ปรง และประโยชน์จากปรง

Last Updated on 11 พฤศจิกายน 2016 by puechkaset

ปรง (Cycad) จัดเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่เติบโต และมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสมัยไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นพืชเยงไม่กี่ชนิดที่ยังเหลือพบให้เห็นอยู่ ทั้งนี้ ปรงนิยมนำมาปลูกสำหรับประดับตามสวนจัดแปลงหรือสวนสาธารณะต่างๆ เนื่องจาก ลำต้น และใบปรงมีความเป็นเอกลักษณะ ดูแปลกตา และมีความสวยงาม อีกทั้ง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่จำเป็นต้องให้น้ำหรือปุ๋ยมากเหมือนไม้ประดับอื่นๆ

อนุกรมวิธาน
• Order : Cycadales
• Family : 1. Cycadaceae
Genus :
– Cycas (ซีกโลกตะวันออก)
• Family : 2. Zamiaceae
Genus :
– Ceratozamia (ซีกโลกตะวันตก)
– Chigua (ซีกโลกตะวันตก)
– Dioon (ซีกโลกตะวันตก)
– Macrozamia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)
– Microcycas (ซีกโลกตะวันตก)
– Lepidozamia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)
– Encephalartos (พบเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาใต้)
– Zamia (ซีกโลกตะวันตก)
• Family : 3. Strangeriaceae
Genus :
– Strangeria (พบเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาใต้)
– Bowenia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)

• ชื่อสามัญ : Cycad
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : ตามชนิด
• ชื่อท้องถิ่น : ปรง, มะพร้าวเต่า, มะพร้าวสีดา

ที่มา : 3), 4)

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ปรงเป็นพืชโบราณที่จัดอยู่ในกลุ่ม gymnosperm เช่นเดียวกับพวกสน (conifer) และแปะก้วย (ginkgo) พบตั้งแต่สมัย Pennsylvanian ประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว และพบมากในยุคจูแรสสิก ปรงเป็นอาหารของไดโนเสาร์ แพร่กระจายทั่วไปตั้งแต่ไซบีเรีย อาลัสกา จนถึงทวีปแอนตาร์กติก

ปัจจุบัน ปรงสามารถพบได้ในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อน ซึ่งทั่วโลกมีทั้งหมด 3 วงศ์ 11 สกุล และประมาณ 250 ชนิด ส่วนปรงในประเทศไทยพบปรงในสกุล Cycas ที่มีประมาณ 6 ชนิด และแต่ละชนิดแพร่กระจายในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และบางชนิดพบได้เฉพาะในแถบชายทะเลหรือเกาะ เช่น ปรงทะเล

ที่มา : 3)

cycas revoluta

ปรงในประเทศไทย
ปรงในประเทศไทยมีชื่อเรียกท้องถิ่นที่แตกต่างกันตามชนิด ได้แก่ ปรง, มะพร้าวเต่า และมะพร้าวสีดา เป็นต้น โดยการศึกษา และสำรวจปรงในประเทศไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ JE. Teijsmann ซึ่งเริ่มเดินเท้าสำรวจตั้งแต่พระนคร ผ่านไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และเข้าไปที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วนำพรรณไม้บางส่วนส่งกลับไปที่หอพรรณไม้ เมืองไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ทำการวิเคราะห์ และจำแนกชนิดพันธุ์ โดยขณะนั้น นาย F.A.W. Miquel ได้จำแนก และตั้งชื่อปรงของไทยให้เป็นปรงชนิดใหม่ในชื่อ Cycas siamensis ในปี พ.ศ. 2406

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ Johannes Schmidt ได้เข้าสำรวจพันธุ์พืชที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งได้ค้นพบต้นปรงชนิดหนึ่งบนเกาะกระตาด และได้บันทึกเป็นชนิด Cycas circinalis แต่แท้จริงแล้วคือปรงทะเล หรือมะพร้าวสีดา Cycas rumphii

ต่อมาในปี พ.ศ. 2447-2448 นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ C.C. Hosseus ได้เดินทางเข้าสำรวจพันธุ์พืชทางภาคเหนือในประเทศไทย ซึ่งพบปรงชนิด Cycas siamensis ในพื้นที่จังหวัดลำปาง

ที่มา : 1)

ปรงสกุล Cycas เป็นสกุลที่พบมาถึง 63 จากทั้งหมด 99 ชนิด ชนิดในเอเชีย ถือเป็นสกุลที่พบในประเทศไทย และเป็นสกุลที่นิยมนำมาปลูกประดับตามสวนสาธารณะ หรือแปลงจัดสวนต่างๆมากที่สุด เนื่องจาก หาง่าย ลำต้น และใบมีรูปร่างสวย และเติบโตได้ดีในทุกชนิดดิน ทั้งนี้ ในบางตำรากล่าว่า ปรงสกุล Cycas ที่พบในประเทศไทย มี 6 ชนิด ได้แก่
1. Cycas siamensis พบมากเฉพาะพื้นที่ดินทรายหรือดินที่เป็นรุกรัง ทั้งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
2. Cycas revoluta
3. Cycas pectinata พบมากเฉพาะพื้นที่ที่มีหินปูนตามป่าเบญจพรรณ และภูเขาที่มีหินปูน
4. Cycas chamaoaensis พบตามป่าดิบเขาทั่วไป พบมาในทางภาคเหนือ และอีสาน
5. Cycas rumphii พบเฉพาะบริเวณป่าพื้นที่ชายหาด
6. Cycas circinalis พบเฉพาะในป่าดิบชื้นภาคใต้

ที่มา : 2), 3) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก และลำต้น
ราก (root) ปรงมี 2 ชนิด คือ รากแก้วที่มีขนาดใหญ่ หยั่งลึกลงดินประมาณ 30 เซนติเมตร และรากแขนงที่มีลักษณะเป็นกระจุกแน่น เจริญอยู่ผิวดินด้านบน และแผ่ออกได้ทุกทิศทาง โดยมีปรงบางชนิด เช่น สกุล Zamia จะมีรากแขนงอวบใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหารคล้ายรากแก้ว และปรงบางชนิดมีปลายรากแขนงพองออกเป็นกระเปาะ ภายในมีสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้

ปรงส่วนใหญ่มีลำ ต้นเหนือดิน ลักษณะลำต้นรูปทรงกระบอก และตั้งตรง ลำต้นไม่แตกกิ่งแขนง แต่อาจพบปรงบางชนิดที่มีอายุมากมีลำต้นแตกแขนงได้เช่นกัน เช่น ปรงสกุล Cycas, Dioon และ Zamia เป็นต้น เปลือกลำต้นมีก้านใบเก่าล้อมรอบ

ใบ
ใบปรง แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. เกล็ดใบหุ้มยอด (scale leaves หรือ cataphyll) เป็นใบที่มีขนาดเล็ก สีนํ้าตาล พบบริเวณปลายยอดของลำ ต้น
2. ใบแท้ (foliage leaves) เป็นใบประกอบแบบขนนกขนาดใหญ่ มีสีเขียวเข้ม

ความยาวของใบปรงแต่ละชนิดแตกต่างกัน บางชนิดมีใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง 3 เมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เกลี้ยงขนที่พบมี 6 ลักษณะ คือ ขนไม่มีสีไม่แตกแขนง ขนไม่มีสีแตกแขนง ขนมีสีไม่แตกแขนง ขนมีสีแตกแขนง ขนมีหลายสี และขนมีสีขนาดสั้นโค้ง ลักษณะของใบอ่อนแรกเกิด (ptyxis) พบ 4 รูปแบบ คือ
1) circinate ptyxis ใบอ่อนม้วนจากปลายใบมาหาโคนใบ พบในสกุล Bowenia
2) erect ptyxis ใบอ่อนมีก้านใบอ่อนตั้งตรงใบย่อยม้วนเข้าหาก้านใบ พบในสกุลCycas, Dioon, Encephalartos, Lepidozamia, Macrozamia, Microcycas และ Zamia บางชนิด
3) inflexed ptyxis ใบอ่อนมีการงอลง พบในสกุล Stangeria, Ceratozamia, Lepidozamia, Macrozamia และ Zamia บางชนิด
4) reflexed ptyxis มีใบอ่อนโค้งพับลง อาจพบในสกุล Cycas และ Dioon

นอกจากนี้ พบว่า ลักษณะของใบอ่อนแรกเกิดมีความสัมพันธ์กับลักษณะวิสัยปรงที่มีลำ ต้นเหนือดินจะมีก้านใบอ่อนตั้งตรง ปรงที่มีเฉพาะลำ ต้นใต้ดินจะมีใบอ่อนม้วน งอลงหรือโค้งพับลง ทำ หน้าที่คล้าย hypocotylar hook ของต้นอ่อนพืชใบเลี้ยงคู่

ปรงส่วนใหญ่มีใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยกเว้นสกุล Bowenia มีใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคี่ ใบย่อยจัดเรียงตัวแบบสลับหรือตรงกันข้าม แผ่นใบหนาและเหนียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีหนามแหลม ขอบใบมีทั้งชนิดม้วนลง พบใน Cycas revoluta และ C. siamensis และขอบใบตรง พบใน C. circinalis, C. pectinata, C. rumphii, C. seemannii และ C. thouarsii ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยที่อยู่บริเวณกลางใบมีขนาดใหญ่ที่สุด และจะค่อย ๆลดขนาดลงบริเวณปลายใบและโคนใบ ปรงสกุล Microcycas มีใบย่อยแบบตัด

ใบย่อยที่อยู่บริเวณปลายใบมีขนาดใกล้เคียงกับบริเวณกลางใบ เส้นกลางใบของปรงสกุล Cycas มี 1 เส้น ภายในมีเนื้อเยื่อท่อลำ เลียง 1 กลุ่ม สกุล Stangeria มีเนื้อเยื่อท่อลำ เลียงหลายกลุ่ม

ปรงวงศ์ Zamiaceae มีเส้นใบหลายเส้น เรียงแบบ dichotomous บนก้านใบและแกนกลางใบพบหนาม 2 ชนิด คือ หนามแท้ (true spines) เกิดจากการลดรูปของใบย่อยที่อยู่บริเวณโคนใบ เรียงขนานกัน 2 แถว พบในต้นที่โตเต็มที่ของ Cycas,Dioon, Encephalartos, Lepidozamia และ Macrozamia แต่ไม่พบหนามในต้นที่ยังเจริญไม่เต็มที่และหนามแบบ prickles เกิดจากเซลล์อิพิเดอร์มิส พบกระจายอยู่บนก้านใบของ Ceratozamia และ Zamia ส่วนสกุล Bowenia, Stangeria และ Microcycas ไม่พบหนามทั้งสองชนิด

โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหรือติ่งยื่นออกมา หูใบ (stipule) พบบริเวณโคนใบแท้และเกล็ดใบหุ้มยอด หูใบมี 2 แบบ คือ หูใบที่มีรูปร่างคล้ายฝาครอบ (a cowl-like structure) พบบริเวณโคนใบด้าน adaxial ของปรงสกุล Stangeria และ Bowenia และหูใบที่มีลักษณะแคระแกรนเห็นไม่ชัด และภายในหูใบไม่มีท่อลำ เลียง พบได้ทั้งบนเกล็ดใบหุ้มยอด และใบแท้ของปรงสกุล Ceratozamia, Chigua, Microcycas และ Zamia ส่วนสกุล Microcycas พบหูใบบนเกล็ดใบหุ้มยอดและใบแท้ของต้นกล้าและต้นที่ยังอ่อนวัย แต่ไม่พบในต้นเต็มวัย

ดอก
ปรงมีโครงสร้างสืบพันธุ์ที่ทำหน้าที่คล้ายดอกของพืชทั่วไปที่เรียกว่า โคน โดยปรงเป็นพืชที่มีโคนเพศผู้และโคนเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนเพศผู้ของปรงสกุล Cycas ประกอบด้วยไมโครสปอโรฟิลล์ที่สร้างอับไมโครสปอร์ที่มีผนังบาง สกุล Stangeria และ Dioon มีอับไมโครสปอร์ผนังหนา

ปริมาณอับไมโครสปอร์มีจำ นวนแตกต่างกัน Cycas circinalis มีประมาณ 700 อัน C. media มี 1,160 อัน อับไมโครสปอร์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-5 อัน มีขนปกคลุมช่วยป้องกันอันตราย และ Stangeria มีอับไมโครสปอร์ กลุ่มละ 1 อัน Zamia มีกลุ่มละ 2 อัน Microcycas ส่วนใหญ่พบกลุ่มละ 2 อัน แต่อาจพบเพียง 1 อัน เนื่องจาก เกิดการฝ่อ Ceratozamia, Dioon และ Cycas พบอับไมโครสปอร์ กลุ่มละ 3 อัน หรือมากกว่า ยกเว้น Cycas revoluta และ C. circinalis พบกลุ่มละ 2 อัน ก้านของอับไมโครสปอร์ของ
Ceratozamia มีขนาดสั้นๆ Cycas มีก้านอับไมโครสปอร์ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของไมโครสปอโรฟิลล์
และลดรูปหายไป ส่วน Dioon มีก้านอับไมโครสปอร์เห็น

ละอองเรณู (pollen grain) ของ Cycas มีรูปร่างกลม มีลวดลายเป็นร่องรี ละอองเรณูของ Dioon มีรูปร่างกลม มีลวดลายละอองเรณูเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็ก และStangeria มีละอองเรณูรูปร่างค่อนข้างกลม มีลวดลายเป็น
รอยบุ๋มขนาดเล็ก ละอองเรณูของ Bowenia มีรูปร่างรูปรี มีลวดลายเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็กเรียงอยู่ชิดกันมาก และเกือบเรียบ

ปรงวงศ์ Zamiaceae มีละอองเรณูรูปรี สกุล Encephalartos มีลวดลายละอองเรณูหลายแบบ บางชนิดเรียบ บางชนิดเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็ก ลวดลายละอองเรณูของสกุล Zamia และ Ceratozamia เป็นรอยบุ๋มขนาด
เล็กเรียงกันอยู่ห่าง ๆ และ Microcycas เป็นรอยบุ๋มขนาดเล็กเรียงอยู่ชิดกันมาก

รูปร่าง และขนาดของโคนเพศเมียมีความแตกต่างกันในปรงแต่ชนิด มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรหรือมากกว่านี้ มีขนสีนํ้าตาลปกคลุมโคน ภายในโคนประกอบด้วยเมกะสปอโรฟิลล์ ฐานของเมกะสปอโรฟีลล์มีออวุลขนาดใหญ่เกาะติดอยู่ ออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด

ผล
ผลปรงมีรูปร่างทรงกลมรี หรือ รูปไข่ ผลอ่อนหรือดิบมีสีเขียวสด เมื่อสุกมีสีส้มหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีลักษณะรูปไข่ เปลือกเมล็ดแข็ง สีน้ำตาล ด้านในเป็นเนื้อเมล็ดที่มีขนาดใหญ่

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%87

ที่มา : 4) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

ประโยชน์ปรง
1. ปรงหลายชนิดจัดเป็นอาหารพื้นเมืองที่นิยมนำแกนอ่อนของปรงมาประกอบอาหาร ทั้งแกง ผัด และต้ม เพราะแกนลำต้นมีเนื้ออ่อน กรอบ และมีรสหวานเล็กน้อย
2. หลายประเทศนำแกนลำต้นปรงมาทำแป้งสาคูสำหรับทำขนมหวานหรืออาหาร ด้วยการสับเปลือกนอกลำต้นออกให้เหลือเฉพาะแกนอ่อนด้านในสุด ก่อนนำมาล้างน้ำ นำไปหมักหรือต้มเพื่อกำจัดสารพิษ แล้วนำมาสับ ตากแห้ง และบดเป็นแป้ง นอกจากนั้น ยังนำส่วนอื่น อาทิ ราก และเมล็ดมาใช้ทำแป้งได้ด้วย โดยปรงที่นิยมนำมาทำแป้ง ได้แก่
– Cycas
– Macrozamia
– Zamia
– Encephalartos
2. ใบปรงเป็นใบประกอบแบบขนนกที่มีริ้วใบย่อยเรียวแหลม ดูแปลกตา และสวยงาม จึงนิยมใช้ประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
3. เมล็ดปรงนำมาสกัดน้ำมันสำหรับเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร
4. ปรงหลายชนิดเป็นที่อาศัยของด้วงงวงซึ่งเป็นระยะหนอนของแมลงชนิดหนึ่งที่ชอบเข้ากัดกินแกนลำต้น และยอดอ่อนของปรง ด้วงงวงนี้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในการนำมาประกอบอาหารที่ชาวเขานิยมเข้าไปหาด้วงงวงตามต้นปรงมาประกอบอาหารรับประทาน

ทั้งนี้ การนำปรงไปประกอบอาหาร และใช้ทำยาสมุนไพรจะต้องระมัดระวัง เพราะปรงบางชนิดมีพิษ

ปรงที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
1. Cycas rumphii จัดเป็นปรงไทย หรือที่เรียกว่า ปรงทะเล

cycas rumphii
cycas rumphii

2. Cycas circinalis จัดเป็นปรงไทย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ภาคกลาง และทั่วไป เรียกว่า ปรง, ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า มะพร้าวสีดา

cycas circinalis
cycas circinalis

3. Cycas siamensis จัดเป็นปรงไทย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ภาคกลาง และทั่วไป เรียกว่า ปรงป่า, ตราด เรียกว่า ปรงเหลี่ยม และกาญจนบุรี เรียกว่า ตาลปัตรฤาษี

cycas siamensis
cycas siamensis

4. Cycas revoluta จัดเป็นปรงญี่ปุ่นที่นิยมนำเข้ามาปลูกอีกชนิด

cycas revoluta
cycas revoluta

การปลูกปรง
ปรงสามารถเพาะขายพันธุ์หรือขยายพันธุ์ธรรมชาติด้วยเมล็ดเท่านั้น ไม่สามารถใช้การตอนกิ่งได้ หรือปักชำกิ่งได้ เพราะไม่มีกิ่ง นอกจากนั้น ในบางพื้นที่ยังพบชาวบ้านขุดต้นอ่อนของปรงมาปลูกแทนการเพาะด้วยเมล็ด ซึ่งวิธีนี้ทำให้ปรงตามป่าธรรมชาติลดน้อยลง

%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%87

ขอบคุณภาพจาก http://www.greenworldnursery.net/, https://commons.wikimedia.org/, www.palmseeds.net, http://www.llifle.com/

เอกสารอ้างอิง
untitled