ดองดึง สรรพคุณ และการปลูกดองดึง

Last Updated on 23 มกราคม 2017 by puechkaset

ดองดึง (Climbing lily) จัดเป็นไม้ป่าที่พบในหลายทวีป ซึ่งนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับชนิดหนึ่ง รวมถึงเป็นพรรณไม้สำคัญที่มีบทบาทในการทางการแพทย์ และการเกษตร โดยเฉพาะสาร Superbine หรือColchicine ที่มีคุณสมบัติทางยามากมาย แต่สารชนิดนี้ จัดเป็นสารพิษที่หากได้รับมากอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

อนุกรมวิธาน
• Division : Anthophyta
• Class : Angiospermae
• Order : Liliflorae
• Family : Liliaceae
• Genus : Gloriosa
• Species : Superba

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba Linn.
• ชื่อสามัญ :
– Climbing lily
– Turk’s cap
– Superb lily
– Flame lily
– Gloriosa lily
– Glory lily
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– ดองดึง
– ก้ามปู, ว่านก้ามปู
– ดาวดึงส์
ภาคเหนือ
– มะขาโก้ง
ภาคอีสาน
– หมอยหีย่า
– พันมหา
– ดาวดึง
– หัวขวาน
– หัวฟาน
ภาคตะวันออก
– คมขวาน
– หัวขวาน
– บ้องขวาน

%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
พืชที่อยู่ในสกุลเดียวกับดองดึง (Genus : Gloriosa) ทั่วโลกพบประมาณ 7 ชนิด โดย 6 ชนิดพบได้ในทวีปแอฟริกา และมีเพียงชนิดเดียวที่พบในทวีปเอเชีย คือ ดองดึง (Species : Superba)

ดองดึงที่พบในทวีปเอเชีย พบได้ตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว อินโดนีเซีย และประเทศอื่นใกล้เคียง

ส่วนประเทศไทยสามารถพบดองดึงได้ในทุกภาค แต่จะพบมากในภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ โดยเฉพาะตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก และลำต้น
ดองดึงเป็นไม้เถาเลื้อยที่มีลำต้น 2 ส่วน คือ ลำต้นใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน โดยลำต้นใต้ดินมักเรียกว่า เหง้าหรือหัว ที่มีลักษณะรูปตัววีหรือรูปขวาน ซึ่งมีลักษณะทรงกระบอก 2 อัน หรือ 2 แง่ง มาเชื่อมต่อกัน หรือบางครั้งอาจพบ 2 หัว หรือ 4 แง่งก็ได้ เปลือกหัวบาง มีสีน้ำตาลอมแดง ส่วนเนื้อด้านในมีลักษณะเป็นแป้ง สีขาวนวล แข็งเล็กน้อย โดยบริเวณเชื่อมต่อของแงหรือที่พับเป็นตัววีจะมีตาที่เป็นจุดเติบโตของต้นอ่อนให้โผล่ขึ้นดิน ซึ่งหากบริเวณนี้หักออกเป็น 2 ท่อน ก็จะทำให้หัวไม่สามารถแทงยอดอ่อนได้ ส่วนลำต้นเหนือดิน เป็นส่วนที่ต่อมาจากเหง้าใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้หรือพุ่มไม้ที่พาดยาวได้มากกว่า 5 เมตร และมีขนาดเถาประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร

เถาของดองดึงมักแตกกิ่งที่ความสูงหรือความยาวของเถาประมาณ 60-100 เซนติเมตร จำนวนกิ่งแต่ละต้นประมาณ 3-8 กิ่ง แต่ละกิ่งจะมีช่วงห่างของข้อหรือจุดแตกใบประมาณ 1-3 เซนติเมตร

ส่วนระบบรากของดองดึงจะเฉพาะรากฝอยเพียงอย่างเดียวที่แตกออกจากโคนของลำต้น ซึ่งจะพบได้เฉพาะระยะต้นเติบโต แต่เมื่อต้นเหี่ยวแห้งตาย รากก็จะแห้ง และหลุดออกไป

%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87

ใบ
ใบดองดึงออกเป็นใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ ออกเรียงสลับกันตามข้อ ข้อละ 1-3 ใบ ตามความยาวของกิ่ง ส่วนข้อที่มีการแตกกิ่งจะมีใบประมาณ 3-4 ใบ และข้อที่มีดอกจะมีใบเพียงใบเดียว ใบแต่ละใบมีรูปหอก กว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร แผ่น และขอบใบเรียบ มีสีเขียวสด และเป็นมัน โคนใบสอบเล็กน้อย ปลายใบแหลมยาวที่เปลี่ยนรูปเป็นมือเกาะ ใบมีเส้นกลางใบมองเห็นได้ชัดเจน

%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87

ดอก
ดองดึงออกดอกเป็นดอกเดี่ยวๆ บริเวณซอกใบตามข้อบนกิ่ง ประกอบด้วยกลีบ จำนวน 6 กลีบ แต่ละกลีบเรียวยาว และชันขึ้น ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบกลีบดอกพลิ้วเป็นลูกคลื่น ปลายกลีบโค้งจรดเข้าหากัน แผ่นกลีบดอกของดอกอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และดอกแก่ที่บานเต็มที่จะมีสีแดงสดจนถึงแดงเข้ม ซึ่งจะค่อยเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีแดงจนทั่วกลีบดอก และเมื่อดอกบานเต็มที่แล้ว ก็จะค่อยเหี่ยว และโค้งลง

เกสรของดอกดองดึงจะประกอบดด้วยเกสรตัวผู้ที่อยู่แทรกสลับเรียงเป็นวงกลมกับกลีบดอก ซึ่งจะอยู่ด้านล่างของกลีบดอก จำนวนเกสร 6 อัน ที่มีก้านเกสรยาว 35- เซนติเมตร โคนก้านเกสรมีสีแดง ปลายก้านเกสรมีสีเหลือง และปลายสุดมีอับเรณูเป็นรูปทรงกระบอกตั้งฉากกับก้านเกสร ส่วนเกสรตัวเมียมีจำนวน 1 อัน ซึ่งอยู่ใจกลางของดอกด้านในถัดจากลีบดอก โดยมีปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ส่วนรังไข่จะอยู่บริเวณฐานรองดอก โดยรังไข่มีห้อง 3 ห้อง

ทั้งนี้ ดองดึงจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝนในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ของทุกปี พร้อมติดฝักให้เห็นตั้งแต่เดือนตุลาคม-มกราคม

ผล และเมล็ด
ผลดองดึง ลักษณะเป็นทรงกระบอก ขั้วผลสอบแหลม ปลายผลขยายใหญ่ และทู่มน ขนาดผลกว้างสุดประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ผิวเปลือกไม่เรียบ และมีร่องหรือพูตามแนวยาวของผล 3 ร่อง/พู โดยผลดิบมีสีเขียวอ่อน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว รูปขอบขนาน ถัดมาด้านในจะมีเมล็ดจำนวนมาก 30-50 เมล็ด/ฝัก ขึ้นอยู่กับขนาดฝัก แต่ละเมล็ดมีลักษณะทรงกลม และแข็ง เมล็ดอ่อนมีสีขาว และฉ่ำน้ำ เมล็ดแก่หรือสุกมีสีแดงอมส้ม ขนาดเมล็ด 2-3 มิลลิเมตร

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b6%e0%b8%87

ประโยชน์ดองดึง
1. ดองดึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับดอก ทั้งปลูกลงแปลง และปลูกในกระถาง เนื่องจากดอกมีลักษณะแปลก กลีบดอกมีสีแดงสวยงาม
2. หัวดองดึงนำมาบด และผสมกับน้ำใช้ฆ่าหนอนหรือแมลง
3. ทุกส่วนของดองดึงนำมาต้มน้ำ ก่อนนำไปฉีดพ่นในแปลงผัก สวนผลไม้ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชหรือแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย
4. ดองดึงในทุกส่วนมาสาระสำคัญที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์เซลล์ของพืช จึงถูกนำมาใช้สำหรับปรับปรุงพันธุ์พืชให้เกิดการกลายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากพันธุ์เดิม ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ คือ นำสารสกัดหรือน้ำต้มจากดองดึง ทั้งส่วนหัว ใบ และเมล็ด ก่อนนำเมล็ดพันธุ์พืชลงแช่ก่อนปลูก
5. ทุกส่วนของดองดึงนำมาต้มน้ำ ก่อนนำไปกรอกสัตว์สำหรับถ่ายพยาธิ หรือใช้ทุกส่วนผสมกับหญ้าหรืออาหารหยาบให้สัตว์กิน

สารสำคัญที่พบ
หัวหรือเหง้า
– Lumicolchicine
– Gloriosine
– Superbine (Colchicine)
– Choline
– Phytosterolines
– Benzoic acid
– Salicylic acid
– Dextrose
– Resin 3 ชนิด
– สารเรืองแสง 1 ชนิด
ดอก ใบ และเปลือกเมล็ด
– Superbine (Colchicine)
– Lumicolchicine

สารที่พบในดองดึงล้วนแสดงความเป็นพิษได้ และจัดเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง โดยเฉพาะ Superbine (Colchicine) ซึ่งพบมากที่สุดในเมล็ด รองลงมาเป็นหัว และราก รองลงมาเป็นลำต้น ใบ และดอก ที่พบในปริมาณน้อยที่สุด ทั้งนี้ ดองดึงจากประเทศจีนจะพบสาร Superbine (Colchicine) มากที่สุด ส่วนดองดึงจากประเทศยุโรป และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยจะพบในปริมาณรองลงมา ส่วนดองดึงจากประเทศอินเดีย และศรีลังกาจะพบในปริมาณน้อย

ที่มา : 1), 2)

สรรพคุณดองดึง
หัว และราก
• หัว และรากนำมาต้มดื่มหรือตาก และบดให้แห้งบรรจุแคปซูลรับประทาน มีสรรพคุณ ดังนี้
– ป้องกันการแบ่งเซลล์ ป้องกันโรคมะเร็ง
– ในประเทศอีหร่านใช้หัวเพื่อช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ
– ช่วยในการขับลม
– ช่วยลดไข้
– รักษาโรคเก๊าต์ โดยเฉพาะสารสกัด Superbine (Colchicine)
– รักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
– รักษาโรคโกโนเรีย
– ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
– ช่วยขับเสมหะ
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– ในประเทศศรีลังกาใช้เพื่อแก้อาการปวดข้อ ลดการอักเสบของข้อ (Colchicine)
– รักษาอาการปวดเมื่อยร่างกาย ลดอาการเคล็ดขัดยอก
– ในประเทศอินเดียใช้เพื่อรักษาโรคหนองใน
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ใช้เป็นยาระบาย
– ช่วยการขับน้ำดี
• หัว และรากนำมาบด ใช้สำหรับภายนอก ทั้งต้มอาบ หรือนำผงผสมน้ำทา หรืออื่นๆ
– ประเทศอินเดียนำหัวมาใช้ภายนอกเพื่อรักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ
– ประเทศอินเดียนำหัวดองดึงมาตากแห้ง และบดเป็นผง ก่อนนำมาละลายน้ำสำหรับทางช่องคลอดเพื่อขยายปากมดลูก
– ใช้ประคบหรือทาแผล ช่วยให้แผลแห้ง ลดน้ำหนองไหล ทำให้แผลหายเร็ว
– นำผงมาทาประคบแผลจากสัตว์มีพิษหรือแมลงกัดต่อย ช่วยทำลายพิษ ลดอาการบวม และลดอาการปวดทั้งพิษงู พิษแมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น

ใบดองดึง
• ใบนำมาตากแห้ง บดเป็นผง หรือใช้ใบสดต้มน้ำดื่ม
– การใช้ใบต้มน้ำดื่มจะมีสรรพคุณคล้ายกับหัวดองดึง
• ใบนำมาบดเป็นผงหรือใช้ใบสดสำหรับใช้ภายนอก
– ใบสดนำมาขยำสำหรับอัดรูจมูกเพื่อลดเลือดออกในจมูก
– น้ำต้มจากใบนำมาอาบสำหรับแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน

ที่มา : 1), 2)

ฤทธิ์ทางเภสัชกรรม และคุณสมบัติอื่น
– ต้านเซลล์มะเร็ง
– ต้านการอักเสบ
– กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพืช
– ขัดขวางการเติบโตของพยาธิ

พิษของดองดึง
สาร Superbine หรือ Colchicine และสารอนุพันธ์ ทั้งจากหัว ใบ และเมล็ด หากรับประทานเข้าไปมากจะทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน ดังนี้
– ปาก และลิ้นชา ไม่มีความรู้สึก
– พูดลำปาก
– ปวดแสบ ปวดร้อนที่กระบังลม กระเพาะอาหาร
– ผิวหนัง และร่างกายภายนอกชา
– คลื่นไส้อาเจียน
– ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
– เวียนศรีษะ มือเท้าอ่อนแรง
– หนังตาตก ตาไม่สู้แสง
– หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว
– หายใจติดขัด
– เกิดอาการชัก และหมดสติ
– เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ ปริมาณหรือความเข้มข้นของดองดึงที่ทำให้เกิดพิษต่อมนุษย์ และสัตว์ ยังไม่มีการศึกที่ชัดเจนว่ามีขนาดหรือความเข้มข้นเท่าใด ดังนั้น การใช้ทุกส่วนของดองดึงด้วยการต้มน้ำดื่ม การรับประทานโดยตรง ควรใช้ในปริมาณที่จำเป็น หากใช้มากจะเกิดพิษทำให้ทั้งคนหรือสัตว์เสียชีวิตหรือแท้งได้

ที่มา : 2)

การปลูกดองดึง
ดองดึงนิยมเพาะขยายพันธุ์ด้วยการใช้หัว และการเพาะเมล็ด แต่ที่นิยมมากจะเป็นเพาะ และปลูกด้วยหัวเป็นหลัก เพราะสามารถเกิดต้นใหม่ได้เร็ว และมีอัตราการรอดสูงกว่าเมล็ด อีกทั้ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด เพราะการปลูกด้วยเมล็ด ต้องใช้หัวที่มีอายุปลูกมาแล้วประมาณ 2-3 ปี จึงจะออกดอก และติดฝัก ทั้งนี้ การปลูกดองดึงสามารถปลูกได้ทั้งในแปลงดิน และในกระถาง

การเตรียมแปลงหรือดินปลูก
สำหรับการปลูกลงแปลงดิน ควรไถพรวน และกำจัดวัชพืชออกให้หมดก่อน หลังจากนั้น หว่านด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีรองพื้น ก่อนจะไถพรวนอีกครั้ง

ส่วนการปลูกในกระถางควรผสมดินกับวัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือแกลบดำ อัตราส่วนดินกับวัสดุอินทรีย์ที่ 1:2

การปลูกด้วยหัว
ในธรรมชาติ หัวดองดึงจะมีช่วงพักตัวในฤดูแล้ง ซึ่งช่วงนี้ลำต้นจะเหี่ยวแห้งตายแล้ว เหลือเพียงหัวอยู่ใต้ดิน และหัวจะแทงหน่อขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝน หลังจากได้รับน้ำฝน ดังนั้น การปลูกด้วยหัว ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นสำคัญ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

หัวดองดึงที่นำมาปลูก ควรเลือกหัวที่มีขนาดใหญ่ และแต่ละหัวควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 7-8 กรัม ขึ้นไป และมีหน่อแทงออกจากตาหน่อแล้ว ซึ่งการใช้หัวลักษณะนี้จะได้ต้นใหม่ทุกหัว แต่หากใช้หัวที่มีน้ำหนักน้อย ตั้งแต่ 3 กรัม ลงมาจะไม่มีการงอกของต้นใหม่ หลังจากที่คัดเลือกหัวได้แล้ว ให้นำหัวปลูกลงหลุม หลุมละ 1-2 หัว ระยะห่างระหว่างหลุม 80-100 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1.5-2 เมตร พร้อมเกลี่ยดินกลบ ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่ม

ทั้งนี้ หัวดองดึงที่ใช้ควรเก็บจากแปลงในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม และพักทิ้งไว้สักระยะ 2-3 เดือนก่อนปลูก เพื่อให้หัวอยู่ในระยะพักตัวก่อน

การเติบโตของหัว ในระยะแรกหลังจากหน่อแทงโผล่ดินแล้ว หัวดองดึงจะฝ่อลีบลง เพราะลำต้นดึงสารอาหารออกมาใช้ และหลังจากนั้น 5-6 เดือน จึงจะสร้างหัวใหม่ 1 หัวเท่าเดิม หรือสร้างหัวเพิ่มเป็น 2 หัว

การปลูกด้วยเมล็ด
เมล็ดดองดึงที่นำมาเพาะ ควรเลือกเมล็ดจากผลที่สุกที่เก็บได้จากลำต้นที่เหี่ยวแล้ว โดยเก็บผลมาพักทิ้งไว้ 2-3 เดือน เพื่อให้เมล็ดมีการฟักตัวก่อน หลังจากนั้น นำเมล็ดมาลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ก่อนนำมาแช่น้ำนาน 3-5 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำอุ่น นาน 1 ชั่วโมง หรือแช่ในสารกระตุ้นการงอก เช่น จิบเบอเรลลิน หรือ ไธโอยูเรีย

การปลูกด้วยเมล็ดจะทำการเพาะในกระบะเพาะหรือถุงเพาะชำก่อน ซึ่งจะใช้วัสดุปลูกที่ผสมดินกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัดใส่ถุงเพาะ หลังจากนั้น นำเมล็ดลงกลบในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด ก่อนรดน้ำ หลังจากนั้น 7-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อนให้เห็น แล้วค่อยดูแลจนต้นสูงได้ 15-20 เซนติเมตร ก่อนจะนำลงปลูกในแปลงดินหรือย้ายลงปลูกในกระถาง

การเก็บหัว
สำหรับการปลูกด้วยหัวหรือด้วยเมล็ด สามารถเริ่มเก็บหัวได้เมื่อปลูกแล้ว 8-10 เดือน คือ เก็บหลังจากที่ต้นเหี่ยวตายแล้วในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ขอบคุณภาพจาก : Nanagarden.com, biogang.net

เอกสารอ้างอิง
1