วยการชงกับน้ำหรือชงในน้ำร้อนดื่ม

tipo

2. ยาหอมเทพจิตร
ยาหอมเทพจิตรจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพคุณแก้ลม บำรุงหัวใจ บรรจุในขวดแก้วกลม ขนาด 15 กรัม/ขวด ราคาขวดละประมาณ 72-80 บาท มีอายุของตัวยาประมาณ 3 ปี ขนาดใช้ ครั้งละ ครึ่งช้อนชา ถึง 1 ช้อนชา ด้วยการชงกับน้ำหรือชงในน้ำร้อนดื่ม

tepjit

3. ยาหอมอินทจักร์
ยาหอมทิพโอสถจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพคุณแก้ลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียนศรีษะ บรรจุในขวดแก้วกลม ขนาด 15 กรัม/ขวด ราคาขวดละประมาณ 72-80 บาท มีอายุของตัวยาประมาณ 3 ปี ขนาดใช้ ครั้งละ ครึ่งช้อนชา ถึง 1 ช้อนชา ด้วยการชงกับน้ำหรือชงในน้ำร้อนดื่ม

intajak

4. ยาหอมนวโกฐ
ยาหอมทิพโอสถจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพคุณแก้ลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียนศรีษะ บรรจุในขวดแก้วกลม ขนาด 15 กรัม/ขวด ราคาขวดละประมาณ 108-120 บาท มีอายุของตัวยาประมาณ 3 ปี ขนาดใช้ ครั้งละ ครึ่งช้อนชา ถึง 1 ช้อนชา ด้วยการชงกับน้ำหรือชงในน้ำร้อนดื่ม

navag

ที่มา : – บัญชียาหลักแห่งชาติ, 2558(1)
– ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม และภาพจาก www.abhaithaiherb.com

สรรพคุณยาหอม
– ปรับสมดุลของเลือดลมในร่างกาย แก้ความดันโลหิตต่ำ บำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท  ช่วยระบบการไหลเวียนของระบบโลหิต
– ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นเหียนอาเจียน อาการหน้ามืดเป็นลม ใจสั่นแล้ว
– ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ อาการปวดศรีษะจากไมเกรน และอาการปวดศีรษะข้างเดียว
– ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ นอนไม่หลับ
– การรับประทานในรูปแบบต่างๆจะช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะการใช้
ยาหอมเป็นยาชนิดรับประทาน มีทั้งชนิดผง และชนิดเม็ด มีรสขมเล็กน้อย สามารถรับประทานในหลายรูปแบบ ได้แก่ การชงน้ำร้อนดื่มรับประทานหรือละลายน้ำจิบรับประทาน และการรับประทานชนิดเม็ด เคี้ยวให้ละเอียด แล้วตามด้วยน้ำ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Matangkasombat, 1974.(2) ได้รายงานการศึกษาฤทธิ์ของยาหอมในหนูขาว พบว่า สารสกัดยาหอมจากคลอโรฟอร์ม และน้ำ ให้ผลช่วยเพิ่มความดันเลือดได้ ส่วนสารสกัดจากแอลกอฮอล์มีผลช่วยลดความดันโลหิต

Wangmad และคณะ, 1986.(3) ได้ศึกษาฤทธิ์ยาหอม 4 ยี่ห้อในหนูทดลอง พบว่า ยาหอม 3 ยี่ห้อ ออกฤทธิ์ลดความดันเลือดได้ที่ความเข้มข้นต่ำสุดเป็น 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหนูเพศผู้ที่ได้รับยาหอมจะมีค่าความดันเลือดสูงกว่าในหนูเพศเมีย ส่วนยาหอมอีกยี่ห้อออกฤทธิ์ลดความดันเลือดที่ความเข้มข้นต่ำสุดที่ 30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ในยาหอมคล้ายกับฤทธิ์ acetylcholine โดยยาหอมทั้ง 4 ยี่ห้อ ไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

Na Pattaloong และคณะ,1995.(4) และ Tunlert, 1999.(5) รายงานการศึกษาผลการประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจของสารสกัดจากยาหอม พบว่า สารสกัดสามารถกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ และลดการเต้นของหัวใจให้ช้าลงได้

Nernpermpisooth, 2001.(6) รายงานการศึกษาจากการทดลองป้อนยาหอมให้หนูขาว 1 ครั้ง ขนาด 2.5 และ 5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่า ฤทธิ์ยาหอมสามารถเพิ่มความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการไหลเวียนเลือดได้

ณัฐพร พลแสน, 2547.(7) รายงานการศึกษาสารสกัดจากยาหอมนวโกฐ อินทรจักร และอินทรโอสถ พบว่า ยาหอมทั้ง 3 ตำรับ มีผลเพิ่มแรงบีบตัว และอัตราการเต้นของหัวใจได้

ความเป็นพิษ

( Thongpraditchote, 1999 )(8) รายงานการศึกษาพิษของยาหอมในสัตว์ทดลอง พบว่า การให้ยาหอมแก่หนูทดลองมีค่าความเป็นพิษ LD50 ที่ทำให้หนูตายเกินครึ่งหนึ่ง มีค่าสูงกว่า 5 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว

Prucksunand และคณะ,2000.(9) รายงานการศึกษาการใช้ยาหอมตำรับนวโกฐในผู้สูงอายุที่มีอาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน โดยการรับประทานยาหอมตำรับนวโกฐ 3 – 5 เม็ด ก่อนอาหาร 3 มื้อ เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า องค์ประกอบทางเคมีของเลือดอยู่ในระดับปกติ ทำให้สรุปได้ว่า ยาหอมนวโกฐไม่มีพิษต่อองค์ประกอบทางเคมีของเลือด

ข้อควรระวัง
– หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหอมร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์กันลิ่มเลือด (anticoagulant) และเกล็ดเลือด (antiplatelets)
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาหอมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบตับ และไต ที่อาจเกิดการสะสม และจับตัวเป็นก้อนของการบูรที่ตับ และไตจนทำให้เกิดพิษได้
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาหอมในผู้ป่วยโดรคภูมิแพ้ละอองเกสรดอกไม้
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาหอมในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่มีอาการเป็นไข้

เอกสารอ้างอิง
untitled