มะแขว่น/พริกหอม ประโยชน์ และสรรพคุณมะแขว่น

Last Updated on 16 ตุลาคม 2016 by puechkaset

มะแขว่น หรือ พริกหอม จัดเป็นไม้ยืนต้นที่ชาวเหนือนิยมนำผล และเมล็ดแห้งมาประกอบอาหาร รวมถึงใช้ทำเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากผลแห้งมีกลิ่นหอมแรง และมีรสเผ็ดร้อน ทำให้ช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยมากขึ้น นอกจากนั้น ยังนิยมนำผลแห้งมาสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับใช้ทานวด ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางหรือใช้พ่นป้องกันยุงลายได้ด้วย

ในบางท้องที่จะเรียกมะแขว่นว่า พริกหอม เนื่องจาก ผลแห้งที่ใช้มีรสเผ็ดร้อนเหมือนพริกมาก และใช้ประกอบอาหารแทนพริกได้เป็นอย่างดี ประกอบกับสามารถให้กลิ่นหอมแรงได้ด้วย จึงเรียกอีกชื่อว่า พริกหอม

• วงศ์ : Rutaceae
• ตระกูล : Rue
• วิทยาศาสตร์ : Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston.
• ชื่อท้องถิ่น :
– มะแข่น
– มะแขว่น
– พริกหอม
– หมากมาศ
– หมากข่อง
– ลูกระมาศ
– หมากแก่น
– มะแว่น

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะแขว่นเป็นไม้ที่พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในประเทศไทย ประเทศจีนตอนใต้ ประเทศพม่า และลาว โดยในประเทศไทยพบได้ทั้งภาคกลาง ใต้ และภาคเหนือ แต่จะพบมากในภาคเหนือ ซึ่งชาวเหนือนิยมใช้เป็นเครื่องเทศหลักในการประกอบอาหาร

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%87

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะแขว่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นมีเปลือกสีเทาอมขาว ลำต้น และกิ่ง มีตุ่มหนามแหลมขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุม

%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99

ใบ
ใบมะแขว่น เป็นประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลักยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีหนามเป็นระยะๆ บนก้านใบมีใบย่อย 10-28 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีก้านใบสั้น 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบย่อยแต่ละใบมีรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบ และแผ่นใบเรียบ ใบมีความกว้าง ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบจะมียาง และมีกลิ่นหอม

ดอก
ดอกมะแขว่น ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายบริเวณปลายยอด ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนตัวดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายช่อของแต่ละก้านช่อย่อย ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีรูปทรงกลม สีขาวอมเขียว ขนาดดอกประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบรองดอก 4 กลีบ และกลีบดอก 4 กลีบ ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ทั้งนี้ ดอกมะแขว่นจะเริ่มออกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

ผล
ผลมะแขว่นมีลักษณะทรงกลม ขนาดประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลแก่มีเปลือกสีแดง และแก่จัดมีสีดำอมน้ำตาล เปลือกผลมีผิวขรุขระ และปริแตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแก่จัดหรือเมื่อผลแห้งจนมองเห็นเมล็ดด้านใน ซึ่งมีลักษณะทรงกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และเป็นมัน ขนาดเมล็ดประมาณ 0.25-0.35 เซนติเมตร ผลมะแขว่นนี้ นิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ซึ่งให้รสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมแรง

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99

ประโยชน์มะแขว่น
1. ผลมะแขว่นแห้งนิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารหลายชนิด อาทิ ใส่ในลาบเนื้อ ลาบหมู หรือเมนูลาบอื่นๆ รวมถึงเมนูแกง และผัดต่างๆ อาทิ แกงอ่อม และผัดเผ็ด เป็นต้น ซึ่งผลแห้งนิยมใช้ใส่ทั้งผลสำกรับเมนูแกง ส่วนลาบหรือผัดต่างๆมักตำหรือบดให้ละเอียดก่อนใส่ ซึ่งช่วยเพิ่มกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสอาหารให้เผ็ดร้อน ทำให้อาหารอร่อย และน่ารับประทานมากขึ้น
2. ยอดอ่อนมะแขว่นรับประทานเป็นผักคู่กับอาหารจำพวกลาบ ซุปหน่อไม้ ซึ่งให้รสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมเช่นกัน
3. ผล และเมล็ดนิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับใช้ในด้านความสวยความงาม หรือสำหรับทานวดกล้ามเนื้อ ใช้รักษาโรคต่างๆ และใช้ฉีดพ่นป้องกันยุงลาย

สาระสำคัญที่พบ
ลำต้น
1. Alkaloids
2. Volatile Oil
3. Cumarins
4. Triterpinoids
5. วิตามิน E

ผลมะแขว่น
1. Monoterpene hydrocarbons
– α-thujene
– tricyclene
– sabinene
– myrcene
– α-phellandrene
– α-terpinene
– 0-cymene
– limonene
– (Z)-β-ocimene
– (E)-β-ocimene
– y-terpinene
– para-mentha-2,4(8)-diene
– terpinolene
2. Oxygenated monoterpene
– linalool
– trans-verbenol
– cis-para-menth-2-en-l-ol
– trans-para-menth-2-en-l-ol
– cis-thujune
– trans-thujune
– terpin-4-ol
– α-terpineol
– trans-saninol
– trans-caveol
– cis-caveol
– carvone
-β-pinene oxide
– carvacrol
– geranyl acetate
3. Oxygenated sesquiterpenes
– spathulenol
– caryophyllene oxide
4. Miscellaneous
– sabina ketone
5. Long chain hydrocarbons
– decanone acetate
– 2-undecanone

ที่มา : 1)

สรรพคุณมะแขว่น
ผล และเมล็ดแห้ง
– ช่วยบำรุงหัวใจ
– ช่วยบำรุงเลือด
– บำรุงธาตุ
– ช่วยลดความดันเลือด
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยย่อยอาหาร
– ช่วยขับลมในลำไส้
– ช่วยขับระดู
– ช่วยสมานแผล
– ใช้สูดดม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
– แก้ลำคออักเสบ
– ช่วยขับเสมหะ
– แก้พิษร้อนใน
– ลดอาการฟกช้ำ
– แก้อาการปวดท้อง
– กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
– รักษาโรคหนองใน

ใบอ่อน และยอดอ่อน
– แก้ท้องอืด
– ช่วยขับลมในลำไส้
– บำรุงหัวใจ
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้ระมะนาด
– แก้อาการปวดฟัน

ราก เปลือก และแก่นลำต้น
– ช่วยขับลม
– แก้อาการท้องเสีย
– แก้พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง และพิษงู
– แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
– ช่วยขับลมในลำไส้
– ช่วยขับระดู

ในประเทศอินเดียกล่าวถึงสรรพคุณผลมะแขว่นที่ใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับช่วยย่อยอาหาร ช่วยรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร แก้โรคทางเดินระบบปัสสาวะ และรักษาโรคไขข้ออักเสบ

เพิ่มเติมจาก : 2), 3) , 4)

การปลูกมะแขว่น
การปลูกมะแขว่น นิยมปลูกด้วยการเมล็ดที่ใช้มากในปัจจุบัน ซึ่งจะเริ่มออกดอก และติดผลเมื่ออายุ 3 ปี หลังการปลูก แต่ทำได้ด้วยวิธีอื่นเช่นกัน อาทิ การตอนกิ่ง และการเสียบยอด ซึ่งจะได้ต้นมะแขว่นเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆ ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่นิยมต่อไป หากมีความนิยมมากขึ้นในอนาคต

%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99

ทั้งนี้ ปัจจุบัน มะแขว่นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในทุกภาค ซึ่งสามารถหาซื้อผลแห้ง เมล็ด หรือ กล้ามะแขว่นได้ง่าย หากเดินทางขึ้นทางภาคเหนือ แต่สามารถสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน โดยค้นหาตามเว็บค้นหาต่างๆ ซึ่งทำให้ง่าย และสะดวกกว่า

ขอบคุณภาพจา ก http://www.thaicookbook.tv/, http://www.smileconsumer.com/, http://rpk22.ac.th/ , http://www.chiangraifocus.com

เอกสารอ้างอิง
untitled